Follow Your Bliss – Joseph Campbell

Joseph Campbell

ถ้าใครสักคนตัดสินใจทำงานหนัก หรือ ทำงานมากกว่าวันละ 15 ชั่วโมงติดต่อกันหลายสัปดาห์ หรือหลายเดือน หรือเกินกว่านั้น โดยหวังว่าจะสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงต่ออนาคตครั้งสำคัญให้ได้… คนๆ นั้นคงต้องใช้พลังหลายอย่างหนุนนำและหนุนทำกิจวัตรอัน “เกินคนปกติจะยอมทำ” นั้น ซึ่งก็คงต้องใช้ทั้งพลังกายและพลังใจ บวกกับทรัพยากรหลายอย่างเกินธรรมดาไปไม่น้อย จึงจะทำให้คนๆ หนึ่ง “มีอะไรให้ต้องทำ” ไม่หยุดไม่หย่อน

ผมกำลังพูดถึงวินัย และ ความเพียรที่ด้านหนึ่งเป็นเรื่องผลงาน หรือ Productivity ซึ่ง “คนมุมานะ” ส่วนใหญ่มักจะอยู่กับ “ความปิติล้นพ้น หรือ Bliss” จากผลงานหรือความก้าวหน้าที่ได้เฝ้ามอง ได้สัมผัสและได้เป็นเจ้าของความสำเร็จในแต่ละขั้นแต่ละตอน โดยมีพลังของความเพียรเชื่อมโยงจุดหนึ่งเข้าหาอีกจุดหนึ่ง เพื่อให้กลายเป็นภาพสวยงามที่เหนี่ยวนำจิตวิญญาณของคนผู้นั้น

แต่ความเพียรก็มีราคาที่ต้องจ่าย… ถึงแม้คำใหญ่ๆ อย่างความเพียร หรือ วินัยส่วนตนอันยอดเยี่ยมจะฟังดูเป็นคุณ หรือ เป็นบวกกับคนที่มีมัน แต่ข้อเท็จจริงที่ว่า… เพียรมากก็ใช้เวลาไปมาก ซึ่ง “เวลา” ถือเป็นทรัพยากรที่ใช้กับอะไรไปก็จะหมดเปลืองไปกับสิ่งนั้น โดยไม่มีทางจะนำเวลาช่วงเดียวกันนั้นไปใช้กับอะไรอื่นได้อีก… และที่แย่กว่านั้นคือ การต้องเพียรและใช้เวลาหมดเปลืองไปกับการทำงานหนักพร้อมความรู้สึก “ทุกข์ทนหม่นไหม้ หรือ Misery” โดยไม่เห็นทางจะเปลี่ยนแปลงอะไรได้… ซึ่งข้อเท็จจริงที่ว่า คนทำงานหนักส่วนใหญ่ไม่เคยรู้สึกถึงขั้น Bliss ได้หรอก… หลายกรณีแค่ให้ถึงขั้น Happy ก็ยังถือว่ามากเกินไปที่จะหวังด้วยซ้ำ

สถิติการฆ่าตัวตายของคนวัยทำงานในญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ ที่ผู้คนจากสองชาตินี้ได้ชื่อว่ามีวินัยสูงและสู้งานหนัก ที่แปลว่า… พวกเขาใช้เวลาส่วนใหญ่ของชีวิตไปกับกิจวัตรเพื่ออุดมคติบางอย่างที่เติบโตมาพร้อมกัน… 

ข่าวใหญ่ที่สุดข่าวหนึ่งจากญี่ปุ่นช่วงปลายปี 2020 ที่ผมบันทึกไว้ในรายการเอกสารอ้างอิงส่วนตัวก็คือ สถิติการฆ่าตัวตายของชาวญี่ปุ่นในปี 2020 ที่มากกว่า 17,000 คน และทำให้ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีอัตราการฆ่าตัวตายสูงถึง 16 คนต่อประชากร 100,000 คน ทั้งที่เป็นประเทศร่ำรวยในกลุ่ม G7 มายาวนาน… ซึ่งแนวโน้มของสังคมที่คนส่วนใหญ่ทำงานหนัก พร้อมความรู้สึกทุกข์ทนหม่นไหม้ จนกลายเป็นโซ่ปัญหาต่อเนื่องกินลึกเข้าไปในโครงสร้างสังคมและครอบครัว เมื่อถูกซ้ำเติมด้วยวิกฤตโควิดที่กระทบงานและรายได้… กดดันปัญหาเศรษฐกิจที่คนสละเวลาส่วนใหญ่ทำงานหนัก ก็ด้วยเหตุผลทางเศรษฐกิจกันทั้งนั้นก็ว่าได้

คำถามคือ… ความสุขนั้นหายากจริงหรือ?

