ไทยพร้อมรับมือวิกฤตอาหารในสถานการณ์ COVID19

Agri-Food

ระหว่างวันที่ 3–4 กันยายน พ.ศ. 2563 ที่ผ่านมา… คุณเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทย เข้าร่วมการประชุมสมัชชา เอฟ เอ โอ ประจำภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก หรือ FAO Regional Conference for Asia and the Pacific สมัยที่ 35 ระดับรัฐมนตรี หรือ Ministerial Level Meeting ในรูปแบบออนไลน์ หรือ Virtual Meeting… ณ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

คุณเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้กล่าวถ้อยแถลงในวาระประเด็นที่ประเทศสมาชิกและภูมิภาคให้ความสำคัญ หรือ Prioritization of Country and Regional Needs ซึ่งประเทศไทยได้เน้นย้ำ 6 ประเด็นสำคัญ ได้แก่… 

1. ผลกระทบจากโรคCOVID-19 ต่อระบบอาหาร ตั้งแต่กระบวนการผลิตจนถึงการบริโภค
2. ความสำคัญของ “เทคโนโลยีดิจิทัล” ที่จะช่วยพัฒนาระบบอาหารและการเกษตร เพื่อให้ประชาชนอยู่ดีกินดี โดยประเทศไทยได้จัดตั้ง “ศูนย์เทคโนโลยีการเกษตรและนวัตกรรม” 77 จังหวัดทั่วประเทศ เพื่อเชื่อมโยงเกษตรกรและผู้ผลิตกับสถาบันการศึกษาและสถาบันวิจัย ในการพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมการเกษตร
3. “โครงการยังสมาร์ทฟาร์มเมอร์” เพื่อสนับสนุนเกษตรกรรุ่นใหม่
4. นโยบาย “Four Quick Win” เพื่อปฏิรูปภาคเกษตรใน 4 แผนงาน
5. สนับสนุนการพัฒนาการประมงอย่างยั่งยืนและมีความรับผิดชอบ และ
6. การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำและดิน ซึ่งเป็นหัวใจของการพัฒนาระบบอาหารและการเกษตรอย่างยั่งยืน

รวมทั้งได้เน้นย้ำถึงความพร้อมที่จะสนับสนุนความร่วมมือกับ FAO และประเทศสมาชิก ผ่านโครงการความร่วมมือ South-South Cooperation และ Hand-in-Hand Initiative เพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนร่วมกัน

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID19 ส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนทั่วโลก ถึงเวลาแล้วที่ทั่วโลกจะต้องปรับเปลี่ยนระบบอาหาร ตั้งแต่กระบวนการผลิตจนถึงการบริโภคอาหาร เพื่อสร้างความเชื่อมั่นว่า เกษตรกรและผู้ผลิตสามารถผลิตอาหารที่ปลอดภัย มีมาตรฐาน และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และประชาชนทุกคนสามารถเข้าถึงอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการได้ ซึ่งจะนำมาซึ่งความมั่นคงทางอาหารอย่างยั่งยืน

ประเทศไทยได้ตระหนักดีว่า เทคโนโลยีดิจิทัล เป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาระบบอาหารและการเกษตร เพื่อทำให้ประชาชนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี ประเทศไทยได้จัดตั้ง ศูนย์เทคโนโลยีการเกษตรและนวัตกรรม 77 จังหวัดทั่วประเทศ เพื่อเชื่อมโยงเกษตรกรและผู้ผลิต กับสถาบันการศึกษาและสถาบันวิจัย ในการพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมการเกษตรที่ตรงตามความต้องการของเกษตรกร เช่น การเกษตรแม่นยำ การทำฟาร์มอัจฉริยะสำหรับเกษตรกรรายย่อยและผู้ผลิตขนาดกลาง 

ในปัจจุบันภาคการเกษตรของไทยกำลังเผชิญกับปัญหาสังคมผู้สูงวัย เกษตรกรรุ่นใหม่จึงเป็นอนาคตของภาคเกษตร โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ดำเนิน โครงการยังสมาร์ทฟาร์มเมอร์ เพื่อสนับสนุนเกษตรกรรุ่นใหม่ และ SME ที่ต้องการทำการเกษตรในพื้นที่ โดยจัดการฝึกอบรมให้เกษตรกรรุ่นใหม่มีความรู้ในการดำเนินธุรกิจเกษตร นำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้วางแผนในการผลิตและการตลาด รวมทั้งน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และเกษตรทฤษฎีใหม่ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 มาผสมผสานเพื่อสร้างสมดุลระหว่างระบบเกษตรเชิงนิเวศและนวัตกรรม

นอกจากนี้ ยังได้เร่งดำเนิน นโยบาย “Four Quick Win” เพื่อปฏิรูปภาคเกษตรใน 4 แผนงานหลัก ได้แก่ 

1. การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตร เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในหมู่บ้านประมง และฟาร์มเกษตร)
2. การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ภาคเกษตร
3. การพัฒนาระบบ E-Commerce สำหรับสินค้าเกษตร และ
4. การพัฒนาศูนย์บริการข้อมูล Big Data ด้านการเกษตรแบบครบวงจร ประเทศไทยให้ความสำคัญกับการพัฒนาระบบข้อมูลการเกษตร ซึ่งจะช่วยทำให้เกษตรกรและผู้ผลิตสามารถตัดสินใจวางแผนการเพาะปลูก การผลิต และการตลาด ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เนื้อข่าวมีประมาณนี้ครับ… ประเด็นมีอยู่ว่า กระแสการพัฒนาเกษตรอาหารแปรรูป ด้วยเทคโนโลยีตั้งแต่ต้นน้ำทุกขั้นในห่วงโซ่ ซึ่งข้อมูลในมือผมช่วงนี้ ดูเหมือนว่าเงินงบประมาณมหาศาล จากหลากหลายหน่วยงาน ทั้งภาครัฐ และองค์กรมหาชนอิสระมากมาย เดินหน้าผลักดันเกษตรอัจฉริยะ และเทคโนโลยีอาหารกันอย่างคึกคัก… ท่านที่มีของกินได้ หรือแปรรูปแล้วกินได้อยู่ใกล้ตัว ให้ไวเลยครับ!!!

อ้างอิง

http://www.fao.org/asiapacific/conference/en/
http://www.fao.org/asiapacific/events/en/
https://kaset1009.com

Share this post

Add Properea's Friend

เพิ่ม Properea.com เป็นเพื่อนทาง Line
ท่านจะได้ Link บทความใหม่ส่งตรงให้อย่างสม่ำเสมอโดยรบกวนแต่น้อย

Related Post

SEZ

นับหนึ่งเขตเศรษฐกิจพิเศษทั่วประเทศ

นายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา สั่งเดินหน้าเร่งเครื่องนโยบายเขตเศรษฐกิจพิเศษ ทั่วประเทศทั้งเหนือใต้อีสานและตะวันตก โดยแก้กฎหมายขยายอำนาจ คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือบอร์ดอีอีซี คุมพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษทั่วประเทศ เร่งวางแผนและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานหวังเชื่อมโยงการพัฒนาสู่ภูมิภาค

survey and civil engineer

จัดรูปที่ดินใหม่ 44 จังหวัด…

การจัดรูปที่ดิน เพื่อพัฒนาพื้นที่จากเจ้าของที่ดินและภาครัฐช่วยกันพัฒนา วางโครงข่ายคมนาคมและขนส่งให้สมบูรณ์ เป็นภารกิจที่กรมโยธาธิการและผังเมืองดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อส่งเสริมการพัฒนาตามผังเมือง แก้ปัญหาผังเมืองอย่างเป็นระบบ เปิดพื้นที่ตาบอด ให้เข้าถึงได้ เพิ่มมูลค่าที่ดินให้ใช้ประโยชน์พื้นที่ได้ โดยเจ้าของที่ดินยังมีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ทำให้รัฐประหยัดค่าเวนคืนที่ดิน

Polkadot cryptocurrency token symbol

PolkaDOT… Web 3.0 Standard Blockchain

การพัฒนา EthCore ในระยะที่จะต้องสร้างมาตรฐาน Web 3.0 ไปพร้อมกันนั้น… Dr.Gavin และ Dr.Steiner ได้ร่วมกันก่อตั้งและผลักดัน Parity Technologies และ Web3 Foundation เพื่อเป็นศูนย์กลางมาตรฐานอินเตอร์เน็ตยุคถัดไป และแล้วพวกเขาก็ค้นพบปัญหาใหญ่ของโครงข่าย Blockchain มากมายที่ถือกำเนิดขึ้นหลังการเกิด Bitcoin ตั้งแต่ ปี 2009 นั่นคือ… Blockchain แต่ละเครือข่ายทำงานอยู่เป็นเอกเทศ ไม่มีการเชื่อมต่อกันไปจนถึงขั้นไม่สามารถเชื่อมต่อกันได้เลยก็มี…

มาตรฐาน มอก. เอส… มาตรฐานการบริการดัดแปลงรถยนต์และรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม… คุณสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจได้แถงถึง​ “มาตรฐาน มอก. เอส” โดยกระทรวงอุตสาหกรรม ได้เร่งรัดให้สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หรือ สมอ. เร่งจัดทำมาตรฐานยานยนต์ไฟฟ้าและมาตรฐานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องออกมาอย่างต่อเนื่อง… โดยล่าสุดได้ออกประกาศมาตรฐานอุตสาหกรรมเอส หรือ มอก.เอส ซึ่งเป็นมาตรฐานที่กำหนดขึ้นเพื่อให้การรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์และบริการของผู้ประกอบการ SMEs หรือ วิสาหกิจชุมชนที่ต้องการเครื่องหมายรับรองสินค้า หรือ บริการ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้บริโภค จำนวน 2 มาตรฐาน…