อนุมัติสินเชื่อบ้านล้านหลังระยะที่ 3… วงเงิน 2 หมื่นล้านบาท

โครงการสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยแห่งรัฐ ระยะที่ 3 หรือ โครงการบ้านล้านหลัง ระยะที่ 3… ซึ่งที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ประจำวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 มีมติเห็นชอบ “โครงการสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยแห่งรัฐ (โครงการบ้านล้านหลัง ระยะที่ 3) โดย คุณอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ให้ข้อมูลว่า… เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2566 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบโครงการสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยแห่งรัฐระยะที่ 3 หรือ โครงการบ้านล้านหลัง ระยะที่ 3 ของธนาคารอาคารสงเคราะห์ เพื่อสนับสนุนให้ประชาชนผู้มีรายได้น้อยมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองในราคาที่ไม่สูง และ เหมาะสมกับศักยภาพของประชาชนแต่ละกลุ่ม โดยเฉพาะกลุ่มผู้มีรายได้น้อยที่ไม่สามารถเข้าถึงสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ กลุ่มวัยทำงาน หรือ ประชาชนที่กำลังเริ่มต้นสร้างครอบครัว รวมถึงกลุ่มผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นโครงการต่อเนื่องจากโครงการบ้านล้านหลัง ระยะที่ 2 ที่มียอดคำขอสินเชื่อเต็มกรอบวงเงินแล้ว โดยมียอดอนุมัติสินเชื่อแล้วจำนวน 22,240 ราย เป็นจำนวนเงิน 19,937.46 ล้านบาท 

ทั้งนี้ สัดส่วนของจำนวนผู้ที่ได้รับการอนุมัติสินเชื่อภายใต้โครงการบ้านล้านหลัง ระยะที่ 2 มีการกระจายตัวตามช่วงวงเงิน ได้แก่…

  1. ต่ำกว่า 500,000 บาท สัดส่วน 11%
  2. 500,001 – 1,000,000 บาท สัดส่วน 47% และ
  3. 1,000,001 – 1,500,000 บาท สัดส่วน 42%

โดยมีอัตราการปล่อยสินเชื่อในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล 36%… จังหวัดภูมิภาค 64%… ซึ่งสัดส่วนการปล่อยสินเชื่อให้กับประชาชนผู้มีรายได้น้อยส่วนใหญ่อยู่ระหว่างช่วงระดับราคาที่ 500,001 – 1,500,000 บาท และ อยู่ในพื้นที่จังหวัดภูมิภาค

ส่วนโครงการบ้านล้านหลัง ระยะที่ 3 มีวงเงินโครงการ 20,000 ล้านบาท… โดยธนาคารอาคารสงเคราะห์สนับสนุนสินเชื่อให้แก่ประชาชนทั่วไปที่มีความต้องการมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง ในอัตราดอกเบี้ยคงที่ร้อยละ 3 ในช่วง 5 ปีแรก วงเงินอนุมัติสูงสุดไม่เกิน 1,500,000 บาทต่อรายต่อหลักประกัน และ มีระยะเวลากู้ยืมสูงสุดไม่เกิน 40 ปี 

ประชาชนที่สนใจเข้าร่วมโครงการสามารถยื่นคำขอกู้กับธนาคารอาคารสงเคราะห์ ได้ตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2568 หรือ จนกว่า ธอส. ให้สินเชื่อเต็มตามกรอบวงเงินของโครงการแล้ว

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือ G H Bank Call Center โทร 0-2645-9000 หรือ Facebook Fanpage ธนาคารอาคารสงเคราะห์ และ ติดตามข่าวสารของธนาคารได้ที่ Mobile Application : GHB ALL,  GHB ALL GEN และ ghbank.co.th

References…

Share this post

Add Properea's Friend

เพิ่ม Properea.com เป็นเพื่อนทาง Line
ท่านจะได้ Link บทความใหม่ส่งตรงให้อย่างสม่ำเสมอโดยรบกวนแต่น้อย

