ประเทศไทยถือเป็นประเทศต้นแบบแนวคิดเรื่องผักสวนครัวรั้วกินได้ ที่ FAO อันเป็นหน่วยงานด้านอาหารแห่งองค์การสหประชาชาติ พาคนจากทุกมุมโลกมาดูงาน หรือแม้แต่ใช้ประเทศไทยเป็นกรณีศึกษาเพื่อเป็นเรื่องเล่า ต่อยอดสร้างความมั่นคงทางอาหารให้สังคมโลกมากว่าครึ่งศตวรรษ
การปลูกผักหลังบ้านและริมรั้วไว้บริโภคภายในครอบครัว เป็นเรื่องสนุกๆ ที่คนมีบ้านบนดิน ทำกันเป็นส่วนใหญ่ในประเทศไทย บ้านผู้หลักผู้ใหญ่หลายท่านที่ผมรู้จักแถวพร้อมพงษ์ทองหล่อ มีกอตะไคร้และกระถางปลูกมะนาวเป็นส่วนหนึ่งของสวนสวย… ในขณะที่ครอบครัวเพื่อนผมแถวหนองบอน ไม่ได้ไกลจากซีคอนสแควร์นัก ก็มีแปลงผักใบอ่อนสำหรับเมนูสลัด กินกันในครอบครัวเหมือนกัน
ประเด็นก็คือ… การปลูกผักกินเองไม่ใช่เรื่องคุ้มค่าและง่ายสำหรับชีวิตประจำวันนัก… แต่กระแสอาหารปลอดภัยและสารพิษตกค้างจากภาคเกษตร ซึ่งถือเป็นกระแสระดับโลก ทำให้เกิดสตาร์ทอัพโฟกัสการพัฒนาเทคโนโลยีปลูกผักกินเองในบ้านเกิดขึ้นในนาม Farm.bot
Farm.bot เป็นแพลตฟอร์ม DIY โดยใช้เทคโนโลยี CNC หรือ Computer Numerical Control ซึ่งเป็นเทคโนโลยีการควบคุมแขนกลเชิงตัวเลขอ้างอิงแกน XYZ ที่มีการใช้อย่างกว้างขวางในวงการอุตสาหกรรม… แต่ Farm.bot นำมาประยุกต์ใช้ให้ทำงานในสวนตั้งแต่เตรียมดินหยอดเมล็ดรดน้ำใส่ปุ๋ย ซึ่งเป็นงานที่ต้องทำเป็นประจำ… โดยแขนกลที่ควบคุมด้วยเทคโนโลยี CNC จะเคลื่อนที่ไปบนรางพร้อมกับหัวจ่ายน้ำปุ๋ยและเครื่องมือจัดการแปลงผักตามโปรแกรมที่ตั้งไว้… หลังจากติดตั้งอุปกรณ์ตามคู่มือเสร็จเรียบร้อย งานที่เหลือจะเหมือนการเล่นเกมปลูกผักในคอมพิวเตอร์เท่านั้นเอง
ข้อดีของเทคโนโลยีนี้ก็คือต้นทุนราคาไม่แพง หากเทียบกับการใช้หุ่นยนต์ระดับ AI ขึ้นไป… รวมทั้งมี Software หรือ Source Code แบบ Opensource ให้ใช้ฟรีด้วย… นอกจากนั้น บรรดาอุปกรณ์ IoT แบบ DIY ทั้งหลาย ก็สามารถปรับใช้งานเพื่อระบบฟาร์มอัตโนมัติแบบนี้ได้หมด
จะว่าไปแล้วเทคโนโลยีแบบนี้ไม่ใช่ของใหม่ และคงมีพัฒนาการอีกมาก เพราะว่าโครงสร้างของระบบและแนวคิดยังเป็นแบบ DIY ที่เหมาะกับคนที่สนใจเรียนรู้และทดลองทำ พร้อมกับทักษะและความรู้พื้นฐานระดับหนึ่ง… แปลว่า ยังมีช่องว่างให้ต่อยอดได้อีกมากครับ

แต่แนวคิดสวนผักในบ้านเป็นงานของหุ่นยนต์ ถือว่าอยู่ในยุคเริ่มต้นที่ยังมีช่องว่างและโอกาสอีกเยอะมาก… ช่วงที่ผ่านมาผมมีโอกาสได้รับงานให้คำปรึกษา Startup สาย AgTech แนวนี้สองสามกลุ่ม เลยทำให้ผมมีข้อมูลเหลือใช้อยู่พอสมควรสำหรับแลกเปลี่ยนแบ่งปัน โดยไม่รุกล้ำแผนธุรกิจและโมเดลอื่นๆ ที่ผ่านมา… ทั้งช่องทางและช่องว่างมีอยู่ไม่น้อย… Add Line @properea ทักเข้าได้ครับ
อ้างอิง