นานมาแล้วที่ผมเจอคำว่า Bliss หรือ ความปิติล้นพ้น หรือ ภาวะปลื้มปลิ่ม อยู่ในงานเขียนของ Joseph Campbell… ซึ่งผมไม่เคยเข้าใจ หรือ อ่านงานของ Joseph Campbell จบบทเลยสักเรื่อง ถึงแม้ว่าบันทึกส่วนตัวของผมจะมีคำคม หรือ Quote หลายท่อนจาก Joseph Campbell บันทึกไว้… โดยเฉพาะบทที่ว่าด้วยความรู้สึกทุกข์สุข ที่ปราชญ์และนักวิชาการด้านจิตวิญญาณได้ยกย่อง Joseph Campbell ใกล้เคียงหรือเท่า Karl Gustav Jung หรือ Karl Jung นักจิตบำบัดและจิตแพทย์ชาวสวิส ผู้สถาปนาวิทยาการจิตวิเคราะห์ ที่นักจิตวิทยาทั่วโลกต้องศึกษาทฤษฎีและผลงานของ Karl Jung กันหมด

หนังสือชื่อ Pathways to Bliss: Mythology and Personal Transformation เป็นเล่มที่ผมพยายามอ่านหลายรอบ และสุดท้ายน่าจะหายไปกับกองหนังสือเก่าขายทิ้ง โดยอ่านไม่ถึงไหนอย่างที่เรียนไว้… แต่ก็พอบอกได้ว่า ภาพรวมของแนวคิดใน Pathways to Bliss ช่วยบอกเราให้ค้นหา สิ่งที่จะสร้างความปิติล้นพ้น หรือ Bliss ซึ่งส่วนใหญ่จะถูกปิดทับอยู่ในเงามืด หรือ Shadow ของทุกคน ซึ่ง Joseph Campbell หมายถึงจิตวิญญาณที่เป็นพื้นฐานชีวิตจิตใจ ซึ่งถูกสังคมและสิ่งแวดล้อมที่เติบโตมา ขัดเกลา เปลี่ยนแปลง ขีดเส้นและกำหนดทาง จนไม่เหลือเวลาให้กับจิตวิญญาณของตนเอง อันเป็นพื้นฐานความสุขที่แท้ ซึ่งถูกทิ้งไว้ในเงามืดให้บดบังและมีเพียงกิจวัตรที่ต้องใส่เพียรและพยายามดึงดูดเวลาไปใช้จนหมด และจิตวิญญาณของหลายคนถูกลืมทิ้งไว้พร้อมความกลัวที่จะตามหา… กลัวที่จะต้องต่อสู้เพื่อโอบอุ้มกลับคืน

คำแนะนำสำหรับคนที่… ทำอะไรอยู่ก็ตามแล้วรู้สึกทุกข์ทนหม่นไหม้ หรือ Misery ในแนวทางของ Joseph Campbell จึงมีว่า… จงตามหาความปิติล้นพ้น หรือ Bliss ที่ติดอยู่ในเงามืดกับจิตวิญญาณของตัวเองให้พบ และกล้าหาญที่จะเปิดรับจินตนาการ หรือภาพฝัน ที่อาจจะอยู่อีกคนละฝากกับความเพียรพยายามหรือภาระหน้าที่ ซึ่งแท้จริงแล้วเป้าหมายที่ต้องเพียรทำนั้น… ก็ไม่ได้หายไปไหนแม้ต้องวางบ้าง และถ้าโชคดี… ก็อาจจะมีทางไปถึงเป้าหมายอันหนักหน่วงทุกข์ทนที่ต้องสร้างทำนั้น… จากอีกหลายๆ ประตูที่ซ่อนอยู่ในเงามืดก็ได้… โดยเฉพาะทางที่มีความสุขอยู่ด้วย

