อู่ตะเภา… เมืองการบินภาคตะวันออก

Eastern Economic Corridor (EEC) หรือเขตพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก พื้นที่ยุทธศาสตร์การลงทุนที่รองรับด้วยความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐานที่ตอบสนองทุกรูปแบบการการลงทุนและไลฟ์สไตล์ โดยเฉพาะการคมนาคมขนส่งที่พร้อมทั้งทางบก ทางเรือและทางอากาศ… วันนี้ผมจึงเอาโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออกมาบันทึกไว้กับ properea ครับ!

โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก… เปิดให้เอกชนเข้าร่วมทุนในการพัฒนาท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา โดยเป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก (Eastern Airport City) เพื่อพัฒนาสนามบินและกิจกรรมต่อเนื่องต่าง ๆ ประกอบด้วย

  • การก่อสร้างความพร้อมในการให้บริการและบำรุงรักษา อาคารผู้โดยสารหลังที่ 3 (Terminal 3)
  • ศูนย์ธุรกิจการค้า (Commercial Gateway)
  • ธุรกิจขนส่งสินค้าทางอากาศและโลจิสติกส์ (Air Cargo)
  • ธุรกิจซ่อมเครื่องบิน (Maintenance Repair and Overhaul, MRO) (ระยะที่ 2)
  • ศูนย์ฝึกอบรมบุคลากรการบิน (ระยะที่ 2)
  • กลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรมอากาศยาน (ระยะที่ 2)

ที่ตั้งโครงการ
ท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา ตั้งอยู่ในพื้นที่ 6,500 ไร่ คลุมพื้นที่อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยองและอำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี

 

สภาพแวดล้อมที่ตั้งโครงการปัจจุบัน
ปัจจุบันท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา มีทางวิ่ง 1 ทางวิ่ง ขนาดมาตรฐานยาว 3,500 เมตร กว้าง 60 เมตร และมี 52 หลุมจอด ซึ่งหากใช้ทางวิ่งนี้เต็มศักยภาพ จะสามารถรองรับปริมาณผู้โดยสารได้ 20 ล้านคนต่อปี อาคารผู้โดยสารหลังที่ 1 รองรับผู้โดยสารทั้งในและระหว่างประเทศประมาณ 700,000 คนต่อปี และหลังจากอาคารผู้โดยสารหลังที่ 2 เปิดให้บริการจะมีขีดความสามารถในการรองรับผู้โดยสารได้ประมาณ 3 ล้านคนต่อปี

แผนการพัฒนาพื้นที่ในระยะเร่งด่วน ประกอบด้วย

  • พื้นที่ให้บริการให้ปัจจุบัน (Brownfield) ที่ภาครัฐจะมีการลงทุนก่อสร้างเพิ่มเติม ทางวิ่งที่ 2 (Runway 2)
  • ศูนย์ฝึกอบรมบุคลากรการบิน
  • ระบบสาธารณูปโภคเพื่อรองรับการขยาย ตัวของสนามบิน
  • เปิดพื้นที่ให้บริการใหม่ (Greenfield) ซึ่งภาครัฐจะมีการลงทุนก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานอู่ตะเภา (MRO) ระยะที่ 1
  • ศูนย์ขนส่งสินค้าทางอากาศ (Air Cargo) ระยะที่ 1 ร่วมกับบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)
  • ศูนย์ฝึกอบรมบุคลากรการบิน ระยะที่ 1 ร่วมกับสถาบันการบินพลเรือน

จากข้อมูลที่ว่ามานี้ ผมคิดว่า… ภาพของอู่ตะเภาในอีก 5 ปีข้างหน้า เมื่องานก่อสร้างโครงการใหญ่ๆ เริ่มเป็นรูปเป็นร่างชัดเจนจนถึงเปิดให้บริการตามวัตถุประสงค์ มูลค่าเพิ่มของอสังหาริมทรัพย์รอบ ๆ พื้นที่อู่ตะเภา… คงขยับขึ้นไปอีกโขอยู่!!!

