มีข้อความถึงผมในไลน์ส่วนตัวครับ… อยากให้ผมเอาประเด็น FOMO และ JOMO มาเล่าขยายความให้เข้าใจอีกหน่อย… ขอที่เอาไปปรับใช้และออกแบบธุรกิจหรือแคมเปญโดนๆ ได้ยิ่งดี…
เรื่องเล่าตอนนี้เลยลัดคิวเข้ามาตามคำขอ… ก็ต้องขออภัยท่านที่โฟกัสแง่มุมทางอสังหาริมทรัพย์ด้วยครับ ที่พักหลังเลี้ยวออกไปแนวการตลาดและจิตวิทยาการตลาดไม่น้อยเลย… ที่จริงหลายท่านก็บอกว่าชอบและน่าสนใจกว่าอสังหาช่วงนี้ ที่วงการซึมจนเศร้าด้วยปัจจัยลบนานาที่ดูว่าจะแห้งแล้งข่าวดีเหลือเกิน
เอาหล่ะ… กลับเข้าเรื่องที่จั่วหัวไว้เรื่อง FOMO และ JOMO… ก่อนอื่นมาทบทวนกันหน่อย เผื่อท่านที่เพิ่งอ่านเจอสองคำนี้ใหม่… FOMO ย่อมาจาก Fear Of Missing Out แปลว่ากลัวที่จะพลาดอะไรไป… ส่วน JOMO ย่อมาจาก Joy Of Missing Out แปลว่าสำราญกับการหลุดออกมา… ซึ่ง พฤติกรรม FOMO และ JOMO จะใช้อธิบายพฤติกรรมบนสื่อออนไลน์ โดยเฉพาะโซเชี่ยลมีเดียที่เชื่อมเรากับคนอีกฟากหนึ่งผ่านหน้าจอโทรศัพท์มือถือในมือ
กลุ่ม FOMO จะติดมือถือ ติดโซเชี่ยล และพยายามที่จะเชื่อมต่อกับเครือข่ายสังคมออนไลน์ และข้อมูลในเครือข่ายสังคมออนไลน์… ในขณะที่คน JOMO จะเมินใส่ข้อมูลข่าวสารที่ไม่เกี่ยวกับตัวเอง… หลายคนใช้มือถือแต่ปิดการแจ้งเตือนทุกชนิด… และเลือกเสพสื่อสังคมออนไลน์แบบเฉพาะเจาะจง กับกลุ่มคนเฉพาะเจาะจง ในตารางเวลาเฉพาะเจาะจง เพื่อดึงชีวิตกลับมาให้สิ่งรอบตัวในโลกความจริงทั้งงาน คนและสิ่งแวดล้อม
แต่ในทางการตลาด… จะ JOMO หรือ FOMO ก็เป็น Target Audience เราได้หมด… และเป็นลูกค้าเราได้หมดเช่นกัน… แต่
การ HOOK คนทั้งสองกลุ่ม… จะแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงเพราะ… พฤติกรรมเสพสื่อของคนสองกลุ่มไม่เหมือนกันเลย… ที่สำคัญกว่านั้น ผมอยากเพิ่มรายละเอียดอีกเล็กน้อยเพื่อให้ทุกท่านเห็นภาพลึกขึ้นเกี่ยวกับพฤติกรรมการเสพสื่อด้วยกรอบ JOMO/FOMO
- ประเด็นแรก… JOMO เป็นพฤติกรรมส่วนใหญ่ของคน GenZ ที่ตอนนี้มีอายุระหว่าง 4-24 ปี ที่เกิดและเติบโตมากับโซเชียลมีเดีย แม้จะอยู่กับโซเชียลมีเดียตลอดเวลาแต่คนกลุ่มนี้ “จะเลือก” เนื้อหาหรือ Content เฉพาะเจาะจง และรู้สึก Joy ที่ได้แตกต่างและ Missing Out จากกระแสหลักในสังคมโดยเฉพาะสังคมออนไลน์ เช่น เขานิยมไปต่อคิวร้านดัง… JOMO GenZ ก็อาจจะขึ้นรถไฟไปถ่ายรูปเลียไอติมโคนที่ผาแต้มดีกว่า!!!
