Cryptocurrency Wallet… จุดเริ่มต้นในโลกคริปโต

Crypto Wallet

ในโลกของคริปโตและ Blockchain ซึ่งในทางเทคนิคแล้ว… Blockchain เป็นฐานข้อมูลรูปแบบหนึ่ง บนนิยามที่ออกแบบไว้เพื่อบันทึกข้อมูลตามโครงสร้างที่ออกแบบไว้ โดยมีคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายช่วยกัน “บันทึกและสำเนาข้อมูลเข้ารหัส” ต่อกันไปเรื่อยๆ ซึ่งการบันทึกข้อมูลแต่ละ Block มีค่าใช้จ่ายในการบันทึกข้อมูลทุกครั้ง… การใช้งาน Blockchain จึงต้องมี Cryptocurrency ไว้จ่ายค่าธรรมเนียมการใช้ฐานข้อมูล ไม่ต่างจากการเช่าฐานข้อมูลใช้ในแบบอื่นบนระบบนิเวศน์ซอฟท์แวร์

ในบางนิยามของ Blockchain จึงหมายถึงฐานข้อมูลแบบ Pay-Per-Use หรือ PPU หรือ ฐานข้อมูลแบบใช้เมื่อไหร่จ่ายเมื่อนั้น … การพูดถึง Blockchain จึงแยกกันออกยากมากกับ Cryptocurrency ด้วยเหตุนี้ ถึงแม้ว่าในทางเทคนิคแล้ว การใช้งาน Blockchain หลายรูปแบบไม่ต้องกำหนดให้มี Cryptocurrency ก่อนบันทึกลงบล็อกก็ได้ โดยเฉพาะ Blockchain แบบปิดที่ใช้ในวงแคบ หรือ Private Blockchain… แต่สำหรับ Public Blockchain ซึ่งใช้งานเป็นแพลตฟอร์มสาธารณะ… การกำหนดให้ต้องมี Cryptocurrency ไว้จ่ายค่าธรรมเนียม ถือเป็นเรื่องเหมาะสมด้วยประการทั้งปวงอยู่แล้ว

แพลตฟอร์มที่ใช้งาน  Blockchain สารพัดเทคโนโลยี โดยเฉพาะแพลตฟอร์มในกลุ่ม Dapp หรือ Decentralized Applications ซึ่งออกแบบใช้ความโดดเด่นของ Blockchain Technology ในเรื่องการกระจายศูนย์ เพื่อกระจายอำนาจเหนือข้อมูล จนใครก็ไม่สามารถเข้ามาแก้ไขข้อมูลได้อีกเลยหลังการบันทึกและยืนยันธุรกรรมไปแล้ว… ซึ่งโดยหลักการและวิธีการถือว่าโปร่งใส ปลอดภัยและตรวจสอบได้ในระดับข้อมูลสาธารณะที่เผยแพร่ได้โดยไม่ละเมิด

ในการใช้งานจริงในกรณี Public Blockchain ซึ่งมี Cryptocurrency พ่วงมาด้วยเสมอนี่เอง ที่ทำให้ผู้ใช้งานทุกคนต้องมี Wallet หรือกระเป๋าเก็บคริปโต ที่ออกแบบไว้เพื่อใช้บน Blockchain เครือข่ายนั้นๆ ก่อนใช้งานเสมอ… และยังต้องมี Cryptocurrencies ติด Wallet ให้พอจ่ายค่าธรรมเนียมที่ระบบเรียกเก็บจาก Wallet ด้วย… เพื่อเป็นค่า Transaction Fee หรือ ค่าธรรมเนียม หรือ เรียกว่าค่าแก๊ส หรือ Gas ในเครือข่าย Ethereum

ในทางเทคนิค… Wallet จะเป็น Software ให้บริการ Private key ซึ่งเปรียบเสมือนกุญแจไขตู้เซฟเข้าไปจัดการทรัพย์สินในเซฟ ซึ่งก็มีแต่ Cryptocurrencies ตามคุณสมบัติที่ Wallet รองรับ… โดยมี Address ซึ่งเปรียบเหมือนเลขที่บัญชีธนาคาร ถูกกำหนดขึ้นใน Wallet เพื่ออ้างอิงการเป็นเจ้าของ Cryptocurrencies ในบัญชี Address นั้น… ซึ่ง Address จะถูกสร้างขึ้นจากรหัสส่วนตัว หรือ Private Key เป็นการเฉพาะไม่ซ้ำกันเหมือนเลขที่บัญชีธนาคาร โดยจะเข้ารหัสและถอดรหัสบน Wallet เท่านั้น… นั่นแปลว่า การจะจัดการ Cryptocurrencies ใน Wallet… จะต้องมีการยืนยัน Private Key อ้างอิงถึง Address ที่บันทึกการมีอยู่ของคริปโตผ่าน Wallet นั่นเอง

