แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวหลังวิกฤต

Restart Economy

เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคมที่ผ่านมา อาจารย์ทศพร ศิริสัมพันธ์ ในฐานะเลขาธิการสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้แถลงกรอบแนวทางการฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศ โดยมีทุนทรัพย์จาก พระราชกำหนดดูแลเสถียรภาพภาคการเงิน หรือ พ.ร.ก.เงินกู้ วงเงิน 4 แสนล้านบาท ซึ่งสภาพัฒน์ได้เชิญหัวหน้าส่วนราชการมารับทราบกรอบแนวทางการเสนอโครงการ

ซึ่งสภาพัฒน์เน้นย้ำส่วนราชการ ให้เสนอโครงการที่ทำให้เกิดการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากในท้องถิ่นเป็นหลัก และคาดว่าจะมีเงินลงไปยังระบบเศรษฐกิจในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงเดือนตุลาคนี้ ซึ่งแต่ละโครงการต้องอยู่ภายใต้แผนงานหลัก 4 ข้อ คือ 

1. กิจกรรมการพัฒนาที่สามารถพลิกฟื้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจ เช่น เกษตรอัจฉริยะ อุตสาหกรรมอาหาร ท่องเที่ยวเน้นคุณภาพ และเศรษฐกิจสร้างสรรค์

2. การพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากหรือเศรษฐกิจชุมชน โดยจะใช้วงเงินในส่วนนี้ไม่ต่ำกว่า 50% ของวงเงินสี่แสนล้านบาท เช่น เกษตรพอเพียง เกษตรผสมผสาน สินค้าโอทอป และท่องเที่ยวชุมชน 

3. ส่งเสริมและกระตุ้นการบริโภคภาคครัวเรือนและเอกชน 

4. ต้องสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ยกระดับโครงสร้างพื้นฐานและสนับสนุนกระบวนการผลิต ไม่เน้นโครงการขนาดใหญ่ เสร็จช้าหรือใช้เวลานาน

รายละเอียดโครงการที่หน่วยงานต่างๆ คาดว่าจะเตรียมข้อมูลเสนอคณะรัฐมนตรีให้แล้วเสร็จภายในต้นเดือนกรกฎาคมนี้

ประเด็นคือแบบนี้ครับ… เงินกู้ 400,000 ล้านบาทที่จะลงพื้นที่ในอีกไม่กี่สัปดาห์จากนี้ ต้องการเห็น “ชุมชนและภาคเกษตรกรรม เข้มแข็งอยู่ในห่วงโซ่การผลิตอาหารและสินค้าชุมชนที่สามารถต่อยอดเรื่องการท่องเที่ยวได้”

ถึงตอนนี้ก็ยังไม่มีใครทราบหรอกว่า… แผนงานที่จะผ่านคณะรัฐมนตรีในสี่ห้าสัปดาห์ข้างหน้าจะเป็นอย่างไร แต่เป้าหมายที่ต้องการผลักดันการท่องเที่ยวภายในประเทศ หลังจากคนไทยช่วยกันหยุดยั้งการแพร่ระบาดนอกเขตควบคุมภายในประเทศได้อย่างดี และถึงคราวเดินทางท่องเที่ยวกระตุ้นเศรษฐกิจ… รัฐบาลวางแผนดึงคนเดินทางท่องเที่ยวสู่ชุมชน เพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายผ่านกลไกทางการตลาด ที่มีเงินงบประมาณสี่แสนล้านเป็นเหยื่อล่อ ดึงเงินส่วนตัวของเราท่านออกจากกระเป๋าเพื่อคืนโอกาสให้คนไทย ที่เสียสละร่วมกันในยามยากมาตั้งแต่ต้นเดือนมีนาคม

โดยส่วนตัวผมคิดว่า… แคมเปญกระตุ้นเศรษฐกิจรอบนี้ คงมีสีสันยิ่งกว่า “ร้อยเดียวเที่ยวทั่วไทย” หรือ “ช้อปช่วยชาติ” ครั้งก่อนๆ

เดี๋ยวมีรายละเอียดชัดกว่านี้ค่อยว่ากันอีกที… ถึงตอนนั้นคงมีหลายอย่างให้พูดถึงในหลายแง่ แต่ก็น่าจะมีหลายอย่างที่แปลงเป็นโอกาสได้เหมือนกัน… อึดไว้ครับ!!!

