โครงสร้างภาษีสรรพสามิตรถยนต์ไฟฟ้า

EV Only

เมื่อช่วงต้นเดือนธันวาคมที่ผ่านมา กรมสรรพสามิตได้เชิญผู้ผลิตรถยนต์ มาหารือเกี่ยวกับการปฏิรูปโครงสร้างภาษีรถยนต์ เพื่อรองรับรถยนต์ไฟฟ้า หรือ EV ตามนโยบายของรัฐบาล ซึ่งเป็นไปตามกระบวนการพิจารณาโครงสร้างภาษีใหม่ ว่าจะจัดเก็บจากฐานใดสำหรับ EV… ซึ่งปัจจุบันโครงสร้างภาษีสรรพสามิตยึดตามปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือ CO2

คุณลวรณ แสงสนิท อธิบดีกรมสรรพสามิตอธิบายว่า… โครงสร้างภาษีรถยนต์ในปัจจุบัน กรมสรรพสามิตมีการลดอัตราภาษีสำหรับ EV เป็น 0% จากปกติจัดเก็บที่อัตร 2% สำหรับผู้ประกอบการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานส่งเสริมการลงทุน หรือ BOI จนถึงวันที่ 31 ธ.ค. 2563 ส่วนจะพิจารณายืดเวลาออกไปอีกหรือไม่นั้น ต้องมาพิจารณาก่อนว่าแนวทางส่งเสริมรถ EV ของประเทศไทยจะเดินไปอย่างไร

อย่างไรก็ตาม… กรมสรรพสามิตได้เชิญผู้ผลิตรถยนต์กว่า 20 รายเข้าหารือถึงการที่กรมสรรพสามิตกำลังจะเริ่มศึกษาปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตรถยนต์รอบใหม่ เนื่องจากโครงสร้างภาษีปัจจุบันที่ยังเป็นแพ็กเกจส่งเสริมรถยนต์ไฮบริด ที่เก็บภาษีตามปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ จะมีไปจนถึงปี 2568 ขณะที่รัฐบาลมีนโยบายจะส่งเสริมรถ EV

โครงสร้างภาษีสรรพสามิตรถยนต์ไฟฟ้า หรือ EV ในปัจจุบัน หากได้รับการส่งเสริมจาก BOI อัตราภาษีจะอยู่ที่ 0% เป็นเวลา 3 ปี คือ ช่วงปี 2563-2565 และจากนั้นในปี 2566-2568 ภาษีจะอยู่ที่ 2% แต่หากไม่ได้รับการส่งเสริมจาก BOI อัตราภาษีจะอยู่ที่ 8% ไปจนถึงสิ้นปี 2568

ฝั่งผู้ประกอบการ โดยคุณองอาจ พงศ์กิจวรสิน ประธานกลุ่มอุตสาหกรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยให้ความเห็นหลังร่วมหารือกับอธิบดีกรมสรรพสามิตถึงแนวทางการส่งเสริมอุตสาหกรรมยานยนต์ในด้านภาษีเพื่อสนับสนุและส่งเสริม EV ในประเทศไทย ในฐานะตัวแทนกลุ่มเสนอให้รัฐพิจารณาเพื่อขยายระยะเวลาสนับสนุนส่งเสริม EV ให้ได้รับสิทธิภาษี 0% จากเดิมจะสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2568 ออกไปอีก 2 ปี เป็น 31 ธันวาคม 2570 รวมทั้งภาษีสรรพสามิตรถยนต์ปลั๊ก-อิน ไฮบริดและไฮบริดด้วย

นอกจากนั้น คุณองอาจ พงศ์กิจวรสิน ยังวิพากษ์นโยบายส่งเสริมของรัฐในด้านภาษีและการแยกประเภทรถ ที่ไปนับรวมรถยนต์ไฮบริดมาอยู่ในกลุ่มรถยนต์แบตเตอรี่  ทั้งที่รถไฮบริดส่วนใหญ่จะใช้เครื่องยนต์เป็นหลัก ส่วนแบตเตอรี่เข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนน้อยมาก และทั่วโลกไม่ได้จัดให้รถไฮบริดอยู่ในประเภทยานยนต์ที่ใช้แบตเตอรี่ กรมสรรพสามิตจึงต้องทำนโยบายให้ชัดเจน ขณะที่ประเทศอื่นๆ มองรถยนต์ประเภทแบตเตอรี่ตั้งแต่รถยนต์ปลั๊ก-อิน ไฮบริดขึ้นไป

