ยังอยู่กับ Customer Personas สำหรับท่านที่สนใจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์และบริการ สำหรับคนวัยเกษียณต่อจากเมื่อวาน…
ถ้าใครอยู่เชียงใหม่มานาน จะสามารถแยกชาวต่างชาติที่เป็นนักท่องเที่ยว และชาวต่างชาติที่มาอยู่อาศัยในเชียงใหม่ออกจากกันได้ ตัวผมเองอยู่เชียงใหม่มาเกือบยี่สิบปี อย่างหนึ่งที่ผมเห็นจนชินตาที่เชียงใหม่ก็คือชาวต่างชาติวัยเกษียณ ที่มาใช้ชิวิตอยู่ในเชียงใหม่มากมาย ตามห้างสรรพสินค้า ซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านกาแฟ ร้านอาหาร รวมทั้งร้านดื่มกินยามราตรีทั่วเชียงใหม่
ผมได้พูดคุยทักทายกับคนเหล่านี้บ้าง โดยเฉพาะคนคุ้นหน้าที่เจอกันบ่อยๆ ตามร้านกาแฟและ Co-working area ทั้งหลาย… ประเด็นหนึ่งที่ผมถามคือเรื่องวีซ่าที่คนกลุ่มนี้ใช้อยู่ในเมืองไทย… หลายคนได้วีซ่าทำงาน ทั้งที่อายุเลย 60 ปีมามากแล้ว ซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นครูสอนภาษา… ผมเจอสองสามคนที่ใช้วีซ่านักเรียนจากโรงเรียนสอนภาษาไทยด้วย… ที่อยู่วีซ่า O-A หรือ VISA LONG STAY ก็มีจำนวนหนึ่ง… เคสที่ผมได้คุยด้วย และได้ VISA LONG STAY จะเป็นคู่สามีภรรยาชาวญี่ปุ่นวัยเกษียณครับ
คำถามสำคัญอีกคำถามหนึ่งที่ผมถามคนเหล่านี้ก็คือ “ทำไมเลือกเมืองไทย?”
คำตอบก็มาตรฐานหล่ะครับ… เมืองไทยน่าอยู่ ผู้คนยิ้มแย้ม อาหารดี เป็นมิตรกับชาวต่างชาติและค่าใช้จ่ายไม่สูง… ที่น่าสนใจคือ คนเหล่านี้ให้ข้อมูลว่าพวกเขาเดินทางไปดูมาหลายประเทศ บางประเทศไปดู ไปเที่ยวหลายๆ เมืองก่อนจะตัดสินใจ… ข้อมูลนำทางอย่างหนึ่งที่คนพวกนี้ใช้มีชื่อว่า GRI Score หรือ Global Retirement Index Score ครับ
อะไรคือ Global Retirement Index?
Global Retirement Index เป็นเครื่องมือประเมินปัจจัยเพื่อพิจารณาความเหมาะสมในการใช้ชิวิตของผู้สูงอายุ โดยเฉพาะการค้นหา “Best Practice” ที่หมายถึงแนวปฏิบัติที่ดีงามอันเหมาะควรที่จะไปใช้ชีวิตบั้นปลาย
…ขออภัยที่ผมต้องใช้คำทับศัพย์มากมายในบทความของผม คำหลายคำ… การตีความเป็นภาษาไทยไม่ใช่เรื่องง่ายนักที่จะบอกเล่าหรืออธิบาย คำหลายคำ… จำเป็นต้องยกมาจากต้นฉบับที่คนในแวดวงเรื่องนั้นเขาเจาะจงใช้และสื่อความระหว่างกันจนเป็นคำสามัญ
กรณีคำว่า Best Practice ที่พูดถึง ก็เป็นคำศัพท์ที่ใช้ในแวดวงงานวิจัยกันอย่างกว้างขวางอยู่แล้วครับ ซึ่งเวลาใช้คำๆ นี้ ความหมายก็จะเจาะไปโฟกัสอยู่กับ Best Practice ในเรื่องที่กำลังพูดถึงอยู่เท่านั้น… Best Practice ในเรื่อง Global Retirement Index จึงเจาะเข้าหาตัวแปรหรือปัจจัยที่คนทำเครื่องมือประเมิน ได้ทำการค้นคว้าวิจัยมาแล้วว่า ปัจจัยใดบ้างที่จะต้องถามหาว่ามีหรือไม่มี หรือแม้แต่มีแล้วดีแค่ไหน เพื่อสร้างมาตรวัดขึ้นมา และใช้เกณฑ์เดียวกันนี้วัดกับทุกประเทศและทุกเมือง
ซึ่งการประเมินตามกรอบ Global Retirement Index จะมุ่งไปที่ปัจจัย 4 ประเด็นครับ
- ปัจจัยเชิงสุขภาวะ [Health]
- ปัจจัยเรื่องสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อความเป็นอยู่ที่ดี [Material Wellbeing]
- ปัจจัยคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม [Quality of Life/Environment]
- ปัจจัยด้านการเงิน [Finances]
…รายละเอียดผมไม่ลงต่อแล้วน๊ะครับ เพราะประเด็นการประเมิน กับเกณฑ์การประเมินมักจะมีการปรับเปลี่ยน Metrics อยู่เสมอ เอาเป็นว่าถ้าท่านสนใจจะลงลึกจริงๆ ก็ให้ศึกษาจากเวบไซด์หรือเอกสารของ Netixis ซึ่งเป็นหน่วยวิจัยของเครือข่ายธนาคารและการลงทุนจากฝรั่งเศษ… และเป็นเจ้าของตัวเลข GRI ที่เผยแพร่สม่ำเสมอ
ประเด็น Global Retirement Index เป็นตัวเลขมหภาคที่แต่ละปีจะมีข้อมูลออกมาเผยแพร่ว่า ประเทศไหนน่าอยู่น่าไปสำหรับคนวัยเกษียณ… ซึ่ง Global Retirement Index Rankings ที่ออกมาแต่ละปี… มีผลกับการตัดสินใจเลือกที่ทางสำหรับบั้นปลายชีวิตของชาวต่างชาติที่มองหาที่อยู่และย้ายถิ่นครั้งสุดท้าย… หรืออย่างน้อยก็ดึงคนใกล้เกษียณเดินทางท่องเที่ยวมาดูที่ดูทาง
…แต่การผลัก Ranking ขึ้นมาอยู่ลำดับต้นๆ ทุกภาคส่วนต้องช่วยกันทั้งรัฐบาล เอกชนและประชาชน
คนพวกนี้… ใช้เงินไปกับอสังหาริมทรัพย์ในลักษณะค่าเช่าเฉลี่ยหลายหมื่นบาทต่อคนต่อเดือน ใช้เงินในชีวิตประจำวัน ทั้งเดินทาง กินข้าว ซื้อยา หาหมอ… หลายหมื่นบาทต่อคนต่อเดือน…
แล้วปี 2019… GRI ของไทยอยู่ลำดับที่เท่าไหร่กัน?

อ้างอิง…
https://www.natixis.com/natixis/jcms https://en.wikipedia.org/wiki/Global_Retirement_Index https://www.im.natixis.com/us/research/2018-global-retirement-index