Private Key เพื่อใช้ยืนยันการถือครอง หรือ มีอยู่ของ Cryptocurrencies ผ่าน Wallet โดยอ้างถึง Address ที่สัมพันธ์กัน… จึงสำคัญอย่างมากกับการถือครอง Cryptocurrencies และใช้งาน Blockchain… การเริ่มต้นใช้งาน Wallet ส่วนใหญ่ จึงบังคับให้ผู้ใช้บันทึกและเก็บ Private Key ที่ถูกต้องเอาไว้ก่อน… ซึ่งมักจะกำหนด Private Key ผ่าน “SEED PHRASE” และกลไกการยืนยันตัวตนหลายชั้น อันเป็นขั้นตอนสำคัญสุดๆ ในการใช้งาน Cryptocurrencies Wallet ครับ

ในโลกของคริปโตจึงมี Wallet ถูกแบ่งไว้ตามรูปแบบการเก็บและบริหาร Private Key เป็น 3 กลุ่มหลักคือ 

  1. Hot Wallet หรือ Online Wallet หรือ App Wallet… เป็น Web Based Wallet ซึ่งใช้งานสะดวกสะบายไม่ต่างจากแอพธนาคารที่ผมเชื่อว่า Properea Fan คุ้นเคยดีอยู่แล้ว… ซึ่ง Hot Wallet ก็จะเหมือนระบบธนาคารคือ Cryptocurrencies ของเราถูกฝากไว้กับผู้ให้บริการ Wallet ไม่ต่างจากแอพธนาคารที่เงินของเราฝากไว้ที่ธนาคาร… การเลือกใช้ Hot Wallet จึงต้องศึกษาและเลือกเหมือนการเลือกธนาคารนั่นเอง
  2. Cold Storage หรือ Offline Wallet… เป็นรูปแบบการเก็บ Private Key เอาไว้นอกเครือข่ายอินเตอร์เน็ต… ซึ่งสามารถเก็บบน Thumb Drive หรือ พิมพ์ลงกระดาษให้เป็น Paper Wallet ก็ได้ ซึ่งเป็นแนวคิดเดียวกับการเก็บเงินไว้กับตัว เพื่อให้มั่นใจว่าปลอดภัยจากคนอื่น แต่ก็ใช้งานยุ่งยาก เพราะต้องเอา Private Key มาคืนค่าเข้าไปในระบบ Hot Wallet ก่อนใช้งานทุกครั้ง
  3. Hardware Wallet… ถูกสร้างขึ้นเพื่อให้สามารถเก็บ Cryptocurrencies ไว้กับตัวได้ง่ายกว่า เพราะ Hardware Wallet จะเป็น Disk Drive บันทึก Private Key พร้อมฟังก์ชั่นการใช้งานแบบ Plug&Play เพียงแค่เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ก็สามารถจัดการสินทรัพย์ใน Wallet ผ่าน Gateway ของระบบ Hardware Wallet ได้ทันที… และกลับสู่สถานะ Offline เมื่อปิดคอมพิวเตอร์หรือตัดการเชื่อมต่อ

ผมจะไม่ทำข้อมูลเปรียบเทียบว่าอะไรดีกว่าอะไร เพราะทั้งหมดถูกออกแบบไว้เพื่อ “ตอบบริบทการใช้งาน” ที่เหมาะกับชุดความคิดของผู้ใช้แต่ละแบบและวัตถุประสงค์… และด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่ไม่เคยหยุดพัฒนาแบบที่พวกเราเจออยู่นี้… สุดท้ายแล้วก็จะมีการจัดการปัญหาหลายอย่างที่เกี่ยวกับการมีและใช้ Cryptocurrencies ผ่าน Wallet ซึ่งอาจไปไกลถึงขั้นเชื่อมต่อ Private Key กับข้อมูลอัตลักษณ์ทางชีวะวิทยาส่วนบุคคล หรือ Biometrics… ซึ่งข้อมูลในมือผมตอนนี้มีคนพัฒนาต้นแบบอยู่มากกว่าหนึ่งโครงการไปแล้ว

เอาเป็นว่า… สำหรับมือใหม่ที่กรุณา Ad line และติดต่อพูดคุยทุกช่องทาง รวมทั้งมือเก่าที่ยังไม่เก๋าจนถึงขั้นปรุโปร่งกับ Wallet และ Cryptocurrencies… ข้อมูลชุดนี้ทำขึ้นเพื่อทุกท่านที่วางแผนจะสัมผัสคริปโตเพื่ออะไรก็ตาม… ให้เริ่มต้นที่ Wallet แล้วค่อยมาว่ากันที่เหลือจากนั้น

ขอบคุณที่ติดตาม และ กรุณากดแชร์กดชอบทุกช่องทางครับ!