ประเด็นก็คือ… จากสถิติจำนวนรถยนต์ทั่วโลก 90 ล้านคันต่อปี ปัจจุบันมีรถยนต์ปลั๊ก-อิน ไฮบริดและอีวีเพียง 2 ล้านคัน และส่วนใหญ่เป็นยอดที่มาจากดีมานด์เทียมจากการสนับสนุนของภาครัฐในแต่ละประเทศ แต่ยังมีข้อจำกัดหลายด้าน อาทิ สถานีชาร์จ, ระยะเวลาการชาร์จ ฯลฯ เชื่อว่าความพร้อมของผู้บริโภคยังมองเรื่องความคุ้มค่าเป็นหลัก ภายในปี 2030 จะมีรถปลั๊ก-อิน ไฮบริด, ฟิวเซล และอีวี 20% จากจำนวนรถยนต์ทั่วโลกกว่า 1,000 ล้านคัน และปี 2050 จะเพิ่มขึ้นเป็น 50% ตลาดรถอีวีและปลั๊ก-อิน ไฮบริด ที่สำคัญต้องไม่ทำลายโปรดักต์แชมเปี้ยนอย่างรถปิกอัพและอีโคคาร์

ด้านคุณกฤษฎา อุตตโมทย์ นายกสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย เปิดเผยว่า ปัจจุบันมีรถยนต์เพียง 2 ยี่ห้อที่ผลิตและได้รับการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI ได้แก่ FOMM และ Takano แต่มีรถยนต์ไฟฟ้าจากจีนเข้ามาทำตลาดในไทย โดยใช้สิทธิประโยชน์ของเอฟทีเอภาษีเป็นศูนย์ อนาคตจะมีรถยนต์อีวีจากจีนเข้ามาทำตลาดอีกหลากหลายยี่ห้อ จึงต้องหาแนวทางปกป้องกลุ่มผู้ผลิตภายในประเทศให้รถยนต์ EV ของบริษัทเหล่านี้สามารถแข่งขันได้

ล่าสุด… เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2021 ที่ผ่านมา… คุณลวรณ แสงสนิท อธิบดีกรมสรรพสามิตมีข้อมูลเพิ่มเติมให้นักข่าวเล็กน้อยว่า… ขณะนี้กำลังศึกษาโครงสร้างภาษีรถยนต์ไฟฟ้าอยู่ โดยกรมสรรพสามิตจะพิจารณาทั้งตัวรถยนต์และแบตเตอรี่ที่นำมาใช้ เพื่อให้เอื้ออำนวยให้นักลงทุนเข้ามาผลิตในประเทศแทนที่จะนำเข้า ซึ่งปัจจุบันไทยมีฐานการผลิตรถยนต์ที่ใช้ระบบสันดาป หรือ เครื่องยนต์แบบลูกสูบ ทำให้มีทักษะในอุตสาหกรรมนี้ โดยถือเป็นจุดแข็งในการดึงดูดนักลงทุน แม้จะมีข่าวว่า ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าเทสล่า จะไปตั้งโรงงานผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศอินโดนีเซีย เนื่องจากอินโดนีเซียมีแร่ธาตุสำคัญในการผลิตแบตเตอรี่ก็ตาม

