Emerging Market Ranking 2021…

emerging marget recovery rank

เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2020 ที่ผ่านมา… เวบไซต์ bloomberg.com ของสำนักข่าวบลูมเบิร์ก ได้เปิดเผยรายงานการวิเคราะห์เศรษฐกิจของประเทศตลาดเกิดใหม่ 17 ประเทศในปี 2021 ผ่านตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจและการเงิน 11 ข้อ โดยบลูมเบิร์กจัดให้อนาคตเศรษฐกิจของไทยอยู่ในอันดับ 1 ของตาราง

บลูมเบิร์กให้เหตุผลว่า ประเทศไทยมีเงินทุนสำรองที่มั่นคงและมีศักยภาพสูงที่จะดึงดูดเงินทุนเข้าประเทศ และยังคาดการณ์ว่า ปีหน้า GDP ของไทยจะเติบโต 3.9% ดุลบัญชีเดินสะพัดต่อ GDP จะเกินดุล 3.1% และดุลงบประมาณต่อ GDP จะขาดดุล 4.9% ขณะที่หนี้สาธารณะต่อ GDP อยู่ที่ 41%

การวิเคราะห์ของบลูมเบิร์กยังพบอีกว่า บรรดาประเทศตลาดเกิดใหม่มีความพร้อมที่จะฟื้นตัวจากความเสียหายทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นแล้ว โดยเงินทุนสำรองระหว่างประเทศที่แข็งแกร่งของกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่โดยเฉพาะในเอเชีย เป็นตัวช่วยรองรับแรงสั่นสะเทือนจากปัจจัยภายนอก… ทั้งนี้ ตัวชี้วัดที่บลูมเบิร์กใช้วิเคราะห์ว่าตลาดเกิดใหม่ใดจะรับมือกับความท้าทายและโอกาสเหล่านั้นได้ดีกว่าคู่แข่งประกอบไปด้วย

การฟื้นตัวจาก Covid-19

เกิดความกังวลว่าประเทศยากจนและประเทศด้อยพัฒนาจะถูกทิ้งไว้ข้างหลังในการกระจายวัคซีน และหลายประเทศในกลุ่มเศรษฐกิจเกิดใหม่ก็ได้รับผลกระทบจาก COVID19 อยู่แล้ว โดยเฉพาะไทยที่ต้องพึ่งพาการท่องเที่ยวเป็นหลัก… นักวิเคราะห์ของบลูมเบิร์กมองว่า เศรษฐกิจของประเทศที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักจาก Covid-19 ในปีนี้ จะฟื้นตัวและเห็นการเติบโตอย่างมากในปี 2564 โดย 5 อันดับแรกของประเทศที่เศรษฐกิจเติบโตสูงมากล้วนมาจากเอเชียทั้ง อินเดีย จีน และฟิลิปปินส์ 

การฟื้นตัวหลังล็อกดาวน์

เมื่อควบคุมการแพร่ระบาดได้แล้ว ประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่จะได้รับอานิสงส์อย่างมากจากการกลับมาดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจตามปกติ โดยข้อมูลล่าสุดพบว่า มาเลเซีย ชิลี และฟิลิปินส์ อนาคตสดใสที่สุด  

ช่องโหว่ของโครงสร้าง

โครงสร้างทางเศรษฐกิจที่ทรุดแย่ลงในช่วงการแพร่ระบาดของ COVID19 เป็นอีกหนึ่งปัจจัยเสี่ยงของประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ โดยเฉพาะปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด และการขาดดุลงบประมาณที่จะเพิ่มภาระทางการเงินให้รัฐบาล

References…

Share this post

Add Properea's Friend

เพิ่ม Properea.com เป็นเพื่อนทาง Line
ท่านจะได้ Link บทความใหม่ส่งตรงให้อย่างสม่ำเสมอโดยรบกวนแต่น้อย

Related Post

พระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2565

พระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2565 หรือ พ.ร.บ.การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ฯ จะใช้บังคับแก่หน่วยงานของรัฐทุกหน่วย ที่ไม่ใช่หน่วยงานในฝ่ายนิติบัญญัติ ตุลาการ องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ องค์กรอัยการ และ หน่วยงานอื่นของรัฐที่กำหนดในกฎกระทรวง แต่หากจะใช้บังคับกับหน่วยงานดังกล่าวจะต้องตราเป็นพระราชกฤษฎีกา และ จะใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 90 วันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา… เว้นแต่ มาตรา 12… มาตรา 15 วรรคสอง… มาตรา 19 และ มาตรา 22 ที่ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา หรือ ตั้งแต่วันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป

อสังหาริมทรัพย์ไทยในสังคมวัยชรา…

สถิติจำนวนประชากรที่กระทรวงมหาดไทยรายงานผ่านเวบไซด์ stat.dopa.go.th ตัวเลขเดือนธันวาคม 2561 คือ 66,413,979 คน ในจำนวนนี้มีผู้สูงอายุที่มีอายุเกิน 60 ปีอยู่ 10,666,803 คน… และอีก 10 ปีข้างหน้า คนอายุเกิน 60 ปีจะมีเพิ่มอีก 9,441,220 คน

ความร่วมมือด้านเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอวกาศของสหราชอาณาจักร และ ประเทศไทย

12 มกราคม 2023… ศาสตราจารย์พิเศษเอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม และ ศาสตราจารย์ นายแพทย์ สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม พร้อมด้วยท่านทูตธานี ทองภักดี เอกอัครราชทูต ณ กรุงลอนดอน ได้ประชุมหารือกับ Mr. George Freeman MP Minister for Science Research and Innovation ฝ่ายยุทธศาสตร์ทางธุรกิจ พลังงาน และ อุตสาหกรรมแห่งสหราชอาณาจักร… ได้ร่วมหารือแนวทางการดำเนินความร่วมมือด้านการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และ นวัตกรรม เพื่อผลักดันให้ประเทศไทยเป็น Focal Point บนความร่วมมือระหว่างสหราชอาณาจักร กับ อาเซียน เอเชียตะวันออก และ เอเชียใต้ รวมทั้งประเทศคู่ความร่วมมืออื่นๆ ของประเทศไทย และ การแลกเปลี่ยนข้อมูลเชิงนโยบายที่เกี่ยวข้องของทั้งสองประเทศ

John Dewey

If We Teach Today As We Taught Yesterday, We Rob Our Children Of Tomorrow ~ John Dewey

นักปฏิรูปการศึกษาอย่าง John Dewey ที่ถือว่าเป็นบิดาของการให้กำเนิดโรงเรียนสาธิตในมหาวิทยาลัย และ เจ้าของปรัชญาการศึกษาประสบการณ์นิยม หรือ Experimentalism หรือ Instrumentalism… ซึ่งพัฒนามาจากความเชื่อเรื่องความอยู่รอดของสรรพสัตว์… โดยเฉพาะมนุษย์จะขึ้นอยู่กับการปรับตัวตามทฤษฏีวิวัฒนาการของ Charles Darwin ซึ่งค้นพบและพิสูจน์จนเป็นที่ประจักษ์ว่า… ผู้ที่อยู่รอดและวิวัฒนาการต่อจะปรับตัวเสมอ ส่วนผู้ที่ไม่เหลือรอด และ ล้มหายสูญสิ้นไปล้วนไม่สามารถ “ปรับตัว” จนไม่อาจวิวัฒน์ต่อได้