คำว่า Impermanent Loss แปลตรงตัวว่าการสูญเสียชั่วคราว ซึ่งเป็นคำที่กำหนดขึ้นใช้ในวงการ DeFi เป็นหลัก เพื่อใช้อธิบาย “โอกาสในการทำกำไร และ โอกาสในการขาดทุน รวมทั้งโอกาสในการขาดทุนกำไร” จากการลงทุนกับ DeFi หรือ Decentralized Finance ซึ่งผลตอบแทนการลงทุนมีพลวัตรสูงทั้งจากอัตราแลกเปลี่ยนที่ผันแปรไปตามราคาคริปโตที่เกี่ยวข้องกับพอร์ตลงทุน บวกกับกลไกการผลิตผลตอบแทนการลงทุนที่กำหนดไว้กับ Smart Contract ของแพลตฟอร์ม DeFi นั้น… รวมทั้งพลวัตรของระบบนิเวศของอุตสาหกรรมการเงินบน DeFi Model
กรณีศึกษา Impermanent Loss จะมีเหตุการณ์ประมาณ… สมมุติว่าผมฟาร์มเหรียญ 1 ETH ด้วยอัตราแลกเปลี่ยน 1,000 DAI ลงไปใน Pool ที่มีนักลงทุนอื่นๆ ฟาร์มเหรียญ ETH อีก 9 บัญชีๆ ละ 1 ETH ซึ่งจะทำให้ผมมีสัดส่วนอยู่ใน Pool ที่มีสภาพคล่องอยู่ 10 ETH ในเวลานั้น 10% ของ Total Liquidity ด้วยอัตราส่วนมูลค่า 10/10,000 ETH/DAI… แต่อีก 24 ชั่วโมงต่อมาเกิดอัตราแลกเปลี่ยน DAI/ETH เพิ่มขึ้นไปเป็น 2,000 DAI/ETH… สิ่งที่จะเกิดขึ้นก็คือ อัตราส่วน ETH กับ DAI ใน Pool จะกลายเป็น 10/20,000 ETH/DAI… ถ้าผมถอน ETH ออกมาครึ่งหนึ่ง หรือ 0.5 ETH เพื่อขายเอา 1,000 DAI คืนทุนไปก่อน… ซึ่งจะทำให้ผมยังเหลือ 1,000 DAI ใน Pool เท่าเดิม… แต่สัดส่วนใน Pool ของผมถูกลดลงไปเหลือ 5% เรียบร้อยแล้ว… นั่นแปลว่า ผลตอบแทนที่ผมจะได้จาก Pool ซึ่งได้จากค่าธรรมเนียมและธุรกรรมของ Pool คล้ายดอกเบี้ย ได้ลดลงเหลือ 5% ตามไปด้วย
ประเด็นก็คือ… กรณีผมเอา 0.5 ETH ที่ถอนออกไปเทรดเป็นดอลลาร์สหรัฐก็จะได้กำไรงอกมา 1,000 USD ตามอัตราแลกเปลี่ยน 1 DAI/USD ซึ่งเป็น Stable Coin บวกกับกำไรจาก Pool ที่อัตราสมมุติว่าอยู่ที่ 10% หรือ 10 DAI… ผมก็จะได้ผลตอบแทน หรือ กำไรจาก Pool เพียง 5% หรือ 5 DAI ผลตอบแทนการลงทุนจะเป็น 1,000 + 1,000 + 5 USD ในเวลานั้น… แต่ถ้าผมไม่ถอน ETH ออกเลย พอร์ตของผมจะมีตัวเลขกำไรในเวลาเดียวกันเท่ากับ 2,000 + 10 USD เพราะกำไรจาก Pool ของผมยังอยู่เต็ม 10% นั่นเอง… ซึ่งอัตราแลกเปลี่ยนระหว่าง ETH/DAI ที่เพิ่มขึ้นทั้งหมดจะยังคงเห็นตัวเลขการเติบโตของพอร์ตลงทุนอ้างอิง DAI หรือ USD ฝั่งเดียว ซึ่งลวงตาผลตอบแทนของฝั่ง ETH ใน Pool ให้เกิด Impermanent Loss ขึ้นมา
สิ่งที่น่าสนใจก็คือ… ในสภาพที่เป็นจริงของระบบนิเวศ DeFi ไม่ได้ง่ายๆ ตรงไปตรงมาเหมือนตัวอย่างที่ยกมา ซึ่งขาดรายละเอียดและแง่มุมของเหตุการณ์จริงอีกมาก… โดยเฉพาะการมีอยู่ของนักลงทุน Arbitrage ที่ไล่ล่าอัตราแลกเปลี่ยนไปตามแพลตฟอร์ม DeFi ด้วยเทคนิคซอฟท์แวร์ภายในไม่กี่วินาที โดยหากำไรจากส่วนต่างอัตราแลกเปลี่ยนผ่ายแพลตฟอร์มแบบ DEX หรือ Decentralized