งานวิจัยจากกรุงศรีรีเสิร์ชหัวข้อ ธุรกิจที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ชี้ว่า… ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์มีมูลค่าตลาดคิดเป็นสัดส่วน 8% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หรือ GDP และยังมีส่วนสาคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโดยทำให้มี เม็ดเงินหมุนเวียนในระบบจำนวนมาก เกิดการจ้างงานและรายได้เพิ่มขึ้น พร้อมไปกับการเชื่อมโยงอุตสาหกรรมอื่น เช่น ธุรกิจก่อสร้าง ธุรกิจวัสดุก่อสร้าง ธุรกิจ สถาบันการเงิน ธุรกิจเครื่องใช้ไฟฟ้า และธุรกิจเฟอร์นิเจอร์และการตกแต่ง
แต่พลันที่หมดเดือนมีนาคม 2020 หรือจบไตรมาสแรกด้วยการวุ่นวายกับวิกฤต COVID-19 ที่คนส่วนใหญ่ต้องปรับตัวท่ามกลางความวิตกกังวล… ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจจากสถาบันต่างๆ ล้วนออกมาแจ้งข่าวร้ายเรื่องการเติบโตถดถอย ที่นับจากชั่วโมงนี้ไปถึงสิ้นปี พวกเราคงไม่เจอข่าวดีจากภาวะที่เป็นอยู่อะไรหรอก นอกจากจะค้นเอาจากจิตใจเนื้อในจากพวกเรากันเองมาแบ่งปัน
ล่าสุดข่าวจากคุณคมศร ประกอบผล หัวหน้าศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจและกลยุทธ์ธนาคารทิสโก้ ก็เอาตัวเลขประเมินจากทิสโก้มาเล่าแบ่งปัน อ้างอิงสมมุติฐานหลัก 3 ประการคือ
1. จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติลดลง 70% เมื่อเทียบกับปีก่อน เหลือ 12 ล้านคน
2. ราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยที่ 35 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล จากคาดการณ์เดิมที่ 55 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล
3. ภัยแล้งมีความรุนแรงยืดเยื้อจนถึงเดือนกันยายน จากเดิมคาดว่าจะอยู่ที่เดือนพฤษภาคม ซึ่งทำให้คาดว่าผลกระทบจากภัยแล้งจะกลายเป็น 0.7% ของ GDP จากเดิมคาดไว้ที่ 0.2% ของ GDP
เรียกว่าสมมุติฐานด้วย Scenario ขนาดนี้แค่ฟังก็ฝ่อแล้ว โดยเฉพาะจำนวนนักท่องเที่ยวและผลกระทบภัยแล้ง… ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจและกลยุทธ์ธนาคารทิสโก้จึงให้ตัวเลข GDP ตามต้นทุนที่อ้างอิงไว้ที่ -6.9%… อีกนิดเดียวการเติบโตตามการคาดการณ์นี้ ก็จะเห็นเศรษฐกิจหายไปเกือบจะเท่า GDP ที่ภาคอสังหาริมทรัพย์ทั้งระบบที่มีอยู่ราวๆ 8%
ซึ่งผู้เชี่ยวชาญทางเศรษฐกิจจากหลายสำนักก็ให้ตัวเลขติดลบไม่ต่างกันมากมาย และก็ถือว่าตรงกับสภาพและความรู้สึกที่ไม่มีใครคิดออกว่าเศรษฐกิจจะดีได้อย่างไร
ประเด็นก็คือ… หลายๆ ท่านในภาคธุรกิจคงมี Scenario บนสมมุติฐานที่ธุรกิจติดขัดฝืดเคืองจากปัจจัยที่ท่านเองน่าจะมองขาดว่ามีอะไรที่กระทบบ้างกันอยู่แล้ว… ที่จะขอก็เพียงแค่ อย่าได้ “หวังว่า” ปัจจัยด้านลบและด้านที่กระทบ จะดีกว่าที่คาดเท่านั้นเอง แล้วหันมาดูจุดแข็งและทรัพยากรที่เหลืออยู่ที่ไม่ได้รับผลกระทบ และโฟกัสปัจจัยเหล่านั้นเป็นโอกาสดูก่อน… หรือเลวร้ายสุดถึงขั้นต้องสละเรือแบบทิ้งทุกอย่างไว้กลางมหาสมุทรตรงนั้น เพื่อขึ้นแพเข้าฝั่งไปตั้งหลักใหม่ก็รีบทำ
ประเด็นก็คือ สมมุติว่า GDP ทั้งระบบหายไป -10%… อีก 90% ที่เหลือก็น่าจะมีอะไรให้เกลี่ยและจัดการได้อยู่ เว้นแต่จะอยู่ในธุรกิจ Sunset ที่ถูก Disrupted โดยปริยายอยู่แล้ว แม้หลังวิกฤตก็ไม่มีทางจะกลับมาเหมือนเดิม เพราะระบบนิเวศน์ส่วนที่ทำรายได้หลักให้กิจการได้เปลี่ยนไปกับ New Normal ที่เป็นคู่แข่งทั้งหมดแล้ว…
ใช่ครับ! ระวัง New Normal ที่ไม่มีเราอยู่ในระบบนิเวศน์ก็พอ… ที่เหลือเป็นเรื่องมีขึ้นมีลงท้าทายเราแค่นั้นเอง
อ้างอิง