Edible Ecosystems… ดินน้ำอากาศแร่ธาตุและผู้คน

permaculture design

Zack Loeks ให้นิยามตัวเองว่าเป็นครู เป็นนักออกแบบ เป็นที่ปรึกษาและเป็นเกษตรกรในคนๆ เดียวกัน… เขาเป็นเจ้าของฟาร์มชื่อ Kula Permaculture Farm ขนาด 50 เอเคอร์ หรือราวๆ 126 ไร่… เป็นฟาร์มแบบ Off-grid PermaCulture Farm หมายถึงเป็นเอกเทศและพึ่งตนเอง และได้รับใบรับรองว่าเป็นแหล่งผลิตผักผลไม้ออแกนิค และยังเป็นศูนย์เรียนรู้เรื่อง PermaCulture ครบวงจร ตั้งอยู่ในทุ่งนอกเขตเมือง Ottawa ในแคนนาดา

หนังสือ The Permaculture Market Garden ของ Zach Loeks จึงถือเป็นตำราที่เขียนโดยผู้มีประสบการณ์ตรง ที่สร้างชีวิตจากธรรมชาติ จนเป็นที่ยอมรับไปทั่ว… ผมเริ่มอ่าน Section 1,2,3 แบบเร็วรวดเดียวเพื่อทำความเข้าใจกับภาพรวมของเนื้อหาในหนังสือ… ซึ่งไม่ใช่การอ่านเพื่อจะมารีวิวเนื้อหาในหนังสือหรอกครับ… แต่ต้องการหา “แนวคิดหลัก” ในหนังสือก่อน เพราะหนังสือขึ้นต้นด้วยการเกริ่นออกนอกโลกก่อนจะย้อนกลับลงดินจนถึงปลายรากหัวแครอททีเดียว… ทำเอาคนชอบเกริ่นรอบเส้นศูนย์สูตรอย่างผม กลายเป็นละอ่อนด้านข้อมูลไปในพริบตา

เนื้อหาในหนังสืออ่านง่ายกว่าตำราการเกษตรทั่วไปที่ผมเคยอ่าน… ภาพประกอบมีมากแทบทุกหน้าก็ว่าได้ เป็นภาพลงสีน้ำสวยงามเข้าใจง่ายทั้งเล่ม… และยืนยันอีกครั้งว่า เป็นตำราการออกแบบระบบนิเวศกินได้ หรือ Edible Ecosystems ที่เหมาะกับพื้นที่สวนทุกขนาด และให้ความสำคัญกับวงจรน้ำ โครงสร้างของดินและแปลงปลูก

สำหรับผม หนังสือ The Permaculture Market Garden ของ Zach Loeks ไม่มีอะไรใหม่ แม้แต่ตอนที่ 4 Design Management ซึ่งเป็นเพียงการออกแบบระบบการจัดการภายในฟาร์มทั้งหมด… ซึ่งถ้ามองในมิติของการวางผังในพื้นที่สวน เหมือนสถาปนิกออกแบบอาคารใส่ที่ดินแต่ละแปลง ที่คิดก่อนว่าจะเอาอะไรไว้ตรงไหน พื้นที่เปียก แห้ง ลาน โรง โดยใช้ความรู้เชิงลึกที่รู้ธรรมชาติของดิน น้ำ อากาศ แร่ธาตุและพันธุ์พืช รวมทั้งสิ่งมีชีวิตบนดินใต้ดินในระบบนิเวศของที่ดินแต่ละแปลง… ต้องยอมรับว่า หนังสือเล่มนี้ข้อมูลแน่นปึก ที่ปูพื้นมาตั้งแต่บทนำได้อย่างยอดเยี่ยม จนมาถึงตอนที่ 4 ซึ่งเป็นส่วนของการนำความรู้พื้นฐานทั้งหมดจากตอนต้นๆ มาทำ Operation Design ที่จะบอกว่าอะไรต้องทำยังไง

หัวใจสำคัญจริงๆ ที่ผมเก็บได้จากการอ่านหนังสือสองเล่มเกี่ยวกับ PermaCulture ก็คือ… การออกแบบแปลงปลูกแบบที่เอาขยะอินทรีย์ทั้งหมดในโครงการ มาใช้เป็นพื้นฐานในการเตรียม “แปลงปลูกแบบเก็บความชื้นได้ดีในหน้าร้อนและระบายน้ำได้ดีในหน้าฝน” ซึ่งเป็นแนวคิดการเตรียมแปลงแบบที่ Bill Mollison และ Masanobu Fukuoka ค้นพบและออกแบบไว้

