Elliott Wave Principle… ปฐมบท

elliott wave

Elliott Wave เป็นชื่อของเครื่องมือวิเคราะห์วงจรราคาหลักทรัพย์ ซึ่งคิดค้นโดย Ralph Nelson Elliott จากการศึกษา และ เฝ้าสังเกตจิตวิทยานักลงทุน เชื่อมโยงกับพฤติกรรมราคาที่ปรากฏให้เห็นบนกราฟราคาหลักทรัพย์ ซึ่งมีวงจรการขึ้นลงสลับกันไปเป็นรูปคลื่น บนแนวโน้มทิศทางตามจิตวิทยาตลาดทั้งทิศทางขาขึ้น หรือ Bullish Trend และ ทิศทางขาลง หรือ Bearish Trend

นั่นแปลว่า… Elliott Wave เป็นรูปแบบของกราฟราคาที่ปรากฏให้เห็นอยู่ภายในแนวโน้มหลัก ซึ่งขาขึ้น หรือ Bullish Trend ก็จะมีรูปแบบของ “คลื่นราคาชี้นำแนวโน้มขาขึ้น” อย่างชัดเจน และ คลื่นราคาขาลง หรือ Bearish Trend ก็จะมีรูปแบบเฉพาะของ “คลื่นราคาชี้นำแนวโน้มขาลง” อย่างชัดเจนรวมทั้งการระบุการสิ้นสุดของคลื่นแต่ละลูก เพื่อเริ่มคลื่นลูกใหม่ด้วย

Ralph Nelson Elliott

 Ralph Nelson Elliott หรือ R.N. Elliott คิดค้นและเผยแพร่ Elliott Wave Principle ในปี 1930 หลังจากต้องยอมเกษียณจากอาชีพนักบัญชีในวัย 59 ปี เพราะปัญหาสุขภาพ และ เริ่มต้นศึกษาสถิติราคาหลักทรัพย์ย้อนหลังไป 75 ปี โดยแตก Timeframe ออกมาดูทั้งรายปี รายเดือน รายสัปดาห์ รายวัน รายชั่วโมง และ รายสามสิบนาที ของสินทรัพย์ในตลาดทุนอย่างหลากหลาย… ในยุคที่แม้แต่คำว่า “คอมพิวเตอร์” ก็ไม่เคยมีใครได้ยินด้วยซ้ำ

Elliott Wave Theory ดังกระฉ่อนในปี 1935 จากการคาดการณ์ราคาสินทรัพย์ หรือ ราคาหุ้นได้อย่างแม่นยำจนน่าขนลุก บรรดาผู้จัดการกองทุน และ นักเทรดนับพันจึงแห่แหนมาขอใช้เครื่องมือวิเคราะห์ของ R. N. Elliott อย่างล้นหลาม

Ralph Nelson Elliott หรือ R.N. Elliott จากไปในวันที่ 15 มกราคม ปี 1948… โดยมีผู้สืบทอดผลงานทั้งหนังสือ บทความ และ จดหมายของ R.N. Elliott ทั้งหมด รวบรวมเล่มไว้ภายใต้ชื่อ Wave Principle โดย Charles Collins และ เผยแพร่เทคนิค Elliott Wave Theory ในตลาด Wall Street จนได้รับการจัดอันดับให้เป็นเครื่องมือวิเคราะห์ทางเทคนิคระดับเดียวกับเครื่องมือของ Charles Dow เจ้าของ Dow Theory อันลือลั่น

Elliott Wave Theory ถูกชำระใหม่ในระหว่างปี 1950 – 1960 โดย Charles Collins… Hamilton Bolton… A.J. Frost และ Richard Russell แต่หลักการและแนวทางก็ยังไม่เป็นที่สนใจของนักลงทุน และ ตลาดหุ้น และ หลักทรัพย์เกิดใหม่มากมายที่ผุดขึ้นหลังสงครามโลกสงบลง และ ทั่วโลกเข้าสู่ยุคสงครามเย็นเท่าไหร่… กระทั่ง Robert Prechter นักวิเคราะห์หลักทรัพย์จาก Merrill Lynch ผู้เอาแนวคิดและหลักการ Elliott Wave มาปรับปรุงอีกครั้งจนกลายเป็นนักวิเคราะห์ชื่อดังจากความแม่นยำในการทำนายราคาด้วย Prechter’s Elliott Wave จนทำให้ Robert Prechter มีลูกค้าในมือระหว่างปี 1987–1990 กว่าสองหมื่นบัญชีให้ดูแล

