สถานการณ์ค่าเงินบาท… อืมมมส์

นับตั้งแต่ไตรมาสสุดท้ายปี 2018 เป็นต้นมา สถานการณ์ค่าเงินบาทแข็งค่าเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลักของโลก ก็พาเรากลับมาเห็นอัตราแลกเปลี่ยนระดับ 30 บาทเศษต่อเนื่องมาจนถึงวันนี้… หากเราดูตัวเลขย้อนหลังช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ช่วงที่อ่อนค่าที่สุดคือเดือนตุลาคม 2558 ค่าเงินบาทอยู่ที่ 36.42 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ เคลื่อนไหวไม่ต่ำกว่า 35 บาท จนเดือนมีนาคม 2560 ค่าเงินเริ่มแข็งค่ามาอยู่ที่ 34.00 บาทต่อดอลาร์สหรัฐ และแข็งค่าขึ้นเรื่อยๆ จนถึงปัจจุบันเดือนกันยายน 2562 อยู่ที่ 30.5 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ

ก่อนอื่นมาทบทวนเศรษฐศาสตร์ค่าเงินกันหน่อยครับ… คำว่าค่าเงินบาทแข็งค่า หมายถึง เราจะใช้เงินบาทน้อยลงเพื่อแลกเงินต่างประเทศ เช่น เมื่อก่อนเราต้องใช้เงิน 45 บาทแลกได้เพียง 1 ดอลลาร์สหรัฐ แต่ตอนนี้เราใช้เงินบาท 30.5 บาทแลกได้ 1 ดอลลาร์สหรัฐ… แสดงว่าปัจจุบัน เงินบาทแข็งค่าขึ้น หรือจะบอกว่าดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลง… ก็ได้

เมื่อบาทแข็งขึ้น… คนที่กระทบตรงๆ คือธุรกิจส่งออกที่รายได้เป็นเงินตราต่างประเทศ ก่อนหน้านี้เคยส่งออกทำเงินได้ 1 ล้านดอลลาร์ เอากลับมาแลกเงินบาทได้ 32-34 ล้านบาท… วันนี้ส่งออกเหมือนเดิมทุกอย่าง ได้ค่าสินค้า 1 ล้านดอลลาร์เท่าเดิม แต่แลกเป็นเงินบาทเหลือแค่ 30 ล้านบาทเศษๆ เท่านั้น… เงินหายไปจากบัญชีเพราะอัตราแลกเปลี่ยนไม่น้อยเลย

ฝั่งธุรกิจส่งออกจึงเดือดร้อนเจ็บปวดกับค่าเงินแข็งค่า!

อีกเซกเตอร์หนึ่งที่กระทบกระเทือนเสมอเมื่อค่าเงินบาทแข็งค่าก็คือ เซกเตอร์การท่องเที่ยว ซึ่งนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เข้ามา จะต้องใช้เงินตราต่างประเทศมากขึ้น เพื่อแลกเป็นเงินบาท เช่น เมื่อก่อนนักท่องเที่ยวแลกเงิน 100 ดอลลาร์ได้เงินบาท 3200-3400 บาท… ตอนนี้ 100 ดอลลาร์แลกได้เพียง 3000 บาทเศษเหมือนกัน… แสดงว่านักท่องเที่ยวต้องจ่ายแพงขึ้นเมื่อเข้ามาท่องเที่ยวเมืองไทย ตัวอย่างเช่น ถ้าอัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์แลกได้ 35 บาท นักท่องเที่ยวที่จองที่พักราคา 3500 บาทจะจ่ายเป็นเงินดอลลาร์เพียง 100 ดอลลาร์ พอค่าเงินบาทแข็งขึ้นเป็น 1 ดอลลาร์แลกได้ 30 บาท นักท่องเที่ยวต้องใช้เงิน 116.6 ดอลลาร์ เช่าห้องพักราคา 3500 บาท… กรณีนี้แปลว่าอยู่เฉยๆ ห้องพักห้องเดิม ราคาเดิม บริการเหมือนเดิม แต่แพงขึ้น 15-16 เปอร์เซนต์

ส่วนคนที่ได้ประโยชน์ก็จะเป็นนักท่องเที่ยวชาวไทย ที่เดินทางไปท่องเที่ยวต่างประเทศครับ… ถ้าดูตามตัวอย่างที่ยกมาข้างบน คนไทยไปเที่ยวนอกก็จะจ่ายถูกลง 15-16 เปอร์เซนต์เช่นกัน

อีกกลุ่มหนึ่งที่ได้ประโยชน์คือธุรกิจนำเข้า… เพราะสินค้าที่สั่งซื้อจากต่างประเทศเหมือนเดิม… แต่เมื่อจ่ายเป็นดอลลาร์ ราคาก็จะถูกลงกว่าเดิมเช่นกัน… กรณีนี้สังเกตได้จากราคาน้ำมันชัดเจนที่สุด ซึ่งช่วงที่ผ่านมา ราคาน้ำมันในตลาดโลกเขยิบตัวสูงขึ้นจากปัจจัยหลายอย่าง รวมทั้งเหตุก่อการร้ายโรงกลั่นน้ำมันใหญ่ในซาอุดิอารเบียด้วย… แต่ราคาน้ำมันในประเทศก็ไม่ได้กระทบกระเทือนมากมาย เพราะหลายฝ่ายเชื่อว่า ค่าเงินบาทที่แข็งค่ามาช่วงใหญ่ๆ น่าจะทำให้ผู้ค้าน้ำมันในประเทศมี Margin จากอัตราแลกเปลี่ยนพอสมควร