โดยอธิบดีกรมสรรพสามิตกล่าวเน้นๆ เป็นการส่งสัญญาณว่า… โครงสร้างภาษีรถยนต์ใหม่ ที่ต้องการสนับสนุนรถยนต์ไฟฟ้านั้น จะต้องเป็นโครงสร้างที่ไม่ขึ้นอยู่กับเทคโนโลยีใดเทคโนโลยีหนึ่ง แต่ต้องคำนึงถึงการใช้เทคโนโลยีที่เป็นพลังงานสะอาดมากกว่า… ซึ่งแปลไทยเป็นไทยว่า ไทยไม่ได้โฟกัสแต่เทคโนโลยี EV ซึ่งโครงสร้างภาษีใหม่ก็คงมีร่างครอบคลุมยานยนต์พลังงานสะอาดทุกสาย

References…

Share this post

Add Properea's Friend

เพิ่ม Properea.com เป็นเพื่อนทาง Line
ท่านจะได้ Link บทความใหม่ส่งตรงให้อย่างสม่ำเสมอโดยรบกวนแต่น้อย

Related Post

UDON 2029… อุดรในทศวรรษหน้า

พ.ท. วรายุส์ ตรีวัฒนสุวรรณ ประธานกรรมการ บริษัท อุดรธานีพัฒนาเมือง จำกัด เปิดเผยว่า ผลการหารือกับคณะนักวิจัย “โครงการพัฒนากลไกการพัฒนาเชิงพื้นที่เพื่อออกแบบเมืองอย่างชาญฉลาดเพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคม” สมาคมการผังเมืองไทย ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ผู้อำนวยการสำนักการช่าง เทศบาลนครอุดรธานี เลขาธิการหอการค้าจังหวัดอุดรธานี เลขานุการสมาคมธุรกิจท่องเที่ยวอุดรธานี ผู้แทนผู้ค้าปลีกพื้นที่ถนนประจักษ์ศิลปาคมและถนนทองใหญ่ พร้อมด้วยผู้นำชุมชน 3 แห่งรอบสี่แยกทองใหญ่และสถานีรถไฟอุดรธานี เห็นควรเร่งรัดการออกแบบปรับปรุงระบบกายภาพพื้นที่สองข้างทางถนนประจักษ์ศิลปาคม ช่วงสี่แยกทองใหญ่ (สี่แยกชิบูย่า) จนถึงศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซ่าอุดรธานี

Stochastic Oscillator และ Stochastic RSI Oscillator

Stochastic Oscillator และ Stochastic RSI

Stochastic Oscillator เป็นเครื่องมือกลุ่ม Momentum หรือ แรงเหวี่ยงของกำลังซื้อและกำลังขาย ซึ่งจะบอก หรือ ทำนายทิศทางของราคาสินทรัพย์ที่จะเกิดการตกลงซื้อขายในลำดับถัดไป… Stochastic Oscillator ถูกพัฒนาโดย George C. Lane ผู้เคยดำรงเป็นประธานกรรมการบริหาร Investment Educators Inc. ในรัฐ Illinois… ชื่อเดิมของ Stochastic Oscillator ที่คนส่วนใหญ่ลืมไปแล้วจึงเคยเรียกกันว่า Lane’s Stochastics

รถไฟความเร็วสูงคุนหมิง – ท่านาแล้ง

ยังคงเลาะรางรถไฟไปส่องทำเลต่างๆ ต่ออีกวันน๊ะครับ เพราะผมเชื่อสุดใจว่า เราอยู่ในศตวรรษที่การขนส่งทางรางและรางจะพาเราเข้าถึงทำเลที่เต็มไปด้วยโอกาสใหม่ๆเพียงแต่วันนี้ผมจะพาทุกท่าน ข้ามโขงขึ้นเหนือเลาะไปดูรางรถไฟความเร็วสูงตอน คุนหมิง – ท่านาแล้งกันนิดนึงครับ

architectural-design

Acquisitions Deals… เกมส์เศรษฐีของจริง

นี่คือช่วงเวลาของการเล่นเกมส์เศรษฐีในวงการอสังหาริมทรัพย์ ที่ผลลัพธ์มีแต่รวยมากกับรวยน้อยเท่านั้นเอง ขอแค่รู้จังหวะและโอกาสที่สามารถทำผ่าน Acquisition Deal และ Takeover แบบถูกที่ถูกเวลา