Decentralized Finance… การล่มสลายของกลไกการกู้ยืมผ่านธนาคาร

Digital Lending

Defi หรือ Decentralized Finance หรือกลไกการเงินแบบกระจายศูนย์ ถือว่าเป็นคำฮิตที่สุดมายาวนานนับตั้งแต่กระแส Cryptocurrencies ร้อนแรงขึ้นในปี 2017 พร้อมๆ กับการเกิด Decentralized Application หรือ dApp ซึ่งมีศูนย์กลางเกาะเกี่ยวอยู่กับ Ethereum Blockchain… และเมื่อผ่านมาถึงปัจจุบัน กระแส Defi นอกจากจะไม่แผ่วลงแล้ว ยังร้อนแรงสะท้อนผ่านการใช้เป็น Keyword ตั้งแต่มิติการค้นหาความรู้ไปจนถึงมิติในการพัฒนาแพลตฟอร์ม และมีประเด็นพูดคุยกันมากมายบนแพลตฟอร์มสื่อสารหลัก ที่นักนิยม Cryptocurrencies ใช้สื่อสารกันอย่าง Telegram และ Raddit

Defi โดยหลักการแล้วก็คือระบบการฝากถอนกู้ยืมผ่านแพลตฟอร์ม โดยใช้ Smart Contracts หรือสัญญาอัจฉริยะบน Ethereum Blockchain ในการบันทึกนิติกรรมและรายการธุรกรรม… และแพลตฟอร์ม Defi นี่เองคือตัวจริงของระบบการเงินยุคดิจิทัลที่พูดถึงกันมานานในชื่อ Digital Lending ตั้งแต่ก่อนที่โลกจะได้ยินชื่อ Bitcoin เสียอีก… ซึ่ง Defi ถูกสร้างขึ้นภายใต้แนวคิดระบบการเงินไร้คนกลาง หรือ Decentralized Finance สามารถทำธุรกรรมได้เทียบเท่าระบบการเงินเก่าแก่ที่มีสถาบันการเงินอย่างธนาคารทำอยู่ โดยเฉพาะการกู้ยืม การค้ำประกันและการโอนสินทรัพย์ในตลาดเงิน ที่สร้างอำนาจต่อรองและความมั่งคั่งให้สถาบันการเงินมายาวนาน

และแล้วโลกการเงินซึ่งธนาคารถูกตัดออกจากห่วงโซ่อย่างสิ้นเชิง… ก็เกิดขึ้นและจะดำเนินไปตลอดกาล

ในทางปฏิบัติ… Defi Platform จะเป็นแอพที่สร้างขึ้นเพื่อให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัล ซึ่งก็คือคริปโตที่ผู้ฝากถือครองอยู่… แต่ละแอพหรือแต่ละแพลตฟอร์มก็จะมีโมเดลการเสนอ “ดอกเบี้ยตอบแทน” ให้กับผู้ฝากเช่นเดียวกับธนาคาร… ในขณะเดียวกันก็มีโมเดลเสนอให้กู้ยืมสินทรัพย์ดิจิทัลหรือคริปโต โดยผู้กู้จะต้องทำตามเงื่อนไขการกู้ยืม ซึ่งส่วนใหญ่จะมีทั้งการวางหลักประกัน รวมทั้ง “ดอกเบี้ยจ่าย” ตามที่แพลตฟอร์มออกแบบโมเดลไว้

ในทางเทคนิค… Defi Platform เองมักจะอยู่ในฐานะ “ผู้กู้” โดยจะนำคริปโตที่มีลูกค้าเอามาฝาก ไปใช้ทำธุรกรรมอื่นๆ ในตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลให้งอกเงย ตั้งแต่นำไปตั้งกองทุนซื้อขายแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัล หรือ เทรดคริปโต โดยตรง รวมทั้งนำไปใช้พัฒนาธุรกิจจริงๆ เพื่อสร้างรายได้ให้งอกเงยกลับมาจ่ายดอกเบี้ยให้ผู้ฝากคริปโต… ส่วนของผู้กู้ที่เป็นสมาชิกของแพลตฟอร์มจริงๆ มีไม่มาก เว้นแต่จะเป็นกองทุนที่สะสมสินทรัพย์ดิจิทัลระยะยาว ที่ยินดีเอาสินทรัพย์ดิจิทัลที่ถือครองอยู่อย่าง Bitcoin หรือ Ethereum เก็บไว้เฉยๆ รอราคาปรับขึ้นอยู่แล้ว… จึงโอน Bitcoin หรือ Ethereum ที่ถือครองอยู่ไปฝากกับ Custody Platform หรือ Defi Platform โดยตรง และใช้ Bitcoin หรือ Ethereum ที่ถือครองอยู่เป็น “สินทรัพย์คำ้ประกันการยืม” เพื่อเอาคริปโตหรือสินทรัพย์ดิจิทัลที่ยืมได้ มาลงทุนโดยไม่กระทบยอดฝากที่ถูกล๊อคเป็นสินทรัพย์ค้ำประกัน

