ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 136 ตอนที่ 50 ก ลงวันที่ 16 เมษายน 2462 หน้า 106 ได้เผยแพร่ พระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2562
สาระสำคัญของร่าง พ.ร.บ. ป่าไม้ ปี 2562 โดยหลักสำคัญของ พ.ร.บ. ฉบับนี้… เพื่อให้ประชาชน-เอกชน ทำไม้ เคลื่อนย้าย หรือการส่งเสริมอุตสาหกรรมและการใช้ประโยชน์จากไม้หวงห้าม ไม้มีค่า และเพื่อส่งเสริมการปลูกไม้มีค่าเชิงพาณิชย์
เนื่องจากพ.ร.บ. ป่าไม้ ฉบับเก่านั้น ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อใช้ในการป้องกัน รักษาไม้มีค่า ที่อยู่ในป่าเป็นหลัก จึงเป็นอุปสรรคในการดำเนินการส่งเสริมการปลูก และใช้ประโยชน์จากไม้มีค่า เช่น ไม้สัก ที่เคยมีการส่งเสริมการปลูกมานานหลายสิบปีแล้ว แต่เกษตรกรผู้ปลูกไม่สามารถตัดมาใช้ประโยชน์ได้ เนื่องจากข้อกฎหมาย
สาระสำคัญที่มีการแก้ไขคือ มาตรา 7 โดยใจความของมาตรา 7 นี้ คือการให้ไม้ทุกชนิดที่ปลูกในดินที่มีกรรมสิทธิ์ถูกต้องไม่เป็นไม้หวงห้ามอีกต่อไปประชาชน–เจ้าของ สามารถปลูกและนำมาประโยชน์ได้
…ย้ำว่า “ที่ดินที่มีกรรมสิทธิ์” หรือ “สิทธิครอบครอง” หรือ “ปลูกขึ้นในที่ดินที่ได้รับอนุญาต”
ใครที่ปลูกอยู่เดิมก็นำมาขายได้… คนที่ยังไม่ปลูกก็หาพันธุ์มาปลูกได้… ส่วนใครจะปลูกใหม่ ต้นอะไร แนะนำให้ปรึกษากรมป่าไม้ หรือผู้รู้ในท้องถิ่นว่าดินเหมาะปลูกต้นไม้อะไร เพื่อให้เหมาะและมีกำลังใจในการดูแล การปลูกต้นไม้ใหญ่นั้น นอกจากต้องลงแรง และลงเงินบ้าง ซึ่งก็ไม่น่าจะมากมายอะไร หากเราขอพันธุ์ไม้มาจากกรมป่าไม้
สิ่งสำคัญคือ เราต้องรอคอยให้มันเติบโต เพราะใช้เวลามากกว่าพืชล้มลุก แต่มันก็คุ้มค่า อย่างไม้ยืนต้น ที่มีมูลค่ามากขณะนี้คือ ไม้พะยูง ลูกบาศก์เมตรละ 500,000-600,000 บาท แต่หากส่งออกมีมูลค่าถึง 2- 3 ล้านบาท รองลงมาคือ สัก, ชิงชัน เป็นต้น
เห็นได้ชัดว่า ต้นไม้เหล่านี้มีค่ากว่า “ทองคำ”
กรณีศึกษาการปลูกไม้ยืนต้นและไม่มีค่าคือ วนเกษตรเขาฉกรรจ์ จังหวัดสระแก้ว ของ ดร.เกริก มีมุ่งกิจ ที่ข้อมูลบอกว่า… ปลูกต้นไม้ไว้ทั้งหมด 470 ชนิดในที่ดิน 35 ไร่ เป็นไม้โตช้า ไม้โตปานกลาง ไม้โตเร็ว แซมด้วย ข้าว 2 ไร่ และ ผัก 16 ชนิด กินและขาย ระหว่างรอไม้ใหญ่โต ผ่านไป 4 เดือน มีรายได้จากพื้นที่ 5 ไร่ถึง 500,000 บาท แล้วทำแบบเดียวกัน อีก 3 ปี พอปีที่ 4 เริ่มปลูกอย่างอื่นแทนเพราะไม้ใหญ่เริ่มสูง เช่น กาแฟ ขิงข่า กระชาย นอกจากนี้ยังมีรายได้ทุกเดือนเดือนละ 50,000 บาท จากไม้ขุดล้อม
ผมมีตัวเลขนำเข้าไม้และผลิตภัณท์จากไม้เฉลี่ยปีละไม่น้อยกว่า 2 ล้านล้านบาทมานานหลายปีสำหรับประเทศไทย… ใครมีที่ดินมรดกหรือที่ดินต้นทุนต่ำ ลงมือเลยครับอย่ารอ…
ผมว่ามันน่าสนใจกว่าจ้องปลูกกัญชาเยอะแยะ!!!