- ประเด็นที่สอง… JOMO กลุ่ม GenX, GenY และ Baby Boomer ที่ช่วงวัยเกิน 25 ปีในปัจจุบัน… ส่วนใหญ่จะ “JOMO เพราะเบื่อ” อะไรๆ ในสังคมออนไลน์ รวมทั้งไม่ได้ใช้ประโยชน์จากข้อมูลข่าวสารอะไร นอกจากรู้สึกว่าช่างไร้สาระ เสียเวลา หรืออาจจะถึงขั้นรู้สึกเครียดและสูญเสียบางสิ่งบางอย่างเมื่ออยู่ในโลกออนไลน์และโซเชี่ยลมีเดีย… คนกลุ่มนี้ส่วนหนึ่งจะปลีกตัวกลับมาสังคมรอบข้างมากขึ้น เปลี่ยนพฤติกรรมการใช้มือถือ เชคมือถือเป็นเวลา จัดระเบียบชีวิต และช่องทางการสื่อสาร ทั้งงานและส่วนตัวให้เป็นเวล่ำเวลามากขึ้น… ถูกด่าว่าไม่เปิดไลน์อ่านก็ไม่แคร์… ข้อมูลระยะหลังๆ จะได้ยินคนวัยทำงานพูดถึง… ร้านอาหารที่ต้องฝากมือถือก่อนเข้าร้าน… วัดไม่มีสัญญาณมือถือ… รวมทั้งคอร์สพัฒนาบุคลิกภาพต่างๆ ที่เริ่มมีเรื่องบำบัดหรือแนะแนวการบริหารจัดการชีวิตที่ต้องเชื่อมต่อและออนไลน์… มากขึ้นเช่นกัน
- ประเด็นที่สาม… FOMO แม้จะเป็นกลุมที่ดิ้นรนเข้าหากระแสส่วนใหญ่ โดยเฉพาะกระแสหลักด้วยกลัวตามโลกไม่ทันบ้าง… กลัวจะรู้ไม่ทันเพื่อนหรือคนอื่นบ้าง… กลัวตกกระแส กลัวไม่อัพเดทและอีกมากมายความกลัวที่ “ต้องมี ต้องรู้และต้องทัน”… กลุ่ม FOMO กลับเป็นกลุ่มที่ต้องการการเรียนรู้มากกว่ากลุ่มไหนๆ ทั้งเรียนเพื่อตามให้ทันและเรียนเพื่อปรับตัวให้ได้ โดยเฉพาะพฤติกรรมการเสพสื่อออนไลน์และสื่อสังคมออนไลน์… และไม่ได้แปลว่าคนกลุ่มนี้จะไม่มีความสุข เพราะการกระหายที่ต้องมี ต้องรู้และต้องทันคนอื่น ทำให้คนกลุ่มนี้รู้สึกท้าทายและเจอ Micro-success ถี่มาก แม้จะต้องแลกกับการอัพเดทถี่ยิบ ก็ไม่ได้สร้างปัญหาใดๆ ให้พวกเขา… คน FOMO จึงเป็นคนส่วนใหญ่ที่ “ติดโซเชี่ยล” เพราะเจอความท้าทายที่น่าหลงไหลอยู่ในสังคมที่ต้องตามให้ทัน… ที่สำคัญกว่านั้น FOMO บางส่วนสามารถใช้โซเชี่ยลและกระแสที่ต้องมี ต้องรู้และต้องทันนี่แหละ… ทำมาหากินไปเลยก็มี… ส่วนคนที่หา Micro-success ไม่เจอในอินเตอร์เน็ต ก็จะกลายเป็นกลุ่มเริ่มถอยออกจากอินเตอร์เน็ตและสื่อสังคมออนไลน์ไปเป็นกลุ่ม WOMO หรือ Will Of Missing Out และถอยไปเป็น JOMO ในที่สุด
- ประเด็นที่สี่… FOMO ไม่ใช่ปลายทางอีกฟากของ JOMO ครับ… แต่ยังมีวรรณะหรือขั้น MOMO หรือ Mystery Of Missing Out ที่ไหลหลื่นเข้าใกล้แกนของกระแสสังคมและโซเชี่ยลมีเดีย… ซึ่งส่วนใหญ่คน MOMO จะเริ่มหาผลประโยชน์จากกระแสที่ตนเองเต็มใจเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของระบบนิเวศน์นั้น
- ประเด็นสุดท้าย… NOMO หรือ NMMO หรือ No More Missing Out อีกกลุ่มหนึ่งที่ถือเป็นกูรูหรือศูนย์กลางของกระแสระดับผู้สร้างกระแสหรือผู้สร้างสมดุลย์ให้กระแสต่างๆ… กลุ่ม NOMO ส่วนใหญ่จะเป็นที่รู้จักในนาม Influencer นั่นเองครับ… ซึ่งกลุ่ม NOMO มาไกลเกินกว่าจะกลัวอะไรๆ อีกแล้ว โดยเฉพาะในโซเชี่ยลมีเดีย รวมทั้งสื่อช่องทางใดๆ เพราะพวกเขาเป็นดาวฤกษ์ที่สร้างแรงดึงดูดในโซเชี่ยลมีเดียไปแล้วกว่าได้
ที่นี้ก็มาถึงคำถามสำคัญ… พฤติกรรมทางสังคมตามกรอบ JOMO/FOMO เหมือนหรือแตกต่างกับพฤติกรรมทางสังคมตามกรอบทฤษฎีบุคคลิกภาพที่แบ่งคนตามบุคคลิก Introvert/Extrovert หรือไม่อย่างไร?… เท่าที่ผมมีข้อมูลที่ได้จากการอ่าน และพูดคุยกับหลายท่านที่มีดีกรีทางจิตวิทยาบอกว่า… เป็นคนละส่วนกันแต่ก็มีมิติเชิงพฤติกรรมที่เชื่อมโยงกันได้ระดับหนึ่ง แต่… ยังไม่มีการค้นคว้าหาข้อมูลและหลักฐานเชิงประจักษ์ที่ชัดแจ้งใดๆ มาอธิบายความสัมพันธ์ของสองทฤษฎีนี้… ซึ่งกรอบ FOMO/JOMO ถือว่าใหม่มาก การหาหลักฐานอ้างอิงเชิงวิชาการใดผมจึงจนปัญญาจะค้นคว้าเจอได้ในตอนนี้… ผู้อ่านท่านใดพอมีข้อมูลและคำแนะนำใดๆ ผมก็ยินดีน้อมรับทุกคำชี้แนะครับ
แต่ไม่ว่าจะอย่างไร… การเข้าใจกลไกทางจิตสังคมที่มีต่อพฤติกรรมบนสื่อสังคมออนไลน์หรือโซเชี่ยลมีเดียและอินเตอร์เน็ต… ผมเชื่อว่าจะเป็นประโยชน์ในการออกแบบธุรกิจที่ต้องพึ่งพากลไลการ HOOK เข้าหากลุ่มเป้าหมายได้ดีขึ้น แม่นยำขึ้น… รวมทั้งวางตัวเองและธุรกิจของตัวเองไว้ในที่ๆ ใช่กว่า… ได้ดีกว่า
…ผมเชื่อแบบนั้นจริงๆ