และทุกคนบนโลกนี้ก็สามารถยืมได้หมดภายใต้เงื่อนไขที่แพลตฟอร์มสร้างเป็น Smart Contracts เอาไว้อย่างเท่าเทียมและเสมอภาค ไม่มีเส้นสายหรือต้องรู้จักเป็นส่วนตัว หรือแม้แต่ต้องเสียเวลาประเมินหลักประกันใดๆ ให้วุ่นวาย

ประเด็นเป็นแบบนี้ครับ… Defi Platform ทั้งหมดที่ให้บริการอยู่ในปัจจุบัน จะมี Token ซึ่งเป็น Digitalcurrency ของตัวเองเป็นตัวกลางในการฝากถอนกู้ยืม ซึ่งก็รับแลกเปลี่ยนเป็นคริปโตสกุลหลักทั้ง BTC หรือ ETH และอื่นๆ ได้หมด… กรณีการทำรายการฝาก ส่วนใหญ่จะมีเงื่อนไขจูงใจให้ฝากโดยมี Token ของแพลตฟอร์มเป็นรางวัล เหมือนธนาคารให้ของชำร่วยเป็นร่มหรือกระปุกออมสิน แต่รางวัลของ Defi สามารถเอาไปเทรดในกระดานแลกเปลี่ยนได้ทันที ซึ่งก็มีมูลค่าตามอัตราแลกเปลี่ยนในขณะนั้น… นั่นแปลว่า การฝากสินทรัพย์กับ Defi Platform ได้รับผลประโยชน์ทั้ง “ดอกเบี้ยและรางวัล” เหมือนได้ผลตอบแทนสองเท่า ยิ่งถ้าเป็นช่วงอัตราแลกเปลี่ยนอยู่ในช่วงขาขึ้นด้วยแล้ว ผลตอบแทนส่วนที่สามยังจะได้จากอัตราแลกเปลี่ยนที่เพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับเงินสกุลหลักที่ใช้จ่ายในชีวิตประจำวันนั้นด้วย… แต่ถ้าอัตราแลกเปลี่ยนอยู่ในช่วงขาลงและซบเซา การเก็บสินทรัพย์ดิจิทัลเอาไว้ในกองฝาก ก็ยังมีมูลค่าของสินทรัพย์ดิจิทัลอยู่เท่าเดิมและยังได้ดอกเบี้ยเช่นเดิม… แม้บางเงื่อนไขอาจจะต้องเพิ่มหลักทรัพย์ค้ำประกันบ้าง ซึ่งธนาคารก็มีเรียกหลักทรัพย์เพิ่มเหมือนกัน ในกรณีที่หลักทรัพย์ค้ำประกันมีการเสื่อมราคา

ส่วนสมมุติฐานที่ว่า… ถ้า “แพลตฟอร์มล้ม” จะหมดตัวมั๊ย?… แน่นอนครับ! ยอดที่ท่านฝากอยู่มีปัญหาแน่และร้องเอากับใครไม่ได้ ซึ่ง Defi เป็นแพลตฟอร์มการลงทุน ที่พอร์ตมีโอกาสหายเกลี้ยงอยู่เสมอ ซึ่งนักลงทุนต้องยอมรับความเสี่ยงเองอยู่แล้วแต่ต้น… และ Defi Platform ไม่ได้ออกแบบมาเพื่อการออมทรัพย์อย่างมั่นคงอยู่แล้ว และส่วนใหญ่การฝากเอาดอกเบี้ยก็มีช่วงเวลาสั้นเป็นรายสัปดาห์ให้เลือกฝาก เปิดทางให้คนที่อยากเข้าเร็วออกเร็วสามารถฝากถอนได้เองตามอัธยาศัย

