ขั้นตอนเปิดโรงงานผลิตอาหาร

Food Factory

มีร้านอาหารหลายร้านที่สนใจการผลิตอาหารแบบ RTE หรือ Ready To Eat หรืออาหารพร้อมรับประทาน ซึ่งช่องทางการขายและการยอมรับของลูกค้า ที่สะท้อนผ่านอาหารอุ่นไมโครเวฟใน 7-11 ทุกแห่งเป็นเครื่องยืนยันได้อย่างดี

แต่การผลิตอาหารพร้อมรับประทานจำนวนมาก ต่างจากการทำอาหารใส่กล่องหรือใส่ถุงขาย หรือแม้กระทั่งอาหารจัดเลี้ยงที่คนทำธุรกิจร้านอาหารมีความเชี่ยวชาญ… ซึ่งมีแฟน Properea บางท่านที่ทำร้านอาหารอยู่ และสนใจจะเอาเมนูและแบรนด์ของร้านไปทำ RTE เป็นเรื่องเป็นราว ซึ่งท่านก็ศึกษามาเยอะ และแบ่งปันแลกเปลี่ยนกับผมมามาก… วันนี้ก็เลยได้โอกาสเอามาแบ่งปันเผยแพร่ต่อ เรื่องการตั้งโรงงานผลิตอาหาร

งั้นมาดูข้อมูลทั่วไปกันว่า ถ้าอยากจะเปิดโรงงานผลิตอาหารต้องทำอย่างไรบ้าง?

ประเด็นแรกที่ต้องเข้าใจก่อนก็คือ… สถานที่ผลิตอาหารที่เข้าข่ายโรงงาน ต้องมีคุณสมบัติตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2562… ซึ่งสาระสำคัญสถานที่ ที่เข้าข่ายโรงงานต้องมีการใช้เครื่องจักรที่มีกำลังตั้งแต่ 50 แรงม้าขึ้นไป หรือใช้คนงานตั้งแต่ 50 คนขึ้นไปโดยจะใช้หรือไม่ใช้เครื่องจักรก็ได้

เมื่อมีแผนใช้เครื่องจักรขนาด 50 แรงม้าขึ้นไปช่วยผลิต… หรือวางแผนจ้างงานในขบวนการผลิตตั้งแต่ 50 ตำแหน่งขึ้นไป… ก็เข้าสู่ขั้นตอนการจัดตั้งโรงงานกันเลย

1. ยื่นขอตรวจประเมินสถานที่ผลิต

ผู้ประกอบการจะต้องยื่นขอตรวจประเมินสถานที่ผลิตและเก็บอาหาร โดยติดต่อเจ้าหน้าที่เพื่อยื่นคำขอและเอกสารหลักฐานประกอบการพิจารณา ณ ศูนย์บริการผลิตภัณฑ์สุขภาพเบ็ดเสร็จ หรือ One Stop Service Center สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กรณีสถานที่ผลิตตั้งอยู่ต่างจังหวัดให้ยื่นคำขอ ณ สำนักงานสาธารณสุขในจังหวัดนั้นๆ และปัจจุบันสามารถยื่นคำขอผ่านทางอินเทอร์เน็ต หรือ E-submission ได้ด้วย

2. ยื่นขออนุญาตตั้งโรงงานผลิตอาหาร

เมื่อผ่านการตรวจประเมินสถานที่เรียบร้อย มาถึงขั้นตอนที่ผู้ประกอบการต้องดำเนินการขออนุญาตตั้งโรงงานผลิตอาหาร จะต้องเตรียมเอกสารสำคัญดังนี้

1. คำขออนุญาตตั้งโรงงานตามแบบ อ1. จำนวน 1 ฉบับ
2. สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ขออนุญาต จำนวน 1 ฉบับ
3. สำเนาใบทะเบียนการค้าหรือใบทะเบียนพาณิชย์ จำนวน 1 ฉบับ
4. สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล จำนวน 1 ฉบับ (กรณีนิติบุคคล)
5. สำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น จำนวน 1 ฉบับ (เฉพาะนิติบุคคลที่เป็นบริษัท )
6. หนังสือมอบอำนาจ (กรณีผู้ดำเนินกิจการไม่ได้มายื่นเอง)
7. แบบแปลนแผนผังที่ถูกต้องตามมาตราส่วน จำนวน 1 ชุด (กรณีสถานที่ผลิตอยู่ต่างจังหวัดจะใช้ 2 ชุด)
8. แผนที่แสดงที่ตั้งของโรงงานและสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ในบริการใกล้เคียง
9. แผนผังแสดงสิ่งปลูกสร้างภายในบริเวณที่ดินของโรงงาน รวมทั้งระบบกําจัดนํ้าเสียและบ่อบาดาล (ถ้ามี)