Share this post

Add Properea's Friend

เพิ่ม Properea.com เป็นเพื่อนทาง Line
ท่านจะได้ Link บทความใหม่ส่งตรงให้อย่างสม่ำเสมอโดยรบกวนแต่น้อย

Related Post

high speed train-nakhon ratchasima – nongkhai

ความคืบหน้ารถไฟความเร็วสูงช่วงนครราชสีมา – หนองคาย

โครงการไฮสปีดเทรนช่วงนครราชสีมา – หนองคาย มีมูลค่าการลงทุนประมาณ 2.5 แสนล้านบาท… ขณะนี้ได้ข้อสรุปส่วนของแนวก่อสร้างที่กำหนดเป็นทางรถไฟระดับพื้น ระยะทาง 185 กิโลเมตร และเป็นทางรถไฟยกระดับระยะทาง 171 กิโลเมตร รวมระยะทางประมาณ 356 กิโลเมตร อีกทั้งจะมีการก่อสร้างสถานีรถไฟ 5 สถานี ประกอบด้วย… สถานีบัวใหญ่ สถานีบ้านไผ่ สถานีขอนแก่น สถานีอุดรธานี สถานีหนองคาย และมีสถานีขนถ่ายสินค้า 1 แห่งบริเวณสถานีรถไฟนาทา จังหวัดหนองคาย มีศูนย์ซ่อมบำรุงที่เชียงรากน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และที่นาทา จังหวัดหนองคาย

Space as a Services…

ผมติดตามข่าวคราว Startup นาม WeWork มาไม่นานนัก ซึ่งจะว่าไปแล้วผมไม่ได้สนใจ WeWork เท่าไหร่ในตอนแรก กระทั่ง WeWork ปักหมุดที่กรุงเทพฯ ผมจึงรู้ว่า Space as a Sevices Model ที่ WeWork ขับเคลื่อน… มีมิติให้สัมผัสได้มากกว่าการลงทุนกับอสังหาริมทรัพย์อย่างที่เคยมีมา

ZeroAvia

ZeroAvia… เครื่องบินพลังไฮโดรเจน

Valery Miftakhov ก่อตั้ง ZeroAvia ขึ้นในปี 2017 และ ทดสอบการบินด้วยความสำเร็จอย่างสวยงามในปี 1019 ก่อนจะติดตั้งชุดขับเคลื่อน ZA250 Hydrogen–Electric Powertrain กับเครื่องบินโดยสรขนาดเล็ก Piper Malibu ขนาด 6 ที่นั่ง และ ประสบความสำเร็จในการบินทดสอบและได้เงินสนับสนุนจาก Aerospace Technology Institute โดยรัฐบาลอังกฤษเพื่อทำโครงการต่อเป็นเงิน 12.3 ล้านปอนด์สเตอร์ลิงช่วงปลายปี 2020

Jaguar XJ220

Jaguar XJ220 เป็นรถโปรเจคพิเศษของ Jaguar กับ ทีมแข่งคู่สัญญาอย่าง Tom Walkinshaw Racing หรือ TWR ซึ่งได้พาเครื่องยนต์พิเศษของ Jaguar หลายโมเดลลงสนามแข่งคว้ารางวัลมาครอบครองมากมายไม่แพ้รถอิตาลียุคเดียวกันอย่าง Ferrari F40 หรือ รถเยอรมันอย่าง Porsche 959… โดย TWR ได้อยู่เบื้องหลังการพัฒนารถแข่งมาเป็นรถถนนภายใต้แบรนด์ Jaguar ช่วงปลายศตวรรษที่ 20 ที่โด่งดังก็มี Jaguar XJR-S และ Jaguar XJ220… ซึ่งตัว XJ220 Concept ที่ TWR ทำขึ้นใช้เครื่องยนต์ V12 ขนาด 6,222 CC มีแรงม้าให้ใช้มากถึง 500 แรงม้า… โดยเป็นงานออกแบบของ Keith Helfet ซึ่งเป็นรถบ้าพลังรูปร่างน่าใช้ที่สุดคันหนึ่งของโลก