และจากโครงสร้างผลตอบแทนหลายทางในมิติของการ “ฝากลงทุน” นักลงทุนจึงเรียก Defi Platform ว่า Yield Farm และเรียกกิจกรรมการลงทุนของเหล่านักลงทุนกับ Defi Platform ว่า Yield Farming และยังเรียกตัวเองว่า Yield Farmer อีกด้วย

ข้อมูล ณ วันที่ 5 กุมภาพันธ์ ปี 2021… เวบไซต์ DefiRate.com บันทึกขึ้อมูล Defi Platform ว่า… มีแพลตฟอร์มที่อ้างอิง Stable Coin สองสกุลหลักใน Digital Lending Platform คือ DAI APR และ USDC APR อยู่ 7 Platform ที่ขึ้นรายงานความเคลื่อนไหวของอัตราดอกเบี้ยอยู่ คือ dYdX… bZx & Fulcrum… Nexo… Compound Finance… Aave… Coinbase… และ Bitfinex 

… ตอนหน้าผมจะแตกประเด็น Stable Coin กับการประเมินสินทรัพย์ดิจิทัลเชื่อมโยงการลงทุนทั้ง Defi และ Trading ครับ! 

References…

Share this post

Add Properea's Friend

เพิ่ม Properea.com เป็นเพื่อนทาง Line
ท่านจะได้ Link บทความใหม่ส่งตรงให้อย่างสม่ำเสมอโดยรบกวนแต่น้อย

Related Post

marketing-target-audience

Mindset, Culture, Team Leader และ Software… พร้อมไว้หลังวิกฤต

Real Estate is Real ไปตลอดกาลแน่นอน และสัญญาณการปรับเปลี่ยนทั้งหลาย เป็นการปรับเปลี่ยนเชิงเทคนิควิธีการจัดการ ที่จะยกระดับไปดิจิตอลเร็วขึ้นกว่าที่คาดกันไว้หลายปีเท่านั้นเอง… เตรียมทักษะดิจิตอลให้พร้อม เตรียมเครื่องมือทำธุรกิจยุคดิจิตอลให้พร้อม… คุณโคหวิด หนึ่งเก้าคงไม่ให้พวกเราได้พักเหนื่อยยกถอนหายใจนานนักหรอก

NEO Pattaya…

ความเคลื่อนไหวของเมืองท่องเที่ยวเบอร์หนึ่งของเมืองไทยอย่างเมืองพัทยา ภายใต้การนำของคุณสนธยา คุณปลื้ม ในฐานะนายกเมืองพัทยาที่ผลักดันเมืองท่องเที่ยวเบอร์ต้นๆ ของโลกแห่งนี้… ลอกคราบสู่ยุคดิจิตอล

Mortgage Crowdfunding… สินเชื่อบ้านจากมหาชน

ปรากฏการณ์ Digital Revolution ที่เริ่มส่งผลกระทบที่ชัดเจนต่อเราท่าน ซึ่งกูรูที่เข้าใจท่องแท้หลายสำนัก เห็นพ้องที่จะเรียกว่า “การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4”  และต่างก็เชื่อว่า นี่เป็นการปฏิวัติอุตสาหกรรมด้วยเทคโนโลยีดิจิตอล ที่จะสร้างตำนานไว้ในประวัติศาสตร์ของมวลมนุษยชาติ เช่นเดียวกับการปฏิวัตอุตสาหกรรมช่วงปี 1760 หรือเมื่อเกือบ 300 ปีก่อน ที่แรงงานมนุษย์ถูกแทนที่ด้วยเครื่องจักรไอน้ำในอังกฤษ

Brick Laying Robot

Hadrian X และ Fastbrick Wall System

FBR ประกาศความสำเร็จในการสร้างบ้านแบบหลายห้องโดยใช้ซอฟแวร์ 3D CAD และหุ่นยนต์ก่ออิฐทั้งหมดโดยไม่ต้องใช้มนุษย์ควบคุมในปี 2016… และได้สัญญาจ้างสร้างบ้านกว่า 50,000 หลังในซาอุดิอาระเบีย กับ Mohammed Bin Muammar, Chairman ของหน่วยงานการเคหะแห่งชาติของซาอุดิอาระเบีย หรือ National Housing Company for Housing Services