Related Post

DashCoin

$DASH หรือ เหรียญแดชประกาศตัวเป็นเงิน หรือ Money เพื่อเป็นทางเลือกอย่างชัดเจน โดยมีตัวเลขร้านค้าและธุรกิจที่รับชำระเป็น $DASH มากกว่า 159,000 แห่งในไตรมาส 4 ปี 2021 ครอบคลุมสายการบิน โรงแรม ร้านอาหาร และ ห้างสรรพสินค้าทั่วโลก… สามารถซื้อขายแลกเปลี่ยนได้ผ่านโบรกเกอร์ และ ตลาดแลกเปลี่ยนมากกว่า 265 แห่งทั่วโลก พร้อมบริการ ATM ที่สามารถถอนเป็นเงินดอลลาร์สหรัฐ หรือ สกุลเงินเฟียตอื่นๆ ได้อีกหลายสกุล

COVID-19 TRAVEL

Amazing Thailand Safety & Health Administration… ท่องเที่ยวปลอดภัยไปกับ SHA

คุณไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ก็ได้เอาความเคลื่อนไหวเรื่องแผนและมาตรการฟื้นฟูการท่องเที่ยวขั้นแรกมาเล่าให้นักข่างฟังว่า กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา โดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย หรือ ททท. ได้ร่วมมือกับกระทรวงสาธารณสุข หน่วยงานภาครัฐและเอกชน เร่งดำเนินโครงการมาตรฐานความปลอดภัยด้านสาธารณสุข ภายใต้โครงการ Amazing Thailand Safety & Health Administration หรือ SHA… ซึ่งเป็นโครงการที่กระตุ้นให้ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ปรับปรุงสถานประกอบการให้สอดคล้องกับการท่องเที่ยววิถีใหม่ หรือ New Normal ยกระดับมาตรฐานการท่องเที่ยวควบคู่กับมาตรฐานด้านสุขภาพอนามัย

Project Olympus

PROJECT OLYMPUS… The Space Based Construction และ Lunarcrete 3D Printing

Lunarcrete หรือ Mooncrete ที่สถาปนิกและวิศวกรสิ่งก่อสร้างนอกโลกจะเลือกใช้เป็น “วัสดุพิมพ์” ซึ่งเป็นวัสดุคล้ายคอนกรีตที่จากได้จากหินและสินแร่บนดวงจันทร์ผลิตขึ้น ถูกเสนอครั้งแรกโดย Larry A. Beyer จาก University of Pittsburgh ในปี 1985 และมีการจำลองวัสดุเหมือนสินแร่จากดวงจันทร์หลายโครงสร้าง และทำการทดลองมากมายจากนักวิจัยหลายสำนัก ทั่วสหรัฐอเมริกา…

RSI 14

RSI… Relative Strength Index

Relative Strength Index หรือ RSI เป็นเครื่องมือวิเคราะห์ทางเทคนิคสำหรับใช้ตรวจสอบภาวะ “Demand/Supply หรือ ตรวจสอบแรงซื้อ/แรงขาย” ของสินทรัพย์ลงทุนผ่านการตรวจสอบ “แรงเหวี่ยง หรือ Momentum” ที่ปรากฏเป็นการแกว่งตัวของราคาสัมพันธ์กับปริมาณการซื้อขาย… ซึ่งจะปรากฏเป็นข้อเท็จจริงที่ไม่เคยเปลี่ยนแปลงเสมอว่า เมื่อมีการ “ขาย” สินทรัพย์ลงทุนต่อเนื่องสะสมเรื่อยๆ ก็จะเกิดภาวะ “ขายมากเกินไป หรือ Oversold ซึ่งจะเห็นราคาสินทรัพย์ลดลงอย่างมีนัยยะตามแรงขายเสมอ… และในทางตรงกันข้าม หากมีการ “ซื้อ” สินทรัพย์ลงทุนต่อเนื่องสะสมเรื่อยๆ ก็จะเกิดภาวะ “ซื้อมากเกินไป หรือ Overbought” จนทำให้เห็นราคาสินทรัพย์เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะตามแรงซื้อเสมอเช่นกัน…