ผู้ประกอบการสามารถยื่นคำขอและเอกสารหลักฐานต่างๆ ได้ที่ ศูนย์บริการผลิตภัณฑ์สุขภาพเบ็ดเสร็จ หรือ One Stop Service Center สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และ กรณีสถานที่ผลิตตั้งอยู่ต่างจังหวัด ยื่นได้ที่สำนักงานสาธารณสุขในแต่ละจังหวัด หรือ ยื่นผ่านระบบอินเทอร์เน็ตก็ได้ โดยผู้ประกอบการต้องชำระค่าธรรมเนียม 2,000 บาท

จากนั้นเจ้าหน้าที่จะดำเนินการตรวจสอบความครบถ้วนของคำขอและเอกสารหลักฐานต่างๆ กรณีเอกสารครบถ้วน เจ้าหน้าที่จะออกใบรับคำขอ และดำเนินการตรวจสอบ เพื่อพิจารณาว่าจะอนุญาตจัดตั้งโรงงานหรือไม่ แต่หากเอกสารไม่ครบถ้วน ผู้ประกอบการจะต้องยื่นเอกสารหลักฐานเพิ่มเติมให้เจ้าหน้าที่ภายในเวลาที่กำหนด

3. รับใบอนุญาตการผลิต

เมื่อพิจารณาเสร็จสิ้น เจ้าหน้าที่จะแจ้งผล… หากได้รับอนุญาต จะทำการออกใบสั่งชำระค่าธรรมเนียม ซึ่งมีตั้งแต่ 3,000 | 5,000 | 7,000 | 8,000 | 10,000 บาท… ขึ้นกับจำนวนแรงม้าของเครื่องจักร หรือคนงานที่เกี่ยวข้องในการผลิต จากนั้น… จะทำการส่งมอบใบอนุญาตให้แก่ผู้ประกอบการต่อไป โดยใบอนุญาตผลิตอาหาร สามารถ “ใช้ได้จนถึงวันที่ 31 ธันวาคมของปีที่ 3 นับตั้งแต่ออกใบอนุญาต” โดยผู้ประกอบการจะต้องแสดงใบอนุญาตผลิตอาหารไว้ในที่เปิดเผยที่สามารถมองเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ผลิตอาหารที่ระบุไว้ในใบอนุญาต และต้องติดป้ายแสดงสถานที่ผลิตไว้ภายนอกสถานที่ ซึ่งต้องเป็นที่เปิดเผยและสามารถมองเห็นง่ายเช่นกัน

4. ขออนุญาตผลิตภัณฑ์อาหาร เพื่อขอรับเลขสารบบอาหาร

แม้ผู้ประกอบการจะได้รับใบอนุญาตผลิตอาหารแล้ว แต่ก็ยังไม่สามารถดําเนินการผลิตเพื่อจําหน่ายได้ทันที เนื่องจากต้องมีการยื่นขออนุญาตเลขสารบบอาหารของผลิตภัณฑ์ก่อน โดยเลขสารบบอาหารของผลิตภัณฑ์ จะหมายถึงเลข 13 หลักในกรอบเครื่องหมาย อย. บนฉลากผลิตภัณฑ์อาหาร ซึ่งจะเป็นรหัสของข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ผลิตและผลิตภัณฑ์ ที่กำหนดขึ้นเพื่อให้ง่ายในการตรวจสอบย้อนกลับกรณีเกิดปัญหา

ทั้งนี้ ผู้ประกอบการจะต้องตรวจสอบว่าผลิตภัณฑ์ของตนจัดอยู่ในประเภทอาหารกลุ่มใด ซึ่งตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522 ได้มีการแบ่งอาหารเป็น 4 กลุ่มตามระดับความเสี่ยงที่จะมีผลต่อความปลอดภัยของผู้บริโภค ได้แก่ 

1.อาหารควบคุมเฉพาะ
2.อาหารที่กําหนดคุณภาพหรือมาตรฐาน
3.อาหารที่ต้องมีฉลาก
4.อาหารทั่วไป

