กรณีปลอมปน ชวนเชื่อและโฆษณาเกินจริงในอุตสาหกรรมอาหาร ถือเป็นความเจ็บช้ำอย่างหนึ่งของผู้บริโภคทั่วโลก ซึ่งโดยข้อเท็จจริงของการค้าขายที่ “ต้องมีกำไร” และข้อเท็จจริงของการบริหารจัดการธุรกิจที่ “ต้องเพิ่มกำไร” ซึ่งก็มีกลยุทธ์ชั้นเชิงหรือเล่ห์เหลี่ยมอยู่ไม่กี่รูปแบบหรอกที่สามารถ “รีดเอากำไร” ออกมาได้ไม่ยาก โดยเฉพาะในธุรกิจอาหารที่คนมีเวลาร่ำไรน้อยแค่ไปชนเวลาอาหารมื้อหน้าหรือแค่หายหิวในแต่ละรอบเวลาอาหารเท่านั้น
ถ้าวันหนึ่งท่านเดินเข้าซุปเปอร์มาร์เก็ตเพื่อซื้อข้าวหอมมะลิ เลือกไปเลือกมาท่านหยิบข้าวมาถุงหนึ่งซื้อกลับบ้าน ตอนแกะหุงจึงเห็นว่าข้างถุงเขียนว่าข้าวขาวดอกมะลิ ซึ่งก็เป็นแบรนด์และลายถุงเหมือนที่ดูแล้วดูอีกระหว่างเลือกแต่ดันหยิบผิด… ซึ่งท่านคงโทษตัวเองและกินข้าวขาวไปจนหมดถุง ทั้งๆ ที่เซ็งจากความสับสนที่นักการตลาดสร้างกิมมิค หรือ Gimmick ให้เราดูโง่ได้น้ำตื้นขนาดนั้น
กรณีโฆษณาผักผลไม้ปลอดสารเอย ออแกนิคเอย ทั้งที่สวยน่ากินและแถมรอยหนอนแทะและแมลงเจาะทั้งหลาย หลายกรณีเป็นเพียง “ภาพและคำชวนซื้อ” ที่สร้างมาเพื่อให้ลูกค้าได้รับรู้อย่างที่ลูกค้าต้องการได้รับรู้มากกว่าจะจริงใจหรือตรวจสอบย้อนกลับได้จริงตามคำชวนซื้อ
แน่นอนว่า… คำชวนซื้อเอ่ยอ้างทั้งหลายเป็นปัญหาใหญ่ในอุตสากรรมอาหารและการเกษตรมานาน ไม่นับรวมกิมมิคลับลวงพรางเพื่อทำกำไรอีกร้อบแปดกลยุทธ์ ที่มีใช้และพบเห็นในโลกการค้ามาแต่ไหนแต่ไร… ซึ่งถ้าเสียรู้แค่เซ็งและเจ็บใจในฐานะผู้บริโภคก็คงไม่ใช่เรื่องใหญ่ เพราะธุรกิจที่ทำกำไรจากการทำให้ลูกค้าดูโง่ ก็มักจะถูกลงโทษโดยธรรมชาติในท้ายที่สุด… แต่ประเด็นเสียรู้แล้วส่งผลต่อสุขภาพหรือสวัสดิภาพจากอาหารการกิน ตั้งแต่ปนเปื้อนสารเคมีไปจนถึงเน่าเสียและสะสมเชื้อโรคมากับอาหาร ถือเป็นเรื่องใหญ่ที่อุตสาหกรรมอาหารเองก็พยายามกันมานาน ที่จะสร้างมาตรฐานด้านสุขอนามัยให้อาหารในทุกมิติ จนเราได้เห็นการตั้งห้องแล็บทดสอบผักผลไม้และอาหารสดกันจริงจัง… ไปจนถึงการออกใบรับรองต่างๆ ทางอุตสาหกรรมและแปะตราสัญญลักษณ์โน่นนี่เต็มไปหมดในกลุ่มอาหารแปรรูป
ปี 2019… Allison Kopf ในฐานะ CEO ของ Agrilyst ซึ่งเป็นชื่อเดิมของแพลตฟอร์ม Artemis ได้รับเงินลงทุนใน Series A ที่ 8,000,000 ดอลลาร์สหรัฐ… สิ่งที่ ArtemisAG ทำก็คือสร้างแพลตฟอร์มเพื่อติดตามผลผลิตจากภาคเกษตร โดยเฉพาะพืชอาหารและพืชสมุนไพรเพื่อสกัดสารสำคัญไปใช้ทางยา… ซึ่ง Allison Kopf เลือกดำเนินการช่วงเริ่มต้นกับพืชเศรษฐกิจอย่างกัญชา หรือ Cannabis และ กัญชง หรือ Hemp รวมทั้งพืชผักจากแปลงปลูกด้วยเทคโนโลยีการเกษตรชั้นสูง ซึ่ง Allison Kopf และแพลตฟอร์ม Artimis พัฒนาจนได้แพลตฟอร์ม ERP หรือ Enterprise Resource Planning ในโครงข่ายและห่วงโซ่ข้อมูลเดียวที่สามารถติดตามตั้งแต่เมล็ดพันธ์จนถึงปากผู้บริโภค
ประเด็นเป็นแบบนี้ครับ… แพลตฟอร์มอย่าง Artimis นอกจากจะกลายเป็นใบรับรองในอุตสาหกรรมอาหาร ที่จะมาทดแทนตราสัญญลักษณ์ทั้งหลายแล้ว… รูปแบบการค้าขายอาหารในโลกยุคที่ผู้บริโภคเลือกได้จากข้อมูลที่เชื่อถือได้มากกว่า… การนำมาตรฐานความปลอดภัยที่เชื่อมั่นได้ จนติดตามข้อมูลสิ่งที่ผู้บริโภคจ่ายเงินซื้อเพื่อกินเข้าไปว่าปลอดภัยแค่ไหน จะสร้างเครือข่าย Digitizing Food Safety และเปลี่ยน Landscape หรือภูมิทัศน์ในอุตสาหกรรมอาหารไปอีกมาก
โดยความเห็นส่วนตัวแล้ว… Artimis คงไม่ใช่คำตอบสุดท้ายของอุตสาหกรรมอาหาร แต่แนวทางของ Artimis ชี้นำแนวโน้มจนพบการเคลื่อนไหวของการลงทุนจาก Venture Capital มากมายที่สนใจลงทุนกับ AgTech และ FoodTech ในโมเดลการสร้างมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร… ซึ่งมีเม็ดเงินในอุตสาหกรรมนี้มากที่สุดในโลก
References…
- https://www.ift.org/news-and-publications/food-technology-magazine/issues/2020/december/features/rethink-retool-reinvent
- https://www.forbes.com/sites/lanabandoim/2019/06/26/digitizing-food-safety-tracking-the-supply-chain-from-seed-to-store/?sh=116dc007c93c
- https://www.ift.org/news-and-publications/food-technology-magazine/issues/2020/december/columns/food-safety-and-quality-salmonella-salmonellosis-and-produce
- https://artemisag.com