โดยรูปแบบการยกแปลงจะมีหลายเทคนิค ขึ้นอยู่กับพื้นที่และสภาพแวดล้อม… โดยเทคนิคมาตรฐานก็คือการปูพลาสติกกันน้ำซึมลงดินไว้พื้นล่างสุดของแปลง ถ้าเป็นพื้นที่น้ำท่วมขังบางฤดู จะออกแบบแปลงด้วยการยกคันรอบแปลงจากระดับผิวดินโดยไม่ขุดลงไป… หรือขุดเล็กน้อยแล้วปูพื้นด้วยพลาสติก แล้วใช้ท่อนไม้ใหญ่และหินขนาดใหญ่รองเป็นฐาน ตามด้วยใบไม้แห้ง ฟางหรือหญ้าคลุมฐานล่างแล้วค่อยกลบขยะอินทรีเพื่อให่เน่าเป็นปุ๋ยและตามด้วยดินอีกเล็กน้อย

หลักการควบคุมความชื้นของแปลงปลูกแบบนี้ก็คือ เมื่อให้น้ำกับแปลงปลูกแบบเพอร์มาเคาล์เจอร์ ทั้งแบบรดน้ำหรือปล่อยน้ำฝนลงแปลง น้ำจะถูกขังไว้ที่ก้นแปลง แทรกอยู่กับท่อนไม้และก้อนหิน น้ำส่วนเกินจะถูกระบายออกทางช่องระบายน้ำที่ออกแบบไว้ พืชผักที่ปลูกบนแปลง จะหยั่งรากหาน้ำเองโดยไม่ต้องรดน้ำจากด้านบนก็ได้… ซึ่งข้อมูลบอกไว้ชัดเจนว่า แปลงปลูกแบบเพอร์มาเคาล์เจอร์ ไม่ต้องรดน้ำบ่อยๆ ตราบเท่าที่ยังมีน้ำเลี้ยงใต้แปลงขังอยู่

จากแปลงผักหนึ่งแปลง… เมื่อปรับ Scale เป็นธุรกิจฟาร์มผักที่ใหญ่ขึ้น และผลิตพืชผักให้ได้สม่ำเสมอในปริมาณระดับการค้า การวางผังฟาร์มเป็นโซน ทำให้การออกแบบระบบจัดการ ต้องพิจารณาเป็นกรณีๆ ไป ตั้งแต่พิจารณาลมฟ้าอากาศและลมฝน แสงแดด อุณหภูมิ… นั่นคือเหตุผลที่ต้องเข้าใจวัฏจักรธรรมชาติของที่ตั้งฟาร์มแต่ละแปลง ตั้งแต่เมฆบนท้องฟ้าจนถึงรูไส้เดือนนั่นเลย

ประเด็นก็คือ… PermaCulture เป็นแนวคิดการทำฟาร์มออร์แกนิคอีกแนวทางหนึ่ง สำหรับ Farmer ที่เชื่อว่า “รากพืชต้องลงดินจึงกินได้” ที่ผมรู้จักหลายๆ ท่านที่ไม่ปลื้มผักไฮโดรโปนิคส์ ที่ปลูกและโตบนน้ำ

ในประเทศไทยบ้านเรา… เวบไซต์ wwoofthailand.com มีสวนในเมืองไทยที่เป็นสมาชิกเคลมว่าตัวเองเป็น PermaCulture Organic Farm ไม่น้อย… แต่เท่าที่ดูข้อมูลคร่าวๆ ส่วนใหญ่เป็น “เขยฝรั่ง” ทำ Farm Stay ขายนักท่องเที่ยวที่ต้องการเข้าอบรมความรู้เบื้องต้น เรื่องขุดดิน ใส่ปุ๋ย หยอดเมล็ดมากกว่า… สวนเพอร์มาเคาล์เจอร์ในบ้านเราแบบโฟกัสผักและจารีตเพอร์มาเคาล์เจอร์จริงจัง ผมไม่มีข้อมูลจริงๆ ท่านใดจะกรุณาอนุเคราะห์ชี้ทางก็ยินดีครับ