สิ่งที่น่าสนใจก็คือ… ธรรมชาติของคลื่นราคาที่ R. N. Elliott ค้นพบนั้น จนถึงปัจจุบันยังเป็นจริง และ ยืนยันผ่านการใช้วิเคราะห์หลักทรัพย์ได้ทุกประเภท โดยไม่เว้นแม้แต่สินทรัพย์ดิจิทัลที่ Elliott Wave ทำนายแนวโน้มได้อย่างถูกต้องแม่นยำอยู่ แม้ในบางรายละเอียดจะเป็นหลักการที่ถูกพัฒนาเพิ่มเติมในภายหลังก็ตาม… แต่นั่นก็เพื่อให้ Elliott Wave ทันสมัยพอที่จะตามความเคลื่อนไหวของราคาได้แม่นยำอยู่ 

ผมกำลังพูดถึงโครงสร้างคลื่นราคาตาม “ทฤษฎีคลื่น 5-3” ของ Elliott Wave ที่ยังคงใช้ได้ดีไม่มีผิดเพี้ยน และ วนเกิดซ้ำแล้วซ้ำเล่า อันเป็นรูปแบบฐานของ Elliott Wave Cycle ที่กำหนดไว้บนคลื่น Motive Wave หรือ คลื่นตามแนวโน้ม ทั้งหมด 5 คลื่น และ Corrective Wave หรือ คลื่นทวนแนวโน้ม อีก 3 คลื่น โดย…

แนวโน้มขาขึ้น หรือ Bullish Cycle… จะมี Motive Wave หรือ คลื่นตามแนวโน้ม ยกตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง 5 คลื่น โดยนับเป็นตัวเลข ก่อนจะย่อตัวลงเป็น Corrective Wave หรือ คลื่นทวนแนวโน้ม ทั้งหมด 3 คลื่น โดยนับเป็นตัวอักษร ก่อนจะกลับตัวเป็นขาขึ้นต่อจนเห็นการเริ่มต้น Motive Wave ยกตัวสูงขึ้นรอบใหม่

Elliott Wave Complete

แนวโน้มขาลง หรือ Bearish Cycle… จะมี Motive Wave หรือ คลื่นตามแนวโน้ม ปรับตัวลดลงต่อเนื่อง 5 คลื่น โดยนับเป็นตัวเลข แล้วจะเห็นราคากลับตัวเป็น Corrective Wave หรือ คลื่นทวนแนวโน้มกลับตัวสูงขึ้นทั้งหมด 3 คลื่น โดยนับเป็นตัวอักษร แล้วจึงก่อตัวเป็น Motive Wave ขาลงให้เห็นใหม่

ประเด็นก็คือ… ในโลกความจริงของการดูกราฟราคาไม่มีใครมองเห็น Elliott Wave ชัดเจนเหมือนในหลักการกันหรอกครับ และ โดยรายละเอียดของ “การนับคลื่น” ก็ยังต้องนับซ้อนกันหลายชั้น เพื่อมองให้เห็นภาพใหญ่ให้ชัดที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ โดยไม่ถูกรบกวนจากคลื่นเล็กคลื่นน้อยที่เกิดอยู่ในคลื่นใหญ่ ซึ่งมีรายละเอียดที่จะต้องทำความเข้าใจ และ ฝึกฝนการอ่าน “ทรงคลื่น” ให้มากจนแยกแยะรูปแบบได้

ตอนหน้ามาเจาะดูความซับซ้อนของคลื่นกันต่อครับ… โปรดติดตาม

บทความในชุด Elliott Wave Principle…

  1. Elliott Wave Principle… ปฐมบท
  2. Labeling Elliott Wave Patterns… การติดป้ายและนับคลื่นราคา
  3. Elliott Motive Waves And Corrective Waves…
  4. Motive Impulse Wave And Motive Diagonal Wave
  5. Corrective Sharp Correction และ Corrective Sideways Correction

References…

Share this post

Add Properea's Friend

เพิ่ม Properea.com เป็นเพื่อนทาง Line
ท่านจะได้ Link บทความใหม่ส่งตรงให้อย่างสม่ำเสมอโดยรบกวนแต่น้อย

