GDP 4% จาก PM PODCAST

GDP

เมื่อวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2564 ที่ผ่านมา… PM PODCAST ของนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้พูดถึงความคืบหน้าการฉีดและการกระจายวัคซีนโควิด การขับเคลื่อนเศรษฐกิจและช่วยเหลือประชาชน และประเด็นอื่นๆ เอาไว้

ส่วนตัวผมสนใจเป้าหมายตัวเลข GDP ของปี 2021 และพยายามหาข้อมูลมาตั้งแต่กลางเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ซึ่งถ้าเป็นภาวะปกติ สำนักวิจัยทางเศรษฐกิจภาคเอกชนอย่างศูนย์วิจัยกสิกรไทย หรือ SCBEIC ก็จะมีข้อมูลคาดการณ์ผลิตภัณฑ์มวลรวมแห่งชาติ หรือ GDP หรือ Gross Domestic Product ออกมาให้เห็นทิศทางกันบ้าง

แต่ในภาวะไม่ปกติท่ามกลางวิกฤตโควิดแบบนี้… เครื่องจักรทางเศรษฐกิจตัวเดียวที่ยังทำงานอยู่ก็คือการใช้จ่ายจากภาครัฐ ซึ่งก็ต้องรอข้อมูลจากฝ่ายบริหารที่นำโดยนายกรัฐมนตรี หรือไม่ก็รองนายกรัฐมนตรีที่กำกับดูแลทางเศรษฐกิจ

PM PODCAST วันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2564 พูดถึงความคืบหน้าวัคซีนซิโนแวคและแอสตราเซเนกา ที่ได้เริ่มฉีดเข็มแรกเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์… โดยข้อมูล ณ วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2564 มีผู้ได้รับวัคซีนเข็มที่ 1 จำนวน 158,497 ราย… เข็มที่ 2 จำนวน 33,248 ราย ครอบคลุมพื้นที่การระบาดหรือมีความเสี่ยงสูง 13 จังหวัด ได้แก่ สมุทรสาคร เชียงใหม่ ตาก นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรสงคราม ราชบุรี นครปฐม สมุทรปราการ ชลบุรี ภูเก็ต สุราษฎร์ธานี และกรุงเทพมหานคร 

และในเดือนเมษายนนี้ จะกระจายวัคซีนซิโนแวค 800,000 โดส ไปยังกลุ่มเป้าหมาย 77 จังหวัด แบ่งเป็น 3 แสนโดส ควบคุมการระบาดในพื้นที่ 6 จังหวัด 3 แสนโดส ฟื้นฟูเศรษฐกิจในจังหวัดท่องเที่ยว และจังหวัดชายแดน และ 2 แสนโดส กระจายไป 55 จังหวัด… โดยนายกรัฐมนตรียืนยันว่า รัฐบาลมีแผนจัดหาวัคซีนโควิดให้กับคนไทยอย่างทั่วถึง พร้อมเดินหน้าฟื้นฟูเศรษฐกิจ โดยมีแผนเปิดรับนักท่องเที่ยวในพื้นที่นำร่อง ได้แก่ จังหวัดภูเก็ต กระบี่ พังงา เกาะสมุย พัทยา และเชียงใหม่ โดยต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนด

ต่อมานายกรัฐมนตรีกล่าวถึงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและช่วยเหลือประชาชนว่า… รัฐบาลมีเป้าหมายให้ GDP ของประเทศไทยเพิ่มขึ้น 4% โดยต้องอาศัยการส่งออก การลงทุนจากภาครัฐ รวมถึงการบริโภคของประชาชน 

ซึ่งในขณะนี้… กระทรวงการคลังอยู่ระหว่างการพิจารณาโครงการคนละครึ่ง เฟส 3 และมาตรการอื่นเพิ่มเติมให้ครอบคลุมถึงคนที่มีเงินฝากจำนวนมาก ให้ประชาชนออกมาจับจ่ายใช้สอยเพิ่มขึ้น… ย้ำว่าโครงการเหล่านี้ไม่ใช่การแจกเงินทิ้ง แต่เป็นการกระตุ้นให้เงินหมุนเวียนในระบบ 

นอกจากนี้ยังต้องส่งเสริมอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเชิงคุณภาพ อุตสาหกรรมเทคโนโลยีการแพทย์และการดูแลสุขภาพ เนื่องจากไทยเป็น Medical Hub จึงต้องคำนึงถึงการดึงดูดนักท่องเที่ยวที่มีศักยภาพ เช่น กลุ่มนักท่องเที่ยวสูงอายุที่มีกำลังจ่าย ส่งเสริมอุตสาหกรรมดิจิทัลให้ประเทศไทยมี Big Data และ การปรับแก้กฎหมาย เพื่อดึงดูดนักลงทุนต่างชาติให้เข้ามาลงทุนและพักอาศัย 

รวมทั้งดูแลพี่น้องเกษตรกรในภาคการเกษตร เร่งแก้ปัญหาน้ำ ลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต การทำเกษตร BCG พร้อมก้าวเข้าสู่สังคมคาร์บอนต่ำ ส่งเสริมการปลุกป่าดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งจะช่วยสร้างรายได้แก่เกษตรกรและชุมชนได้อีกทางหนึ่ง

ตามนั้นครับ!