โดยส่วนตัวผมสนใจแนวคิด PermaCulture หรือ เพอร์มาเคาล์เจอร์เพื่อเอามาพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์… อย่างกรณีโครงการจัดสรรที่ค่าส่วนกลางดูแลเกาะกลางถนนและริมทางเท้าในหมู่บ้าน ค่าใช้จ่ายสูงจนสุดท้ายกรรมการหมู่บ้านตัดทิ้งและปล่อยทรุดโทรมเป็นส่วนใหญ่… หรือแม้กระทั่งงานภูมิทัศน์ระดับเทศบาลหลายแห่ง ที่ใช้งบประมาณดูแลสวนเกาะกลางถนนด้วยตัวเลขที่น่าตกใจ แถมยังสร้างผลกระทบอื่นๆ มากมายตั้งแต่รถขนน้ำไปรดต้นไม้เปิดไฟกระพริบอยู่กลางถนน ที่แม้แต่รถฉุกเฉินโรงพยาบาลจะไปส่งคนไข้เจียนตายก็ต้องหาทางไปเอง

ข้อมูลจากหนังสือสองเล่มที่ผมอ่าน ให้ข้อมูลสำคัญเรื่องให้น้ำกับให้ปุ๋ยในแปลง PermaCulture ที่เป็นปัญหาใหญ่ของการเลี้ยงพืช ทั้งเพื่อเอาผลผลิตและเอาระบบนิเวศ… และยอมรับเลยว่า ผมเผลอคิดไปไกลถึงแนวกันไฟในป่าอนุรักษ์หลายแห่ง ที่เกิดไฟป่าครั้งใดก็ช่างน่าเศร้าเกินบรรยายเสมอ คิดตกกว่านี้อาจจะเอาไอเดียมาเล่าให้ฟังครับ

อ้างอิง

Share this post

Add Properea's Friend

เพิ่ม Properea.com เป็นเพื่อนทาง Line
ท่านจะได้ Link บทความใหม่ส่งตรงให้อย่างสม่ำเสมอโดยรบกวนแต่น้อย

Related Post

เราเที่ยวด้วยกัน เฟส 5

วันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2566 ตั้งแต่เวลา 06.00 – 23.00 น… การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย หรือ ททท. จะเปิดจองสิทธิ์โครงการ “เราเที่ยวด้วยกัน เฟส 5” จำนวน 5.6 แสนสิทธิ… โดยเปิดให้ประชาชนที่ยังไม่เคยเข้าร่วมโครงการเฟส 1 จนถึงเฟส 4 ส่วนขยาย ได้ลงทะเบียนร่วมรับสิทธิ ซึ่งจะเริ่มเดินทาง และ ใช้สิทธิ์ได้ตั้งแต่วันที่ 10 มีนาคม ถึง 30 เมษายน พ.ศ. 2566… โดยอ้างอิงสถิติการใช้สิทธิในเฟสก่อนๆ ที่มีผู้ใช้สิทธิเดือนละประมาณ 5 แสนสิทธิ์ และ อยู่ในช่วงปลายโลว์ซีซันของตลาดนักท่องเที่ยวต่างชาติ

Smart Farm

Thailand Food Charter และ Thailand Smart Farm 2020

วันที่ 18 ธันวาคม 2562 ณ ห้องประชุมออนวัลเลย์ ดัทช์ฟาร์ม ตำบลออนใต้ อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ ดร.สราวุฒิ วรพงษ์ นายอำเภอสันกำแพง ได้เป็นประธานเปิดการประชุม กฎบัตรอาหารครั้งที่ 2 การปฏิบัติการออกแบบผังแม่บทและโครงสร้างการลงทุนฟาร์มเกษตรอัจฉริยะ ซึ่งจัดขึ้นโดย Thailand Charter หรือกฎบัตรแห่งชาติ ร่วมกับ Chiang Mai Charter

elliott wave

Elliott Wave Principle… ปฐมบท

Elliott Wave เป็นรูปแบบของกราฟราคาที่ปรากฏให้เห็นอยู่ภายในแนวโน้มหลัก ซึ่งขาขึ้น หรือ Bullish Trend ก็จะมีรูปแบบของ “คลื่นราคาชี้นำแนวโน้มขาขึ้น” อย่างชัดเจน และ คลื่นราคาขาลง หรือ Bearish Trend ก็จะมีรูปแบบเฉพาะของ “คลื่นราคาชี้นำแนวโน้มขาลง” อย่างชัดเจนด้วย

Da Vinci Surgical System… ระบบหุ่นยนต์ผ่าตัดดาวินชี

หุ่นยนต์ผ่าตัดแบบ Robotic Assisted Surgery ที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดในโลก จนมีใช้อย่างแพร่หลายในโรงพยาบาลที่มีห้องผ่าตัดมาตรฐานเกือบทุกแห่งบนโลกมีชื่อว่า The da Vinci Surgical System โดย Intuitive Surgical