Defi Scams และ Rug Pull… ฉ้อฉลกลโกงผ่าน DeFi Model

DeFi Scams

ในโลกของ Decentralize Finance หรือ DeFi ทั้งในรูปแบบของ DEX หรือ Decentralize Exchange หรือ ศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนคริปโต… Yield Farming หรือฟาร์มคริปโตกินดอกผล… Liquidity Mining หรือ เหมืองสภาพคล่อง… Collateral Loans หรือ สินเชื่อคริปโตแบบมีหลักประกัน รวมทั้งการเกิดของ Stable Coin มากมายเพื่อใช้เป็นตัวกลางลดความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนผันผวนสูงในโลกคริปโต… ให้นิ่งและวางใจได้แก่นักลงทุน

ซึ่งระบบนิเวศน์ของ DeFi ทั้งหมดนั้น ล้วนคือศูนย์กลางการรวบรวมสินทรัพย์ดิจิทัลก้อนใหญ่จากนักลงทุน ไปกองรวมกันไว้บนอินเตอร์เน็ต… และเมื่อไหร่ก็ตามที่มีการรวบรวมเงินก้อนใหญ่ไปทำอะไรสักอย่าง ความโลภอันเป็นแรงผลักดันระดับสัญชาตญาณของใครบางคนหรือหลายๆ คน… ย่อมเหนี่ยวนำอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ ให้เกิดฉ้อฉลกลโกงขึ้นได้เสมอ

ในโลกของ DeFi ก็ไม่ต่างกัน… ถึงแม้ว่า DeFi ทุกโมเดลจะสร้างขึ้นบน Smart Contract และดำเนินการบน Blockchain ที่โปร่งใส่ตรวจสอบได้ตลอดเวลา… แต่ในทางเทคนิค ต่อให้เป็นโปรแกรมเมอร์ที่สามารถวิเคราะห์โค้ดบน Smart Contract แตกทุกบรรทัด แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะจับความผิดพลาด หรือ Error บนโค้ดโปรแกรมได้จากการอ่านหรือตรวจสอบโค้ดแบบทั่วไปได้… โดยเฉพาะโค้ด Smart Contract ที่จงใจเขียนขึ้นเพื่อเปิดทางให้เกิดฉ้อฉลกลโกงเอาไว้อย่างซับซ้อนซ่อนเงื่อน

ฉ้อฉลกลโกงในโลก Decentralize Finance หรือ DeFi ก็ไม่ต่างจากฉ้อฉลกลโกงในกรณีท้าวแชร์… ที่คนตั้งตัวขึ้นเป็นศูนย์กลางผลตอบแทนการลงทุนอันน่าตื่นตะลึงสำหรับ “คนโลภผู้บกพร่องทางวิจารณญาณ” ทั้งหลาย… มีการออกแบบกับดักโดยใช้ผลตอบแทนการลงทุนเป็นเหยื่อล่อ พร้อมกระแสข่าวผลประโยชน์และการลงทุนที่คนส่วนหนึ่งยังงงงวย และอยู่ในภาวะ FOMO หรือ Fear Of Missing Out หรือกลัวตกกระแส… ดึงดูดเงินลงทุนออกจากกระเป๋าคนจำนวนมากไปไว้ที่ตัวเอง… และที่เหลือก็แค่หอบเงินหนีไป

ในวงการ DeFi จึงมีคำว่า “Defi Scams และ Rug Pull” เกิดขึ้น เพื่อนิยามอาชญากรรมในโลก Cryptocurrencies และ Decentralize Finance ที่นักลงทุนดิจิทัล หรือ Digital Investors ต้องรู้จักและรอบคอบเอาไว้ให้มาก

Defi Scams และ Rug Pull เกิดขึ้นง่ายๆ โดยการโปรโมทโครงการระดมทุนผ่าน Cryptocurrencies แบบต่างๆ ไม่ต่างจากการโปรโมท DeFi Projects ทั่วไป… กระทั่งมีการระดมเงินลงทุนจากนักลงทุนที่ต้องการผลกำไรตอบแทน และโอนเงินลงทุนใส่เข้าไปในระบบ และนั่งเฝ้ารอผลตอบแทนที่ค่อยๆ เติบโตขึ้น ซึ่งแสดงเป็นตัวเลขในบัญชีบน Decentralize Finance Platform ที่ตั้งขึ้นเพื่อการหลอกลวง หรือ Scams… และก่อนจะถึงวันที่นักลงทุนจะได้เก็บเกี่ยวผลประโยชน์ โดยการโอนผลตอบแทนกลับเข้า Wallet ส่วนตัวเพื่อนำผลกำไรมาแปลงเป็นสินทรัพย์ส่วนตัวในชีวิตจริง… Defi Scams Platform ก็ปิดตัวหายจ้อย พร้อมคริปโตมูลค่ามหาศาลจากนักลงทุนมากมายที่หลงเชื่อการหลอกลวงในคราวเดียวกันนี้ โดยมีสำนวนนักพนันอธิบายปรากฏการณ์นี้ให้เห็นภาพ “หอบเงินชาวบ้านหนี หรือ Rug Pull” แบบเห็นภาพเจ้ามือไฮโล เปิดรับแทงพนันจนนักเล่นวางเงินเต็มเสื่อ แล้วก็รวบเสื่อพร้อมเงินหนีไปดื้อๆ ต่อหน้าต่อตา

ผมขอข้ามรายละเอียดทางเทคนิคและการตรวจสอบความปลอดภัยของการลงทุนไปก่อนในบทความนี้ครับ… หนึ่งเพราะรายละเอียดใน Defi Scams แต่ละรูปแบบและแต่ละแพลตฟอร์มก็มีประเด็นปลีกย่อยมากมาย

ในเบื้องต้นให้ท่านทราบแต่เพียงว่า… Defi Scams เป็นเรื่องใหญ่ที่ต้องระมัดระวังอย่างมากหากท่านต้องการลงทุนและหาผลประโยชน์กับ Decentralize Finance… โปรดเริ่มต้นที่ศึกษารายละเอียดของแต่ละแพลตฟอร์มให้มาก ใช้ข้อมูลจากแหล่งที่เชื่อถือได้เท่านั้น และระมัดระวังการเสนอผลตอบแทนที่ผิดปกติ

และได้โปรดใช้ความรู้แทนความโลภ… ทำเงิน!!!