Share this post

Add Properea's Friend

เพิ่ม Properea.com เป็นเพื่อนทาง Line
ท่านจะได้ Link บทความใหม่ส่งตรงให้อย่างสม่ำเสมอโดยรบกวนแต่น้อย

Related Post

Smart City และ Smart Port ที่ท่าเรือแหลมฉบัง

ข้อตกลงความร่วมมือการพัฒนา Smart City ที่ท่าเรือแหลมฉบัง จะเป็นการต่อยอดระบบจองคิวรถบรรทุก หรือ ระบบ Truck Queue ของท่าเรือแหลมฉบัง โดยยกระดับให้เป็นภาพรวมการบริหารจัดการด้วยแพลตฟอร์ม และ วางโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลในพื้นที่ท่าเรือแหลมฉบัง โดยใช้กรอบการพัฒนาแพลตฟอร์มข้อมูลเมืองของดีป้า ซึ่งมีแหล่งข้อมูลต้นทางจากข้อมูลการเดินรถ… ข้อมูลจากหัวรถลาก… ข้อมูลตู้คอนเทนเนอร์… ข้อมูลตารางเรือ… สายการเดินเรือ และอื่นๆ จากท่าเรือเอกชนรวมถึงข้อมูลประกอบอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลการจราจร… ภูมิอากาศ… CCTV และ ข้อมูลที่ได้จากระบบให้บริการที่ถูกพัฒนาขึ้นใหม่

Dunning Kruger Effect… กว่าจะรู้ว่าตัวเองไม่รู้

ปี 1999 นักจิตวิทยาสังคมชาวอเมริกันสองท่านจาก Cornell University นาม David Dunning และ Justin Kruger ได้ตีพิมพ์รายงานการวิจัยในวารสารทางจิตวิทยาว่า พวกเขาให้นักศึกษาทำข้อสอบวัดความสามารถในการคิดเชิงตรรกะ และความรู้เรื่องไวยากรณ์ แล้วให้ประเมินว่า ตนเองน่าจะได้คะแนนอยู่ในอันดับที่เท่าใด จากต่ำสุด 1 และสูงสุด 100 เมื่อเปรียบเทียบกับคนอื่น

Security Token Offering หรือ STO

STO และ Token Based Real Estate… อสังหาริมทรัพย์ดิจิทัลเพื่อการลงทุน

อสังหาริมทรัพย์ในกระแสดิจิทัล ซึ่งสินทรัพย์ที่เก็บและถือครองในรูปดิจิทัล กำลังเป็นที่แนวโน้มสำคัญที่เกิดขึ้นชัดเจนแล้วว่า… ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเพื่อใช้ประโยชน์บนที่ดินทั้งหมด สามารถแปลงเป็นสินทรัพย์ดิจิทัล หรือ Digital Asset เพื่อให้ “ธุรกรรม” ที่เกี่ยวข้องกับที่ดินและสิ่งปลูกสร้างทั้งหมด สามารถจัดการและดำเนินการผ่านช่องทางดิจิทัลได้อย่างราบรื่น

Homma Munehisa

The Psychological Aspect Of The Market Is Critical To Trading Success – Homma Munehisa

Homma Munehisa หรือ ท่านฮอมมะ ได้เขียนหนังสือชื่อ San-en Kinsen Hiroku หรือ 三猿金泉秘録 หรือแปลเป็นภาษาอังกฤษว่า The Fountain of Gold – The Three Monkeys Record of Money แปลเป็นภาษาไทยว่า… น้ำพุทองคำ – บันทึกเรื่องเงินของลิงทั้งสาม ซึ่งปรมาจารย์ด้านการลงทุนทั่วโลกส่วนใหญ่ ยกย่องให้เป็นตำราจิตวิทยาการลงทุนเล่มแรกของโลก