Follow your bliss and the universe will open doors for you where there were only walls. ตามรอยความปิติล้นพ้นนั่นไป แม้รอบกายจะมีแต่กำแพงรายรอบ แต่จักรวาลจะมอบทางออกมากมายให้เอง

References…

Share this post

Add Properea's Friend

เพิ่ม Properea.com เป็นเพื่อนทาง Line
ท่านจะได้ Link บทความใหม่ส่งตรงให้อย่างสม่ำเสมอโดยรบกวนแต่น้อย

Related Post

The Boring Company Loop System

เดอะบอร์ริ่งคอมปานีเป็นอีกหนึ่ง Tech Startup สุดยอดวิศวกรและนักประดิษฐ์หัวกบฏนาม Elon Musk ที่นำเอาแนวคิดเรื่องการขนส่งทางอุโมงค์มาใช้กับรถยนต์และการจัดการจราจร

laotian cryptocurrency

ใบอนุญาตแพลตฟอร์มซื้อขายคริปโตโดยธนาคารแห่ง ส.ป.ป. ลาว

ลาวได้ประเดิมศักราชใหม่ด้วยการปล่อยใบอนุญาตให้เปิดกระดานซื้อขายคริปโตอย่างถูกกฎหมายเป็นครั้งแรกในประเทศ โดยมี LDX หรือ Lao Digital Assets Exchange ซึ่งเป็นการร่วมทุนกันระหว่างเครือ AIF กับกลุ่มพงซับทะวี… และ Bitqik ของกลุ่มทุนสีเมืองกรุ๊ป… ได้ประเดิมใบอนุญาตสองใบแรกของลาว และ มีความเคลื่อนไหวของกระดานเทรดทั้งสองว่า… จะพร้อมให้บริการเต็มรูปแบบภายในเดือนเมษายนนี้

Self Service

Self Services Design… หลักการออกแบบงานบริการด้วยตัวเอง

ทุกอย่างเริ่มที่ Customer Insight ทั้งหมด… ยิ่งเป็นการออกแบบบริการที่ให้ลูกค้าดูแลตัวเองยิ่งต้องเข้าใจลูกค้าถึงขั้น “คิดได้ก่อนที่ลูกค้าจะคิด” และสิ่งสำคัญที่ต้องเข้าใจก่อนก็คือ งานบริการที่เราจะเอาออกจากมือพนักงาน ไปสู่มือลูกค้าต้องไม่สร้างภาระเพิ่มเติมให้ลูกค้า ซึ่งจะดีกว่ามากถ้าลูกค้ารู้สึกสะดวกสบายกว่าเดิม หรืออย่างน้อยก็รู้สึกเป็นส่วนตัวกว่าเดิม นอกจากนั้น “ต้องเข้าใจ ความเข้าใจของลูกค้า” โดยการทำความรู้จักผ่านมุมมองของลูกค้า

ผังเมือง EEC… ผังเมืองที่หยุดความคัดแย้งเรื่องผังเมืองระหว่างชุมชนชาวแปดริ้วกับกรมโยธาธิการทุกผัง… แต่!!!

เมื่อช่วงสิงหาคมที่ผ่านมา ผมเจอคำโปรยจากบทความในเวบไซด์ nisitjournal.press ซึ่งเป็นสื่อฝึกปฏิบัติของนิสิตสาขาวิชาเอกและโทวารสารสนเทศ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดย SIRAROM TECHASRIAMORNRAT เผยแพร่วันที่ 5 สิงหาคม 2018 โดยพาดหัวหรือ Title ว่า “ผังเมืองแปดริ้ว เมื่อฝันทลายใต้มือ คสช” ผมบุ๊คมาร์คเอาไว้ ทั้งที่ตอนนั้นโปรเจค properea ยังอยู่ระหว่างวางแผน และกะว่า ผมอาจจะใช้ข้อมูลนี้ทำบทความปฐมฤกษ์