Exchange… ทำให้ทั้งสัดส่วนสภาพคล่องใน Pool กระเพื่อมขึ้นลงตลอดเวลา และ ทำให้ผลตอบแทนที่ควรจะได้จาก Pool กระเพื่อมขึ้นลงตลอดเวลาไปด้วย จนเห็นสินทรัพย์ใน Pool ขึ้นลงตามสภาวะให้วูบไหวไปด้วย… ซึ่งแม้แต่การฟาร์มเหรียญ Stable Coin ที่ตรึงราคาเหรียญไว้กับ USD หนึ่งต่อหนึ่งก็มีการกระเพื่อมขึ้นลงของผลตอบแทนจากปัจจัยเชิงระบบนิเวศของ DeFi เองให้เกิดตัวเลขผลตอบแทนการลงทุนแบบไม่คงที่ได้ตลอดเวลาไม่ต่างกัน
การจะเลือกลงทุนกับ DeFi จึงต้องศึกษา “ข้อเท็จจริงเชิงโอกาส” รวมทั้งค่าใช้จ่ายแฝงอื่นๆ ที่ถูกกำหนดไว้ในกลยุทธ์การลงทุน ซึ่งต้องแลกเปลี่ยนคริปโตไปมากับเงินสกุลหลักที่เราใช้ซื้อชานมไข่มุกกินได้… ให้รอบคอบถี่ถ้วนเสมอ
กรณีของ Impermanent Loss ซึ่งชัดเจนว่าเป็นหลุมพรางโอกาสในการหาผลตอบแทนจากการลงทุนกับ DeFi Model ซึ่งจังหวะการวางและถอนการฟาร์มทุน เมื่อคำนวณร่วมกับอัตราแลกเปลี่ยนในขณะนั้น… จะมี “โอกาสในการทำกำไรสูงสุด หรือ โอกาสสูญเสียกำไรที่ควรจะเสียให้น้อยที่สุด” นั่นเอง
Impermanent Loss หรือ ภาวะราคาสินทรัพย์ลงทุนที่หายไปชั่วขณะหนึ่ง ซึ่งเป็นชั่วขณะที่ “ไม่ควรตัดสินใจทำธุรกรรม” เพื่อให้เสียโอกาสไปจริงๆ โดยเฉพาะเมื่อราคาของสินทรัพย์ลงทุนใน Pool มีการเปลี่ยนแปลงกระทบ “จิตวิทยาการลงทุน” ไม่ต่างจากการเทรดลงทุนเช่นกัน…
คำแนะนำคือ… นักลงทุนต้องวางแผนล่วงหน้าให้รู้ว่า “การเปลี่ยนแปลงราคาของสินทรัพย์ลงทุนใน Pool อย่างไร แค่ไหน ให้ผลตอบแทนเท่าไหร่” ซึ่งสามารถคำนวณไว้ล่วงหน้า และ กำหนดเป็นกลยุทธ์การทำธุรกรรมลงทุนเตรียมไว้ เช่น
- ราคาเปลี่ยน 125 % = –0.6%
- ราคาเปลี่ยน 150 % = –2.0%
- ราคาเปลี่ยน 175 % = –3.8%
- ราคาเปลี่ยน 200 % = –5.7%
- ราคาเปลี่ยน 300 % = –13.4%
- ราคาเปลี่ยน 400 % = –20.0%
- ราคาเปลี่ยน 500 % = –25.5%
ข่าวดีก็คือ… ในอินเตอร์เน็ตมี Impermanent Loss Calculator ไว้บริการนักลงทุนมากมายครับ… Google หา และ เลือกใช้ในแบบที่เข้ากับกลยุทธ์การลงทุนของตัวเองให้เจอก็พอ เพราะฉะนั้นผมขอข้ามการแนะนำสูตรคำนวณ และ ตัวอย่างการคำนวณไปทั้งหมด และ โดยทั่วไปแล้ว ข้อมูล Impermanent Loss ของแพลตฟอร์ม DeFi หลักๆ จะมีคนทำตัวเลขไว้อยู่แล้วด้วย เพราะถือว่าเป็นตัวเลขที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจที่เป็นประโยชน์ทั้งกับนักลงทุน และ แพลตฟอร์ม DeFi… และ แนะนำให้นักลงทุนทุกท่านให้ความสำคัญกับข้อมูลอื่นๆ ก่อนการลงทุนให้มาก และ อย่าลืมดูอัตราส่วนกำไรเมื่อเทียบกลับไปที่วันเวลาที่เริ่มฟาร์มกับ Pool ซึ่งเป็น Pintail หรือ หมุดแรก ซึ่งเป็นจุดอ้างอิงหลักด้วย และ อย่าทำฟาร์มบนดอยให้ตัวเองติดกับดักอัตราแลกเปลี่ยนอยู่บนที่สูงด้วย
References…