ประกอบกับ… ธุรกิจรายใหญ่ที่นำเข้าส่งออกประจำ จะมีเครื่องมือบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ที่มีบริการในทุกธนาคาร เช่น สัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า (Forward) การประกันค่าเงิน (Options) สัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Futures) การเปิดบัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศ (FCD) รวมทั้งเครื่องมือบริหารจัดการอื่นๆ อีกมาก… ซึ่งตรงนี้ผมเห็นตรงกับหลายๆ ท่านว่า เงินบาทแข็งค่าครั้งนี้ฝั่งผู้นำเข้าตัดไปเพราะได้ประโยชน์อยู่แล้ว ส่วนผู้ส่งออกส่วนใหญ่ จะมีเครื่องมือบริหารความเสี่ยงที่ธนาคารเสนอบริการให้อยู่แล้วเป็นส่วนใหญ่… ส่วนภาคการท่องเที่ยว รอบนี้โดนเต็มๆ ครับ

ประเด็นก็คือ… ตัวเลขเศรษฐกิจไทยมาจากธุรกิจท่องเที่ยว ราว 15% ของผลิตภัณฑ์มวลรวม หรือ GDP… มาเที่ยวเมืองไทยแล้วแพง นักท่องเที่ยวก็จะเบนเข็มปลายทางไปทิศอื่น ดังนั้น ถ้าปลายปีนี้ (และน่าจะต่อเนื่องไปอีกหลายปี) พวกเราเห็นตัวเลขการเติบโตจากธุรกิจท่องเที่ยวของเพื่อนบ้านในอาเซียนอย่างเวียดนาม มาเลเซีย ลาว กัมพูชาหรือแม้แต่พม่า… ก็จงอย่าได้แปลกใจ ถ้าเอาตัวเลขการขยายตัวของการท่องเที่ยวมาเทียบกัน

เรื่องของเรื่องจะกลับมาที่… ธุรกิจท่องเที่ยวเป็นธุรกิจที่เกี่ยวโยงกับอสังหาริมทรัพย์ที่ “ใครซักคนทำอะไรบนที่ดินซักแปลง” ในโลกใบนี้… และเป็นท่านเองที่กำลังมองหาโอกาสการลงทุนกับที่พัก อาหารหรือบริการกับนักท่องเที่ยว… มองข้ามชายแดนไปที่เพื่อนบ้านเลยครับ

สุดท้ายผมรวบรวมความเห็นจากหลายๆ ที่มาสรุปเรื่องค่าเงินไว้แบบนี้ก่อนครับ… เรื่องค่าเงินบาท ัยงไม่มีแนวโน้มจะอ่อนค่าลงกว่านี้จนมีช่องว่างมากมายทั้งในระยะสั้นและระยะกลาง แต่ค่าเงินบาทยังตรึงค่าเหนือ 30 เศษได้อย่างแน่นอนในระยะสั้นและระยะกลางเช่นกัน… โอกาสที่ค่าเงินจะหลุด 30 บามลงมาก็มีเหมือนกันครับ แต่ความเป็นไปได้ยังน้อยมากด้วยตัวแปรในปัจจุบัน

อ่อ… ไม่ต้องกังวลเรื่อง Libra Coin กับกรณีนี้น๊ะครับ!… บาทไทยเศรษฐกิจไทยในภาพรวม ยังเหนียวและหอมหวนไปไกลอีกนานครับ

Share this post

Add Properea's Friend

เพิ่ม Properea.com เป็นเพื่อนทาง Line
ท่านจะได้ Link บทความใหม่ส่งตรงให้อย่างสม่ำเสมอโดยรบกวนแต่น้อย

Related Post

ร่างกฎกระทรวงการได้มาซึ่งที่ดินเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยของคนต่างด้าว

คุณอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แถลงถึงมติคณะรัฐมนตรี ที่ได้อนุมัติหลักการ “ร่างกฎกระทรวงการได้มาซึ่งที่ดินเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยของคนต่างด้าว ตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุนโดยการดึงดูดคนต่างด้าวที่มีศักยภาพสูงสู่ประเทศไทย พ.ศ. ….” ซึ่งร่างกฎกระทรวงนี้ จะมีระยะเวลาบังคับใช้ 5 ปี นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา และ สาระสำคัญของกฎกระทรวงเป็นการกำหนดกลุ่มคนต่างด้าวที่มีศักยภาพสูง 4 ประเภท ที่สามารถได้มาซึ่งที่ดินเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัย ได้แก่

Properea Growth Hacking

Growth Hacking for Real Estate… ผ่าตัดเพื่อเติบโต

Growth Hacking หมายถึงกลยุทธ์การทำตลาดแนวทางหนึ่ง เพื่อเพิ่มการเติบโตของธุรกิจในยุคที่ลมหายใจธุรกิจล้วนเข้าออกโดยมี Technology ขับเคลื่อน หรือที่เรียกว่า Tech Driven หรือ Technology Driven

Nissan Fairlady Z… 1970 #สุดสัปดาห์พาดูรถ

Datsun 240z ปี 1970 ถือเป็นตำนานการทำรถสปอร์ตของชาวตะวันออก ที่ได้รับการยกย่องในวงการรถยนต์ว่าเทียบชั้นผลงานชิ้นเอกแห่งโลกยนตกรรมในยุคเดียวกันอย่าง Jaguar E-Type และ Chevrolet Corvette C3 รวมทั้งสปอร์ตคูเป้ตัวแรงจากเกาะญี่ปุ่นด้วยกันอย่าง Toyota 2000 GT ซึ่งออกแบบโดย Yoshihiko Matsuo

Voice Search and Voice Commerce

เทคโนโลยี voice recognition หรือ Speech Recognition กำลังกลืนไลฟ์สไตล์ของผู้คนมากขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่ความสำคัญของการสั่งงานผ่านปุ่มกดหรือจอสัมผัส… ก็ลดความสำคัญลงเรื่อยๆ อย่างเงียบๆ