รับฟังความคิดเห็น… พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว

พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว

28 มิถุนายน พ.ศ. 2564… คุณทศพล ทังสุบุตร อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้าแถลงว่า… กรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้เปิดรับฟังความคิดเห็นเพื่อประเมินผลสัมฤทธิ์ พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 ซึ่งเป็นกฎหมายที่กำกับดูแลการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว และ ปกป้องธุรกิจที่คนไทยยังไม่มีความพร้อมในการแข่งขัน ระหว่างวันที่ 28 มิถุนายน ถึงวันที่ 30 กรกฎาคม 2564 โดยกฎหมายดังกล่าวมีผลบังคับใช้มากว่า 20 ปี ด้วยระยะเวลาที่ยาวนานทำให้ตัวบทกฎหมายมีความล้าสมัย ไม่สอดคล้องกับสภาพทางเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

อนึ่ง… รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 77 และ พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 กำหนดให้หน่วยงานของรัฐที่มีกฎหมายอยู่ในการกำกับดูแล ต้องดำเนินการจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้องภายใต้หลักการมีกฎหมายเท่าที่จำเป็น ลดอุปสรรคต่อการดำรงชีวิต หรือ การประกอบอาชีพ เพื่อไม่ให้เป็นภาระแก่ประชาชน

รวมทั้งตรวจสอบเนื้อหาของกฎหมาย ให้มีระบบอนุมัติ/อนุญาตเท่าที่จำเป็น เพื่อลดการใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ พิจารณาระบบคณะกรรมการให้มีองค์ประกอบที่เหมาะสม กระทัดรัด และ การทบทวนโทษทางอาญาให้มีเฉพาะในความผิดที่ร้ายแรง เพื่อไม่ให้ผู้กระทำความผิดมีประวัติอาชญากรรม โดยประเด็นต่างๆ ที่เปิดรับฟังความคิดเห็น เช่น ความหมายของคำว่าคนต่างด้าว… จำนวนทุนขั้นต่ำที่คนต่างด้าวใช้ในการประกอบธุรกิจ… การปลดล็อกธุรกิจบัญชีท้ายและสร้างกลไกในการกำกับดูแล… อัตราส่วนทุนต่อเงินกู้ที่คนต่างด้าวสามารถกู้มาใช้ในการประกอบธุรกิจ และ การกำกับดูแลคนต่างด้าวที่ประกอบธุรกิจนอกบัญชี เป็นต้น

เบื้องต้น กรมกำหนดช่องทางการรับฟังความคิดเห็นจำนวน 2 ช่องทาง ทั้งออนไลน์และออฟไลน์… โดยช่องทางออนไลน์บุคคลทั่วไปสามารถแสดงความคิดเห็นผ่านทางระบบกลางทางกฎหมาย http://lawtest.egov.go.th และ เว็บไซต์กรมพัฒนาธุรกิจการค้า dbd.go.th 

สำหรับช่องทางออฟไลน์ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า จะส่งหนังสือ และ แบบแสดงความคิดเห็นให้แก่หน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง เพื่อแสดงความคิดเห็นลงในแบบฟอร์มที่กำหนด 

นอกจากนี้ กรมพัฒนาธุรกิจการค้าจะดำเนินการชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับการแสดงความคิดเห็นผ่านทาง Facebook Live ของสำนักกฎหมาย กรมพัฒนาธุรกิจการค้า : DBD Bureau of Law ช่วงต้นเดือนกรกฎาคม 2564 นี้

ทั้งนี้ กรมพัฒนาธุรกิจการค้าจะนำความคิดเห็นทั้งหมดมาใช้ประกอบการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย และ หากมีประเด็นที่จะต้องแก้ไขปรับปรุงจะดำเนินการในลำดับถัดไป… จึงขอเชิญชวนหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และบุคคลทั่วไป ร่วมแสดงความคิดเห็นประกอบการประเมินผลสัมฤทธิ์พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 ระหว่างวันที่ 28 มิถุนายน ถึง วันที่ 30 กรกฎาคม 2564… สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ สำนักกฎหมาย กรมพัฒนาธุรกิจการค้า โทร 0 2547 4470 อีเมล์ : law.dbd.15@gmail.com 