References…

Share this post

Add Properea's Friend

เพิ่ม Properea.com เป็นเพื่อนทาง Line
ท่านจะได้ Link บทความใหม่ส่งตรงให้อย่างสม่ำเสมอโดยรบกวนแต่น้อย

Related Post

Income Hole

เสนอเงินกู้หนึ่งล้านล้านบาท และ หลุมรายได้ประเทศไทย

ด้วยขนาดของหลุมรายได้ที่จะหายไปประมาณ 2.6 ล้านล้านบาท ระหว่างปี พ.ศ. 2563-2565 เม็ดเงินของภาครัฐที่มีอยู่ในปัจจุบันคงไม่เพียงพอ จึงจำเป็นต้องเพิ่มแรงกระตุ้นทางการคลังเพื่อช่วยให้รายได้ และ ฐานะทางการเงินของประชาชน และ SMEs กลับมาฟื้นตัวได้โดยเร็วที่สุด… ลดแผลเป็นทางเศรษฐกิจที่จะกลายเป็นอุปสรรคในการพัฒนาเศรษฐกิจหลังโควิด ซึ่งในเบื้องต้นเม็ดเงินจากภาครัฐที่เติมเข้าไปในระบบควรมีอย่างน้อย 1 ล้านล้านบาท หรือ คิดเป็นประมาณ 7% ของ GDP

Theseus’ Paradox

พลูทาร์ก (Plutarch) เป็นปราชญ์ในยุคศตวรรษที่หนึ่ง ได้บันทึกข้อถกเถียงเรื่องสำคัญในยุคสมัยนั้น ลงในบันทึกชื่อ Life of Theseus คำถามนั้นมีอยู่ว่า… หากสำเภาลำหนึ่งได้รับการซ่อมแซม โดยการแทนที่ไม้เก่าด้วยไม้ใหม่ทั้งหมด  สำเภาลำนี้ยังคงเป็นสำเภาลำเดิมหรือไม่?

ตัวเลขจำนวนนักท่องเที่ยวผลักดันการท่องเที่ยวฟื้นตัวแรง

บทความจาก SCB EIC โดย ดร.กมลมาลย์ แจ้งล้อม และ คุณปุญญภพ ตันติปิฎก ได้รายงานจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเร่งตัวแตะ 30 ล้านคน จากการประกาศเปิดประเทศในทันทีของจีนตั้งแต่ต้นปี 2023… ส่งผลให้นักท่องเที่ยวจีนกลับมาท่องเที่ยวในไทยเร็วขึ้น และ นักท่องเที่ยวชาติอื่นฟื้นตัวกลับมาใกล้เคียงกับช่วงก่อนเกิดโควิด-19 แล้ว โดยนักท่องเที่ยวหลักยังคงเป็นนักท่องเที่ยวจากอาเซียนและยุโรป แต่ก็ยังมีปัจจัยเสี่ยงที่จะส่งผลต่อการฟื้นตัวของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ ไม่ว่าจะเป็นภาวะเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มชะลอตัว ค่าใช้จ่ายในการเดินทางท่องเที่ยวยังอยู่ในระดับสูงจากต้นทุนด้านเชื้อเพลิง

Lido Finance…

Lido Finance เป็นแพลตฟอร์ม Decentralized Finance แบบ Liquidity For Staked Assets ที่เปิดให้ผู้ใช้งานสามารถ Staking เหรียญ ETH โดยไม่ถูกยึดสภาพคล่องในระหว่างล็อคเหรียญวาง Stake เหมือนแพลตฟอร์ม Liquidity Pool ที่มีอยู่ดาษดื่นทั้งหมดในตลาด… แถมยังไม่มีการจำกัดจำนวนเหรียญ ETH ขั้นต่ำในการฝาก… ซึ่งการทำธุรกรรมบน Liquidity Pool ของ Lido Finance ด้วย ETH จำนวนเท่าใดก็ตาม ผู้ใช้ หรือ นักลงทุนจะได้รับโทเคน stETH ซึ่งเป็น Yield-Bearing Token ในอัตราส่วน 1:1 คล้ายการ PEG Ratio 1:1 ของพวก StableCoin… ซึ่ง stETH ซึ่งเป็น Yield-Bearing Token ในอัตราส่วน 1:1 คล้ายการ PEG Ratio 1:1 ของพวก StableCoin… ซึ่งมีนโยบายที่จะทำให้ stETH มีมูลค่าเพิ่มขึ้นทุกวันด้วย Yield Rewards ที่ได้รับจากการนำ ETH ที่ผู้ใช้ฝากไว้ไปฝากต่อ… โดยอาจจะถูกหักค่า Slashing หรือ ค่าปรับในกรณีที่ Validator Node ที่ Lido นำไปฝาก Stake ต่อ ถูกปรับตามกติกาของ Ethereum Beacon Chain