 

 

 

Share this post

Add Properea's Friend

เพิ่ม Properea.com เป็นเพื่อนทาง Line
ท่านจะได้ Link บทความใหม่ส่งตรงให้อย่างสม่ำเสมอโดยรบกวนแต่น้อย

Related Post

Plasma Catalysis for CO2 Recycling… เมื่อลมหายใจของเราแพงขึ้นทุกวัน

เผ่าพันธุ์มนุษย์อาศัยอยู่ในโลกที่มีออกซิเจนเหลือเฟือให้เราฟุ่มเฟือยกับลมหายใจมานาน กระทั่งฝุ่นควันและก๊าซพิษ ที่มนุษย์ช่วยกันสร้างขึ้นจากวิวัฒนาการของมนุษย์เอง และภัยธรรมชาติที่มนุษย์หมดปัญญาจะควบคุมได้ กำลังคุกคามมนุษย์มากขึ้นจนกลายเป็นข้อพิพาทระดับโลกไปแล้ว

Eric Achmidt

We Run The Company By Questions, Not By Answers ~ Eric Schmidt

Dr. Eric Schmidt ถือเป็นบุคคลเพียงหนึ่งเดียวที่มีรายได้หลักพันล้านดอลลาร์สหรัฐจากการเป็นลูกจ้าง ที่มีรายได้ตอบแทนจาก Stock Options หรือ หุ้นตอบแทนค่าจ้างเพิ่มเติม โดยไม่ได้เป็นผู้ก่อตั้งหรือผู้ถือหุ้นหลัก… และยังคงเลือกเป็นนักบริหารมือปืนรับจ้างอย่างซื่อสัตย์ มากกว่าที่จะพยายามเป็นเจ้าข้าวเจ้าของทรัพย์สินในกิจการที่ตนเองบริหาร…

There Can Be No Great Accomplishment Without Risk ~ Neil Armstrong

Neil Armstrong เป็นวิศวกรยศเรือโทจาก กองทัพเรือสหรัฐ หรือ U.S. Navy ซึ่งมีประสบการณ์ในภาระกิจระหว่างสงครามเกาหลีถึง 78 เที่ยวบินบนเครื่อง F9F-2 Panthers ในช่วงปี 1951 ในขณะที่ Neil Armstrong อายุเพียง 21 ปี และเที่ยวบินสุดท้ายในสงครามเกาหลี ยุติลงเพราะเครื่องบินของ Neil Armstrong เกี่ยวเคเบิ้ลต่อต้านอากาศยานในภาระกิจบินทิ้งระเบิดในระดับต่ำจนปีกข้างหนึ่งขาด และ Neil Armstrong กลายเป็นเชลยสงคราม ก่อนจะถูกแลกตัวในภายหลัง… 

พระราชบัญญัติคุ้มครองประชาชนในการทำสัญญาขายฝากที่ดินเพื่อการเกษตรกรรมหรือที่อยู่อาศัย พ.ศ. ….

ข่าวการ “มอบคืนโฉนดที่ดิน คืนความสุขให้ประชาชน ลดความเหลื่อมล้ำของสังคม” ที่รัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ใช้กลไกความมั่นคงและกฏหมาย เข้าไปจัดการวงการเงินกู้นอกระบบกลุ่มสัญญาจำนองขายฝากที่ไม่เป็นธรรมและฉ้อโกง จนกลายเป็นผลงานโดดเด่นชิ้นหนึ่งของรัฐบาลชุดนี้ ซึ่งดาบสุดท้ายของการจัดการปัญหาหนี้สินที่เกิดจากสัญญาขายฝากที่อาศัยช่องว่างตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เดิม ก็คือ “พระราชบัญญัติคุ้มครองประชาชนในการทำสัญญาขายฝากที่ดินเพื่อการเกษตรกรรมหรือท่ีอยู่อาศัย พ.ศ. ….” ฉบับนี้นี่เอง