References…

Share this post

Add Properea's Friend

เพิ่ม Properea.com เป็นเพื่อนทาง Line
ท่านจะได้ Link บทความใหม่ส่งตรงให้อย่างสม่ำเสมอโดยรบกวนแต่น้อย

Related Post

Never Give Up. Today Is Hard, Tomorrow Will Be Worse, But The Day After Tomorrow Will Be Sunshine – Jack Ma

Alibaba ก่อตั้งขึ้นในปี 1998 ด้วยวิสัยทัศน์การเป็นตลาดกลางแบบค้าส่งในจีนเป็นภาษาอังกฤษ… ซึ่ง Jack Ma และทีมตั้งต้นนำ Alibaba.com เปิดตัวในช่วงเดือนเมษายน ปี 1999 ด้วยโมเดลธุรกิจแบบ B2B หรือ Business–to–Business และอีกหนึ่งปีต่อมา… Softbank โดย มาซาโยชิ ซน หรือ Masayoshi Son ก็ใส่เงินลงทุนก้อนแรก 20 ล้านดอลลาร์สหรัฐให้ Alibaba ในฐานะ Angel Fund…

อนุมัติสินเชื่อบ้านล้านหลังระยะที่ 3… วงเงิน 2 หมื่นล้านบาท

โครงการสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยแห่งรัฐ ระยะที่ 3 หรือ โครงการบ้านล้านหลัง ระยะที่ 3… ซึ่งที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ประจำวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 มีมติเห็นชอบ “โครงการสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยแห่งรัฐ (โครงการบ้านล้านหลัง ระยะที่ 3) โดย คุณอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ให้ข้อมูลว่า… เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2566 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบโครงการสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยแห่งรัฐระยะที่ 3 หรือ โครงการบ้านล้านหลัง ระยะที่ 3 ของธนาคารอาคารสงเคราะห์ เพื่อสนับสนุนให้ประชาชนผู้มีรายได้น้อยมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองในราคาที่ไม่สูง และ เหมาะสมกับศักยภาพของประชาชนแต่ละกลุ่ม โดยเฉพาะกลุ่มผู้มีรายได้น้อยที่ไม่สามารถเข้าถึงสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ กลุ่มวัยทำงาน หรือ ประชาชนที่กำลังเริ่มต้นสร้างครอบครัว รวมถึงกลุ่มผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นโครงการต่อเนื่องจากโครงการบ้านล้านหลัง ระยะที่ 2 ที่มียอดคำขอสินเชื่อเต็มกรอบวงเงินแล้ว โดยมียอดอนุมัติสินเชื่อแล้วจำนวน 22,240 ราย เป็นจำนวนเงิน 19,937.46 ล้านบาท 

วิกฤตอุตสาหกรรมก่อสร้างไทย

ตังเลขจากสมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทย ซึ่งมสมาชิกเป็นบริษัทรับเหมาก่อสร้างกว่า 26,000 บริษัท ซึ่งแจ้งปิดกิจการแล้วกว่า 4,000 บริษัท โดยส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบจาก “ต้นทุนแพงเกินค่างานที่ทำสัญญาไว้” โดยเฉพาะสัญญาก่อสร้างกับรัฐที่มีสัดส่วนกว่า 55% ของมูลค่างาน 1,300,000 ล้านบาท หรือ 1.3 ล้านล้านบาท คุณลิซ่า งามตระกูลพานิช นายกสมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ หรือ TCA ให้ข้อมูลกับสำนักข่าวประชาชาติธุรกิจว่า… วงการรับเหมาก่อสร้างเป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ของประเทศ

การโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดให้คนต่างชาติทั่วประเทศ Q4/2021

สถานการณ์การโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดของคนต่างชาติได้ผ่านพ้นจุดต่ำสุดในไตรมาส 3 ปี 2021 มาแล้ว แต่ในไตรมาส 4 ปี 2022 ยังคงชะลอตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนหน้า เนื่องจากมีการแพร่ระบาดของโควิดสายพันธุ์ Omicron ซึ่งส่งผลให้รัฐบาลจีน ซึ่งเป็นสัญชาติที่เป็นกำลังซื้อหลักของตลาดห้องชุดในประเทศไทยในช่วงหลายปีที่ผ่านมา มีการจำกัดการออกหนังสือเดินทาง โดยจะออกให้กับผู้ที่มีความจำเป็นที่ต้องเดินทางไปต่างประเทศ ด้วยวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษา การทำงาน และ การทำธุรกิจ เท่านั้น และ ยังระงับการออกหนังสือเดินทาง สำหรับการเดินทางที่ไม่มีความจำเป็น เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโควิดในต่างประเทศ ยังคงรุนแรง ซึ่งการเดินทางข้ามพรมแดนก่อให้เกิดความเสี่ยงสูง เนื่องจาก รัฐบาลจีนยังคงยึดมั่นในแนวทาง “ผู้ติดเชื้อโควิดเป็นศูนย์”