ร้านอาหารมีชื่อในเชียงใหม่หลายร้าน เติบโตและมีชื่อเสียงมาจากการปลูกผักเอง สำหรับเมนูหลักๆ ของร้าน… กรณีร้านอาหารสวนผัก ใกล้เซ็นทรัลแอร์พอร์ตพลาซ่าก็ดี หรือกรณีร้านโอ้กะจู๋ก็ดี… เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนของธุรกิจอาหารและเกษตรอาหาร ที่พิสูจน์แล้วว่าประสบความสำเร็จอย่างยอดเยี่ยม
ร้านอาหารที่มีสวนผักของตัวเอง ต้องการความพร้อมหลายอย่าง… โครงสร้างทางธุรกิจจะทั้งใหญ่และซับซ้อน จนรายเล็กรายย่อยและร้านอาหารกลางเมืองใหญ่ คงยากที่จะวิ่งไปรดน้ำผักและทำกับข้าวขายไปพร้อมกัน
ประเด็นก็คือ ระบบนิเวศน์ผักสำหรับคนกินและปลูกเพื่อขายให้คนกิน… แต่คนปลูกและคนกินอยู่กันคนละขั้วของระบบนิเวศนี้… โดยมีพ่อค้าคนกลางคั่นอยู่
ประเทศไทยเป็นประเทศที่พ่อค้าคนกลางทรงอิทธิพลมากในระบบนิเวศน์การค้าการลงทุนมานาน… ซึ่งก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ที่เราจะต้องพึ่งพาพ่อค้าคนกลาง… ในขณะที่การเป็นพ่อค้าคนกลางแทบไม่มีข้อเสีย เพราะความเสี่ยงหลักๆ ไม่เคยอยู่ในความรับผิดชอบของพ่อค้าคนกลาง
กลับมาเรื่องการเพาะปลูก เกษตรกร ร้านอาหารและคนกิน… โดยห่วงโซ่นี้สามารถตัดพ่อค้าคนกลางออกไปได้ ตัวเกษตรกรเองจะเห็นและเจอผู้บริโภคตัวจริง ที่ใช้และกินผลผลิตจากหยาดเหงื่อของตัวเอง… และผู้บริโภคเองก็ได้เห็นที่มาที่ไปของผลผลิตที่ตัวเองกินเข้าไป
ผมกำลังพูดถึงเกษตรพันธสัญญา แบบที่เกษตรกรรับออเดอร์ตรงจากลูกค้าหรือผู้บริโภค ก่อนจะลงแรงผลิตเกษตรอาหารส่งมอบในภายหลังที่รู้จักดีกันในชื่อ Contact Farming และ On Demand Farming

แต่ด้วยข้อเท็จจริงที่เจ็บปวด… Contact Farming ในประเทศไทยเป็นเรื่องอ่อนไหว มีประเด็นปัญหาปลีกย่อยมากมายโยงใยเป็นห่วงโซ่ปัญหา ที่มีมิติครอบคลุมกว้างลึก… ทั้งเศรษฐกิจ สังคม การเมือง วัฒนธรรมและวิถีชีวิต ที่สามารถกลายเป็นประเด็นดราม่า สร้างปัญหาที่คาดไม่ถึงได้ตลอดเวลา
แต่!… ถ้าเรามองจากอีกฝั่ง นี่คือ Pain-Point หรือ Gap ที่มีช่องว่างขนาดมหึมา ที่โมเดลธุรกิจอาจจะกำลังตามหาอยู่ก็ได้… ผมกำลังพูดถึง Contact Farming ที่ End User กับเกษตรกรต่อตรงถึงกัน โดยขจัดตัวกลางและพ่อค้าคนกลางออกไปจากระบบนิเวศน์… และเติมช่องว่างด้วยเทคโนโลยี
เทคโนโลยีที่ผมพูดถึงคือเทคโนโลยี Smart Farming ที่ยอมให้คนเล่นเกมส์ผู้ซื้อ… ใส่เงินประมูลผลผลิตให้ฟาร์มที่ต้องการในราคาที่พอใจ… และเกษตรกรรับเงินมาเพาะปลูกเลี้ยงสัตว์แบบโปร่งใส และส่งมอบผลผลิตตามเงื่อนไข
แนวคิดนี้ไม่ใช่ของใหม่อะไร… แต่เป็นแนวคิดเดิมของเกษตรพันธสัญญาที่มีปัญหาหลายอย่าง ที่แม้ฝั่งผู้ซื้อยินดีจะจ่ายมัดจำตามเงื่อนไข… แต่บ่อยครั้งเกษตรกรเองก็ไม่สามารถส่งมอบผลผลิตได้ตามเงื่อนไข ทั้งจากเหตุปัจจัยเกินควบคุม อย่างภัยธรรมชาติหรือโรคระบาด… และเหตุปัจจัยเชิงจริยธรรมที่มุ่งทุจริตเงื่อนไขสัญญา จนนำมาซึ่งความหวาดระแวงและจบที่… ท่านเป็นเกษตรกร อยากปลูกอะไรขายก็ไปปลูกมาก่อนค่อยคุยกัน… แต่ด้วยเทคโนโลยีการเกษตรในศตวรรษที่ 21… ปัญหาสุดวิสัยหลายอย่างแก้ไขได้

ในอนาคตอันใกล้นี้ เทคโนโลยีแห่งความโปร่งใสอย่าง Blockchain กำลังได้รับการพิจารณาจาก AgTech Startup หลายทีม เพื่อสร้างระบบนิเวศน์แห่งความโปร่งใส ให้พืชผักและโปรตีนจากฟาร์ม ให้มี Footprints ที่เชื่อถือได้… ซึ่งแนวคิด Food Footprints ก็็เหมือนสมุดวัคซีนและสมุดกราฟพัฒนาการเด็กที่กรมอนามัยใช้กับทารกแรกเกิด… ของพืชผักก็บันทึกตั้งแต่หว่านเมล็ดหรือ Seeding ไปจนถึงเก็บเกี่ยว หรือ Harvest… โดยเฉพาะข้อมูล Carbon Footprints of Food ที่กำลังเป็นกระแสที่อุตสาหกรรมอาหารทั่วโลกให้ความสำคัญ… ในขณะเดียวกัน ฝั่งเกษตรกรเองก็ได้รับผลตอบแทนคุ้มค่าการลงทุนอย่างแท้จริงทั้งราคาผลผลิต และโอกาสอื่นๆ ที่จะตามมาอีกมาก


ผมกำลังจะบอกว่า… ภาคเกษตรกำลังเปลี่ยนแปลงหนักมากและกระทบรูปแบบการใช้ที่ดินเพื่อทำการเกษตรค่อนข้างชัด…
ประเด็นก็คือ… ณ วันที่ทุกอย่างชัดจนอะไรๆ เปลี่ยนไปเยอะแล้ว… การเปลี่ยนตอนนั้นอาจจะสายเกินไป!
รายละเอียดประเด็นต่างๆ ในกรณี Smart Farming, AgTech และ FoodTech มีรายละเอียดเฉพาะกรณีค่อนข้างเจาะจง… ท่านที่อยากพูดคุยแลกเปลี่ยนหรือชี้แนะติเตือนก็ยินดีเช่นเดิม… Line @properea ยินดีต้อนรับครับ!