Float Protocol… Non-Dollar Stablecoin

Float Protocol

Float Protocol เป็น DeFi Project ที่สร้างบนแนวคิด Stablecoin ในแพลตฟอร์มโดยตรงเพื่อเป็น Currency หรือ สกุลเงินตราที่ใช้กลไกตระกร้าเงิน หรือ Basket หรือ ​​Basket Assets ที่ใช้คริปโตสกุลหลักอย่าง Ethereum หรือ Bitcoin กำหนดมูลค่าคู่กับกลไกสร้างสมดุลราคาด้วย Dutch Auctions Smart Contract ซึ่งสมาชิกที่ถือครองเหรียญ Governance สามารถเข้าร่วมการสร้างเสถียรภาพของราคาเหรียญผ่านกลไกแบบประมูลอุปสงค์อุปทานในระบบได้โดยตรง

Float Protocol จึงเป็น Stablecoin รายแรกที่เก็บมูลค่าได้ไม่ต่างจากสกุลเงินตรามาตรฐาน ที่ไม่ต้องออกโทเคนไปเทียบค่ากับ Fiat Money อย่างดอลลาร์สหรัฐ หรือ สกุลเงินของชาติไหนๆ ในโลกเหมือนที่ USDT และ USDC ทำ ซึ่งคุณค่าของ USDT และ USDC จะไม่มีทางเหนือกว่า USD หรือ สกุลเงินหลักที่ฝากค่าไว้ ไม่ต่างจากคูปองศูนย์อาหาร ที่ยังไๆ ก็ไม่มีวันเทียบเท่าธนบัตรที่ใช้ชำระหนี้ได้ตามกฏหมาย และ การจัดการอัตราแลกเปลี่ยนและมูลค่าที่แท้จริงยังขึ้นอยู่กับกลไกเสถียรภาพค่าเงินดอลลาร์สหรัฐล้วนๆ

Float Protocol ออกเหรียญดิจิทัลสองชนิดใช้งานบนแพลตฟอร์มคือ BANK Coin สำหรับเป็น Governance Token และใช้เป็น Platform Utility โดยมี FLOAT Coin เป็น Stablecoin ที่สามารถใช้จ่ายแทนเงินสด และ คริปโตได้ทั้งหมดผ่าน Wallet ที่รองรับโทเคน ERC-20 อย่าง MetaMask หรือ CoinBase Wallet

อย่างไรก็ตาม มาตรฐานการกำหนดค่าเงิน FLOAT ในทางเทคนิคที่ประกาศไว้บน Litepaper ของแพลตฟอร์มระบุว่า ค่าเงิน FLOAT เป็นแบบลอยตัวที่ใช้ Dutch Auctions หรือ การประมูลแบบดัตช์ ด้วย Smart Contract เข้ามาจัดการความผันผวน แต่ก็ยังปล่อยให้ค่าเงินในตระกล้าลอยตัวเปลี่ยนแปลงมูลค่าแบบของ FLOAT Stablecoin ไปตามธรรมชาติในระยะยาว… กลไกทั้งหมดจึงรับประกันความผันผวนในระยะสั้น และ การเก็งกำไรได้เท่านั้น ซึ่งก็ไม่ได้ต่างจากค่าเงิน Fiat ของทุกสกุลเงินทั่วโลกในปัจจุบัน

โดยส่วนตัวผมสนใจอัลกอริทึม หรือ Algorithm การประมูลแบบด้ตช์ หรือ Dutch Auctions ซึ่งจะตรงกันข้ามกับการประมูลแบบอังกฤษที่เริ่มประมูลจากราคาน้อยไปหาราคาสูงสุด… ในขณะที่ Dutch Auctions จะเปิดราคาสูงสุดและประมูลลดราคาลง… หรือเป็นการประมูลแบบต่อราคาเสนอซื้อโดยผู้ซื้อนั่นเอง ซึ่งก็มีข้อดีข้อเสียคนละแบบกับการประมูลแบบอังกฤษที่คนส่วนใหญ่คุ้นเคย แต่ที่การประมูลแบบดัตช์โดดเด่นที่สุดก็คือ แม้มีคนประมูลเพียงคนเดียวก็ทำได้โดยไม่ต้องแข่งขันราคา

