ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ได้ออกรายงานดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการธุรกิจพัฒนาที่อยู่อาศัย หรือ Developers ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ซึ่งเป็น Current Situation Index ข้อมูลจากช่วงไตรมาส 4 ปี 2562… ได้ตัวเลขเท่ากับ 44.4 จุด ลดลงจากไตรมาสก่อนหน้า หรือ Q/Q ซึ่งมีค่าดัชนีอยู่ที่ 48.2 จุด สะท้อนให้เห็นถึงความกังวลใจของบรรดา Developers
ตัวเลขดัชนีความเชื่อมั่นในภาวะปัจจุบันของผู้ประกอบการกลุ่ม Listed Companies หรือกลุ่มบริษัทมหาชนในตลาดหลักทรัพย์… มีค่าดัชนีเท่ากับ 44.6 จุด ลดลงจากตัวเลขของไตรมาสก่อน ซึ่งมีค่าดัชนีอยู่ที่ 50.7 จุด… โดยความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการกลุ่ม Listed Companies ลดลงต่ากว่าค่ากลางที่ระดับ 50 อีกครั้ง หลังจากที่มีค่าดัชนีต่ากว่า 50 ในไตรมาสที่ 2 ปี 2562
ส่วนผู้ประกอบการกลุ่ม Non-listed Companies มีค่าดัชนีเท่ากับ 44.1 จุด ลดลงจากตัวเลขของไตรมาสก่อน ซึ่งมีค่าดัชนีอยู่ที่ 44.5 จุด ซึ่งต่ำกว่าค่ากลางที่ระดับ 50 จุด
แสดงให้เห็นว่าผู้ประกอบการทั้ง 2 กลุ่มมีความเชื่อมั่นลดลงและมีมุมมองในเชิงลบต่อสถานการณ์ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในภาวะปัจจุบัน
ข้อมูลก็ประมาณนี้ครับ… และตัวเลขที่ออกมาก็ไม่ได้น่าแปลกใจตรงไหน ซึ่งศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์เอง ก็ใช้เครื่องมือวิจัยธรรมดาอย่างการออกแบบสอบถามเพื่อจัดทำดัชนีขึ้นมาเพื่อให้ธนาคารเองใช้ประกอบข้อมูลอื่นๆ รวมทั้งเผยแพร่ข้อมูลทั่วไปที่แบ่งปันได้กับสาธารณะเท่านั้น… แต่ก็เป็นหลักฐานทางสถิติที่ใช้อ้างอิงได้เช่นกัน… ต้นฉบับรายงานผมแนบลิงค์ไว้ใต้อ้างอิงเช่นเดิมสำหรับท่านที่ต้องการทำข้อมูลใส่ Data Bank ซึ่งในรายงานก็มีข้อมูลในตารางไว้ให้เรียบร้อย
โดยทัศนส่วนตัวอยากให้หลายท่านใส่ใจข้อมูล และสร้างวัฒนธรรมการใช้ข้อมูลให้เป็นอุปนิสัย… การเผยแพร่ข้อมูลพื้นๆ ที่ใครๆ ก็หาเจอและรับรู้แบบนี้… ผมมีความคาดหวังลึกกว่านั้นเกี่ยวกับข้อมูล ซึ่งข้อมูลเศษเสี้ยวแบบนี้แทบจะไร้ค่าที่จะเสียเวลาอ่าน แต่ถ้าท่านเชื่อเหมือนผมที่มองข้อมูลว่ามีค่า… ท่านก็น่าจะมองเศษเสี้ยวของข้อมูลเหล่านี้เหมือนท่านเห็นเหรียญ 25 สตางค์หล่นพื้น ที่ท่านแค่เห็นค่าของมันและยอมหยุดก้มเก็บ… ท้ายที่สุดจะส่งผลต่อชุดความคิดและพฤติกรรมส่วนตัวในระยะยาว
ในอดีต… การหาข้อมูลน้อยนิดได้จากการค้นคว้าวิจัยเป็นส่วนมาก… หลักสูตรการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาขึ้นไป จึงให้ความสำคัญกับการสอนทำวิจัยในสายอาชีพที่นักศึกษาเรียน… แต่เมื่อยุคข้อมูลดิจิตอลเติบโตเต็มรูปแบบ กลไกการทำวิจัยส่วนการหาข้อมูลจะจำเป็นน้อยลงจนหายไปในที่สุด… โดยเฉพาะการหาข้อมูลเชิงปริมาณ ซึ่งเทคโนโลยี Data Mining ที่ปัจจุบันขับเคลื่อนด้วย AI/ML ทำได้ดีกว่า เร็วกว่าและมากกว่าจนเทียบกันไม่ได้
ที่จะบอกก็คือ… ข้อมูลนั้นหาไม่ยากแล้วในปัจจุบัน แต่ชุดความคิดหรือ Mindset ในการใช้ข้อมูลยังหายากอยู่มากในวันที่คนส่วนใหญ่ก็ยังไม่รู้ว่า… ข้อมูลนั้นสำคัญแค่ไหน!

อ้างอิง