หากผู้ประกอบการผลิตอาหารที่อยู่ใน 3 กลุ่มแรก จำเป็นต้องมีการยื่นขออนุญาตเลขสารบบอาหารของผลิตภัณฑ์ โดยอาหารควบคุมเฉพาะ ยื่นแบบ อ.17… อาหารที่กําหนดคุณภาพหรือมาตรฐาน ยื่นแบบ สบ.3 หรือ สบ.5… และอาหารที่ต้องมีฉลาก ยื่นแบบ สบ.3 หรือ สบ.5… แต่หากผู้ประกอบการผลิตอาหารทั่วไป สามารถดําเนินการผลิตได้ทันทีโดยไม่ต้องยื่นขออนุญาตเลขสารบบอาหารของผลิตภัณฑ์

4 ขั้นตอนเท่านี้… ถ้าเตรียมความพร้อมก่อนดำเนินการอย่างดี… เรื่องติดขัดล่าช้าแบบที่หลายๆ ท่านกังวลคงไม่มีปัญหาเท่าไหร่… ส่วนเทคนิควิธีการเช่นการจ้างนักกฏหมายเป็นตัวแทนยื่นเรื่อง หรือใช้ที่ปรึกษาธุรกิจที่เชี่ยงชาญดำเนินการแทนก็ได้ครับ… สุดท้ายคือ สอบถามโดยตรงที่ อย. หรือ สาธารณสุขจังหวัดเลยครับ

ขอบคุณข้อมูลจาก สมาคมผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย และ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

Share this post

Add Properea's Friend

เพิ่ม Properea.com เป็นเพื่อนทาง Line
ท่านจะได้ Link บทความใหม่ส่งตรงให้อย่างสม่ำเสมอโดยรบกวนแต่น้อย

Related Post

นนทบุรีสมาร์ทซิตี้…

จังหวัดนนทบุรีโดยท่านภานุ แย้มศรี ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี ร่วมกับสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) จัดหาโซลูชัน เพื่อนำมาแก้ไขปัญหาในพื้นที่ จ.นนทบุรี ไม่ว่าจะเป็น เรื่องนํ้าท่วม ขยะ ความปลอดภัย และการจราจร หรือ ข้อร้องเรียนต่าง ๆ ที่ DEPA มีโซลูชันเรื่องนี้รองรับไว้แล้ว เพื่อนำมาปรับใช้กับศูนย์ดำรงธรรมของจังหวัด ที่พบว่า มีการร้องเรียนเรื่องการควบคุมอาคารแต่ละปีจำนวนหลายเรื่อง หากมีข้อมูลหรือโปรแกรมพร้อมดำเนินการก็ไม่ต้องตั้งคณะกรรมการเข้าไปดำเนินการให้ล่าช้าอีกต่อไป

Modernform x Xiaomi Smart Living Room

Modernform x Xiaomi… Smart Furniture

การเคลื่อนไหวของ Modernform x Xiaomi ถือเป็นแนวทางของเสือปืนไวแพ็คคู่ในวงการเฟอร์นิเจอร์ ซึ่งถือว่ามาถูกจังหวะเวลาอย่างยิ่ง… ซึ่งการทำ Co-branding แบบนี้จะเห็นมากขึ้นและมีโอกาสเห็นการเปิดตัวร่วมกับฝั่งพัฒนาอสังหาริมทรัพย์และที่อยู่อาศัย ซึ่งข่าวในมือผมตอนนี้มีพูดคุยจับคู่และจับกลุ่มกันอย่างคึกคักทีเดียว

Google Data Analytics Professional Certificate โดย Google Career Certificate บน Coursera

คอร์สระดับประกาศนียบัตรบน Coursera ที่มีสถิติเข้าดูมากกว่า 2,000,000 View ดูเหมือนจะมีอยู่ไม่ถึงสิบเรื่อง และหนึ่งในนั้นก็คือคอร์สจาก Google ที่ให้เรียนฟรีพร้อมประกาศนียบัตรแบบ Shareable Certificate บน Coursera โดยมีเพียงเงื่อนไขเดียวคือเรียนและทำแบบทดสอบให้ผ่านเกณฑ์เท่านั้น ซึ่งผมกำลังพูดถึงคอร์ส Google Data Analytics Professional Certificate คอร์สนี้เป็นหนึ่งในกลุ่มคอร์ส Reskill/Upskill ในชุด Google Career

สถานการณ์ด้านที่อยู่อาศัยกรุงเทพฯ – ปริมณฑล ไตรมาส 4 ปี 2561…

ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ รายงานตัวเลขสถานการณ์ที่อยู่อาศัยไตรมาส 4 ปี 2561 และภาพรวมทั้งปี 2561 ดังนี้