References…

Share this post

Add Properea's Friend

เพิ่ม Properea.com เป็นเพื่อนทาง Line
ท่านจะได้ Link บทความใหม่ส่งตรงให้อย่างสม่ำเสมอโดยรบกวนแต่น้อย

Related Post

BullPerks… แพลตฟอร์มระดมทุนแบบ Decentralized Venture Capital

BullPerks เป็นแพลตฟอร์มระดมทุนบนบล็อกเชนแบบ Initial DEX Offering หรือ IDO แบบที่เรียกกันว่า IDO Launchpad ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่เปิดให้สมาชิกเสนอขายโทเคนระดมทุนด้วยแผนธุรกิจที่ถูกคัดกรอง และ ตรวจสอบโดย BullPerks เพื่อให้สมาชิกที่เป็นฝั่งนักลงทุนมีความเสี่ยงน้อยที่สุด

AirBNB, SAMARA.COM และ Project Backyard

วันนี้ผมยังวนอยู่แถวๆ Sharing Business ต่ออีกวันน๊ะครับ ถ้าใครยังไม่รู้จัก AirBNB เจ้าของแพล็ตฟอร์มที่พักคนเดินทางที่มีห้องพักให้เลือก มากกว่าโรงแรมที่ใหญ่ที่สุดในโลกชนิดที่เปรียบเทียบตัวเลขกันไม่ได้เลย หลายปีผ่านมานี้ AirBNB ไม่เพียงแต่จะเป็นแพล็ตฟอร์มจองที่พัก เพราะ AirBNB เชื่อมโยงคนแปลกหน้าจากทุกมุมโลกเข้าหากัน เชื่อใจกัน และแบ่งปันกัน

Britcoin… สกุลเงินดิจิทัลของอังกฤษ

ธนาคารกลางอังกฤษ ได้เดินหน้าแผนสร้างสกุลเงินดิจิทัลใหม่ในชื่อ “Britcoin” โดยใช้อักษรย่อ “BRIT” เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงภายในอุตสาหกรรมการเงิน ที่อาจจะมาพร้อมกับการลดการใช้เงินสด และ การเพิ่มขึ้นของการชำระเงินผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยธนาคารกลางอังกฤษ เป็นหนึ่งในธนาคารกลางจากหลายประเทศที่ทำการพัฒนาสกุลเงินดิจิทัลขึ้นใช้ เพื่อเตรียมพร้อมกับความเปลี่ยนแปลงในรูปแบบการใช้เงินของประชาชนในอนาคต

ขยายสนามบินเชียงใหม่…

นาวาอากาศตรี มณธนิก รักงาม รักษาการผู้อำนวยการท่าอากาศยานเชียงใหม่ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า การดำเนินงานของท่าอากาศยานเชียงใหม่ในปัจจุบัน ท่าอากาศยานเชียงใหม่มีศักยภาพในการรองรับผู้โดยสารราว 8 ล้านคน/ปี แต่แนวโน้มการเติบโตของผู้โดยสารที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและรวดเร็วในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ทำให้จำนวนผู้โดยสารเพิ่มขึ้นถึง 250% ส่งผลให้เกิดความแออัดและสิ่งอำนวยความสะดวกไม่เพียงพอในบางช่วงเวลา แม้ว่าจะปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ขยายพื้นที่การให้บริการ และบริหารจัดการเส้นทางเดินของผู้โดยสาร เพื่อให้ผู้โดยสารและผู้ใช้บริการได้รับความสะดวกรวดเร็วมากที่สุด ภายใต้คุณภาพการให้บริการในระดับสากล และมาตรฐานความปลอดภัยขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