กระแสฟังก์ชั่นฟู๊ด หรือ Functional Foods ซึ่งมาไกลกว่าอาหารอร่อยปากอิ่มท้องแบบเดิม ไปสู่อาหารให้คุณค่าอย่างคุ้มค่า ที่ให้ได้ทั้งสารสำคัญจากอาหารที่ร่างกายต้องการ รวมทั้งฟังก์ชั่นเชิงชีวภาพจากอาหาร ซึ่งเป็นการกินที่คิดถึงแม้แต่แบคทีเรียเล็กๆ หลายแสนล้านตัวในร่างกาย ไปจนถึง DNA ของคนกิน
นานมาแล้วที่ภูมิปัญญาตะวันออก ทำและกินอาหารเพื่อชดเชยหรือเยียวยาร่างกาย… คำอย่าง “กินตามธาตุ” หรือการใส่สมุนไพรขับลม แก้พิษ ต้านร้อนใน และอะไรอีกมากที่เป็นการปรุงอาหารขึ้นโดยกำหนดฟังก์ชั่นให้อาหารไปทำหน้าที่อื่นตั้งแต่เคี้ยว ลิ้มรส กลืนและย่อย… ซึ่งได้ทั้งอิ่มท้องไปจนถึงเยียวยา
แนวคิดเดียวกันนี้ถูกนำมาปรับใหม่ โดยใส่วิทยาการด้านอาหารและชีวภาพมากมาย เข้าไปในกลไกลส่วนผสมเป็นเครื่องปรุงอาหาร เพื่อให้มีฟังก์ชั่นมากกว่าเดิม… ซึ่งศาสตร์ของอาหารฟังก์ชั่นยังเหลือที่ว่างให้การสร้างสรรค์และจินตนการอีกมาก และเราจะมาเรียนรู้พื้นฐานแนวคิดไปพร้อมกันว่า… Functional Foods มีอะไรแค่ไหนให้เรียนรู้และศึกษาเพิ่มเติม
ก่อนอื่นมาดูแนวคิดหลักของอาหารฟังก์ชั่น หรือ Functional Foods กันก่อนว่า… หลักๆ แล้วเราจะปรุ่งอาหารแล้วใส่ฟังก์ชั่นเพื่อประโยชน์อะไรได้บ้าง
1. Bio-defensiveness หรือ ส่งเสริมระบบการป้องกันตนเองของร่างกาย
2. Rhythm of Physical Condition หรือ ส่งเสริมและควบคุมให้ระบบต่างๆ ของร่างกายทำงานได้อย่างถูกต้อง
3. Prevents Cell Degeneration หรือ ป้องกันหรือชะลอความเสื่อมของเซลล์
4. Preventing Malnutrition หรือ ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคจากภาวะทุพโภชนาการ
5. Balanced Diet and Chronic Diseases หรือ ควบคุมโภชนาการและโรคเรื้องรังบางชนิด เช่น โรคเบาหวาน
และอาจจะมีประโยชน์หรือวัตถุประสงค์อื่นๆ อีกก็ได้… ประเด็นก็คือ การจะปรุงอาหารให้เป็น Functional Foods ได้ ควรคำนึงถึงเครื่องปรุงและส่วนประกอบของอาหารอะไรบ้าง… ซึ่งเครื่องปรุงหรือสารประกอบในอาหารที่ทำหน้าที่พิเศษเหล่านี้ เรียกว่า Functional Ingredients… เช่น
1. Dietary Fiber หรือ ใยอาหาร… ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ และลดคลอเรสเตอรอลในเลือด พบได้ในผักแลผลไม้ทั่วไป เม็ดแมงลัก หัวบุก รำข้าว และธัญพืชต่างๆ
2. Oligosaccharides หรือ น้ำตาลโอลิโกแซคคาไรด์… ช่วยควบคุมระบบขับถ่ายให้ทำงานเป็นปกติ โดยกระตุ้นการเจริญเติบโตของแบคทีเรียในระบบทางเดินอาหาร ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ และช่วยลดระดับคลอเรสเตอรอลในเลือด พบได้ในอาหารประเภทข้าวสาลี ข้าวไรย์ หัวหอม แอสปารากัส Artichoke, กล้วย, ถั่วเหลือง Burdock และพืชหัว
3. Dipeptide หรือ ไดเปปไทด์… เป็นโปรตีนที่ถูกย่อยไปบางส่วน ช่วยลดความเหนื่อยล้าของสมอง ช่วยลดความกังวลและความเครียด ช่วยให้มีประสิทธิภาพในการใช้สมองมากยิ่งขึ้น ช่วยในการดูดซึมแร่ธาตุ และช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกัน พบได้ในซุปไก่สกัด และเครื่องดื่มเสริมกรดอะมิโนต่างๆ
4. Omega 3 – Polyunsaturated Fatty Acid หรือ กรดไขมันไม่อิ่มตัวในกลุ่มโอเมก้า 3… ช่วยในการพัฒนาสมองและการมองเห็นของทารก และช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะหัวใจขาดเลือดในผู้ใหญ่ พบได้ในน้ำมันปลา
5. Phytochemicals หรือ สารพฤกษเคมี… เป็นสารเคมีกลุ่มหนึ่งที่ช่วยในการต้านอนุมูลอิสระ ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง เช่น สารประกอบโพลีฟีนอล พบได้ในใบชาเขียวและชาอูลอง สารกลุ่ม Diallyl disulphides พบได้ในหอมและกระเทียม และสารในกลุ่ม Phytoestrogenจากพืช ซึ่งทำหน้าที่คล้ายฮอร์โมนเพศหญิง พบได้ในถั่วเหลือง และ Flax Seed
6. เกลือแร่และวิตามินต่างๆ… ที่ทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง ภาวะหัวใจขาดเลือด และโรคต้อกระจก เช่น เบตาแคโรทีน วิตามินซี วิตามินอี และซิลิเนียม
ประเด็นเป็นแบบนี้ครับ… การใช้และการควบคุมปริมาณของ Functional Ingredients ในอาหารหรือเครื่องดื่มเป็นเรื่องละเอียดอ่อนและต้องอ้างอิงหลักวิชาที่เป็นวิทยาศาสตร์… ต้องศึกษาและละเอียดรอบคอบในการใช้สารเติมแต่งอาหารให้มาก ก่อนจะอ้างสรรพคุณหรือฟังก์ชั่นใดๆ
แต่ข่าวดีก็คือ… Functional Foods และ Functional Ingredients อยู่ในแผนพัฒนานวัตกรรมอาหาร และการพัฒนาอุตสาหกรรมชีวภาพ ที่รัฐบาลไทยส่งเสริมอย่างมากในปัจจุบัน… รายละเอียดลึกๆ ขอส่วนตัวที่ Line ID: dr.thum ครับ!
อ้างอิง