Related Post

Virtual Reality… เทคโนโลยีเสมือนจริงสำหรับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์

การเลือกซื้อบ้านและคอนโดมิเนียม ทุกคนคงต้องไปดูบ้านจริง คอนโดจริงก่อนตัดสินใจแน่ๆ แม้การตัดสินใจซื้อบ้านหรือคอนโดที่ยังไม่ได้เริ่มก่อสร้าง ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์เหล่านั้นก็ยังต้องจำลองบ้านตัวอย่าง หรือห้องตัวอย่าง เอาไว้ช่วยลูกค้าตัดสินใจ… แต่นั่นก็ยังไม่ดีพอที่จะให้บริการลูกค้านองสถานที่ หรือแม้แต่รายการ Road Show เพื่อส่งเสริมการขายที่ต้องออกบู๊ทไปตามที่ต่างๆ และหลายโครงการโดยเฉพาะโครงการคอนโดมิเนียมที่ปัจจุบันมี Road Show ในต่างประเทศด้วยซ้ำ

Jaguar XJ220

Jaguar XJ220 เป็นรถโปรเจคพิเศษของ Jaguar กับ ทีมแข่งคู่สัญญาอย่าง Tom Walkinshaw Racing หรือ TWR ซึ่งได้พาเครื่องยนต์พิเศษของ Jaguar หลายโมเดลลงสนามแข่งคว้ารางวัลมาครอบครองมากมายไม่แพ้รถอิตาลียุคเดียวกันอย่าง Ferrari F40 หรือ รถเยอรมันอย่าง Porsche 959… โดย TWR ได้อยู่เบื้องหลังการพัฒนารถแข่งมาเป็นรถถนนภายใต้แบรนด์ Jaguar ช่วงปลายศตวรรษที่ 20 ที่โด่งดังก็มี Jaguar XJR-S และ Jaguar XJ220… ซึ่งตัว XJ220 Concept ที่ TWR ทำขึ้นใช้เครื่องยนต์ V12 ขนาด 6,222 CC มีแรงม้าให้ใช้มากถึง 500 แรงม้า… โดยเป็นงานออกแบบของ Keith Helfet ซึ่งเป็นรถบ้าพลังรูปร่างน่าใช้ที่สุดคันหนึ่งของโลก

Cozy Village Tourism… ท่องเที่ยวชุมชนเอาไออุ่น

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ได้จัดงานเทศกาล Village Tourism Festival ระหว่างวันที่ 18 – 19 มิถุนายน 2022 ณ อุทยาน 100 ปี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยผลักดันแนวคิดการเปิดประสบการณ์เที่ยวชุมชนสุดชิลล์สไตล์ COZY VILLAGE โดยชูเอกลักษณ์การท่องเที่ยววิถีไทย ผ่านกิจกรรมการท่องเที่ยวที่หลากหลาย ร่วมสนุกกับกิจกรรมจากชุมชนท่องเที่ยวที่ได้รับรางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย หรือ Thailand Tourism Awards เพื่อกระตุ้นการเดินทางท่องเที่ยวในประเทศ และ กระจายรายได้ไปสู่ชุมชนอย่างยั่งยืน

RPA Robotic Process Automation

RPA Software and Systems #Digital–Transformation

อยากให้ท่านนึกถึงการรับพนักงานใหม่มาทำหน้าที่บางอย่างในกิจการก่อน และท่านจะสอนงานน้องใหม่รายนี้ให้ทำงานที่ต้องรับผิดชอบว่า… ให้ทำอะไรยังไงจากขั้นตอนไหนไปถึงขั้นตอนไหน และมอบหมายงานหรือขั้นตอนที่สอนไปให้รับผิดชอบ… ทีนี่ท่านเปลี่ยนจากสอนน้องใหม่ที่เป็นมนุษย์ ไปสอน RPA Software… และปล่อยให้ระบบของ RPA ทำงานและรับผิดชอบขั้นตอนที่สอน หรือขั้นตอนที่สร้างให้ทำงานตามขั้นตอนจนเสร็จสิ้นในแต่ละรอบ ได้ตลอดเวลา 24 ชั่วโมงต่อวัน โดยไม่มีพักกินข้าวหรือเข้าห้องน้ำ และไม่เรียกร้องค่าล่วงเวลา หรือ OT ใดๆ อีก