เมื่อนำมาปรับใช้กับการถ่วงตระกร้าค่าเงินที่ถูกตรึงค่าไว้สำหรับช่วงเวลาหนึ่ง โดยมีกลไกธรรมาภิบาลแบบ Decentralized จัดการตามกติกาบน Smart Contract… ก็จะทำให้ FLOAT Stablecoin มีกลไกไม่ต่างจากการประชุมกำหนดทิศทางค่าเงินผ่านอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางประเทศต่างๆ นั่นเอง

Float Protocol เป็นแพลตฟอร์มใหม่ที่มีบริการ Staking และ Farming พร้อมบริการ DEX บนแพลตฟอร์มไม่ต่างจากแพลตฟอร์ม DeFi ทั่วไป เพียงแต่แนวคิดเรื่อง FLOAT Stablecoin ที่จะใช้ในแพลตฟอร์มเท่านั้นที่แตกต่างจากแพลตฟอร์มอื่น และ ยังต้องใช้เวลาอีกพอสมควรในการพิสูจน์โมเดลธุรกิจของพวกเขา

คำเตือน… บทความนี้ไม่ได้เขียนขึ้นเพื่อชี้ชวนการลงทุน และ ผู้เขียนไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องและไม่ได้มีส่วนได้ส่วนเสียใดๆ กับแพลตฟอร์ม Float Protocol… บทความนี้เป็นเพียงการให้ข้อมูลทั่วไปเท่านั้น… การลงทุนที่มีความเสี่ยงทุกกรณีถือเป็นวิจารณญาณ และ การตัดสินใจของนักลงทุน

References…

Share this post

Add Properea's Friend

เพิ่ม Properea.com เป็นเพื่อนทาง Line
ท่านจะได้ Link บทความใหม่ส่งตรงให้อย่างสม่ำเสมอโดยรบกวนแต่น้อย

Related Post

SolarRoof

SCG Solar Roof Solution

แดดร้อนๆ อยู่บ้านเปิดแอร์ก็พอไหว แต่พอถึงตอนรับบิลค่าไฟก็เหงื่อตกอยู่ดี ทำให้นึกถึงโซลาร์เซลล์เพื่อแปลงแดดแรงๆ มาเป็นไอเย็นเครื่องปรับอากาศในบ้าน ที่เย็นแล้วเหงื่อไม่ตกตอนบิลค่าไฟมาถึง

BioMass

โรงไฟฟ้าชุมชน… ความคืบหน้าการประมูล และ ระบบนิเวศน์เพื่อเศรษฐกิจชุมชน

ประเด็นเกษตรกร และ ผลผลิตทางการเกษตรเพื่อป้อนโรงไฟฟ้า และ การได้เป็นเจ้าของโรงไฟฟ้าของชุมชน ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีความเคลื่อนไหวหลายอย่างตอบรับโครงการโรงไฟฟ้าชุมชนอย่างน่าสนใจ… โดยเฉพาะการจัดทำแนวทางสร้างความมั่นคงอย่างยั่งยืนให้แก่เกษตรกรด้วยโรงไฟฟ้าชีวมวล… ซึ่งมีกรอบการหารือแนวทางการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรปลูกไม้เศรษฐกิจ ประเภทไม้โตเร็ว เพื่อเป็นวัตถุดิบสำหรับโรงไฟฟ้าชีวมวล

กรมที่ดิน โฉนดที่ดิน

บอกดิน 2… กรมที่ดินในยุคดิจิทัล

ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564… กรมที่ดินได้เปิดโครงการ “บอกดิน 2” เพื่อให้ประชาชนแจ้งข้อมูลและตำแหน่งที่ตั้งที่ดินของตนเองได้ง่ายๆ เพียงใช้สมาร์ทโฟนที่เชื่อมต่อระบบอินเทอร์เน็ต สามารถแจ้งข้อมูลได้ตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงมิถุนายน 2564 ผ่าน 4 ช่องทางทั้งระบบออนไลน์และออฟไลน์