แลนด์แบงค์ 3000 ไร่ ของ ซี.พี.แลนด์… ที่ระยอง

ข่าวการเสนอตัวเข้าชิงโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน ที่เปิดหน้ากลุ่มทุน 2 ฝ่ายเข้าแข่งขันกัน พลันที่ชื่อ ซีพี เป็นแกนหนึ่งในสองขั้วที่ลงสนามคราวนี้… บอกตรงๆ ว่าผมขนลุกตั้งแต่ได้ยินข่าว รอก็เพียงว่า การรถไฟจะเปิดซองรอบที่ 1 และให้ซีพีและมิตรสหายผ่านด่านแรกมั๊ย

… แน่นอนว่า กิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร ที่ประกอบด้วย

  • บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด (ประเทศไทย)
  • บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน)
  • China Railway Construction Corporation Limited (สาธารณรัฐประชาชนจีน)
  • บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) (ประเทศไทย)
  • บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน)

สอบผ่านด่านแรกแบบชิวมากๆ…

เรื่องรถไฟฟ้าผมยังไม่โฟกัสในบทความนี้หรอกครับ เพราะผมมีข้อมูลแลนด์แบงค์ขนาดมหึมาที่ ซีพีแลนด์เป็นเจ้าของอยู่ในพื้นที่จังหวัดระยองมาบอก

ที่ดินผืนใหญ่กว่า 3,000 ไร่ ที่ตำบลมาบข่า อำเภอนิคมพัฒนาและ ตำบลหนองละลอก อำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง ของ บมจ.ซี.พี.แลนด์ ซึ่งที่ดินแปลงที่ว่า ซีพีแลนด์ใช้เวลา 30 ปี ซื้อเก็บสะสมจนกลายเป็นผืนเดียวกัน ปัจจุบันตั้งอยู่ในทำเล ที่มีจุดเชื่อมโยงโครงข่ายคมนาคมล้อมรอบ ทั้งถนนสายหลัก 4-6 ช่องจราจร ห่างจากสนามบินอู่ตะเภา 35 กม. สนามบิน สุวรรณภูมิ 145 กม. ท่าเรือมาบตาพุด 16 กม. ท่าเรือแหลมฉบัง 60 กม. สถานีรถไฟความเร็วสูงอู่ตะเภา 35 กม.

ล่าสุดที่ดินถูกนำมาพัฒนานิคมอุตสาหกรรมไทย-จีน บนพื้นที่ 3,068 ไร่ มีชื่อว่า “CPCG” เป็นการร่วมทุนระหว่าง ซี.พี.แลนด์ กับ บริษัท กว่างซี คอนสตรัคชั่น เอ็นจิเนียริ่ง กรุ๊ป จำกัด รัฐวิสาหกิจจาก มณฑลหนานหนิงของประเทศจีน วงเงิน 3,500 ล้านบาท สัดส่วน 50:50 จัดตั้งบริษัท ซีจี คอร์ปอเรชั่น จำกัด ขับเคลื่อนโครงการ รับพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ที่โครงการได้รับสิทธิพิเศษพัฒนาอย่างเต็มที่

ขณะนี้นิคมแห่งนี้กำลังเป็นรูปเป็นร่าง หลังใช้เวลาร่วม 6 ปีผลักดันในการปรับเปลี่ยนการใช้ประโยชน์ที่ดินในผังเมืองรวมใหม่ จนมาสำเร็จเมื่อปีที่ผ่านมา หลังรัฐบาลประกาศ จ.ระยองเป็นเขตเศรษฐกิจอีอีซี ทำให้กฎเหล็กที่ค้างคาถูกคลายลงโดยปริยาย

การที่ ซี.พี.แลนด์ลงทุนพัฒนานิคมอุตสาหกรรมเนื่องจากมองเห็นโอกาสและที่ดินแปลงดังกล่าวก็อยู่ในพื้นที่อีสเทิร์นซีบอร์ด เป็นจุดที่เหมาะกับการลงทุน ซึ่งบริษัทเตรียมตัวมาหลายปี โดยพื้นที่พัฒนาเบื้องต้นวางไว้ที่ประมาณ 3,000 ไร่ จะพัฒนาให้เต็มพื้นที่ มีพื้นที่อุตสาหกรรม 2,205 ไร่ พาณิชยกรรม 112 ไร่ พื้นที่สีเขียว 309 ไร่ และสาธารณูปโภค 443 ไร่ จะเลือก 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-curve กับ new S-curve) ที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ตามที่รัฐบาลไทยประชาสัมพันธ์มาลงทุนภายในประเทศ เช่น อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ การแพทย์ครบวงจร คาดว่ามีบริษัทจากจีนประมาณ 100 แห่งจะมาลงทุน แต่อาจจะใช้พื้นที่ไม่มาก ประมาณรายละ 10 ไร่ขึ้นไป

ขณะนี้ได้เซ็นบันทึกความร่วมมือ (MOU) กับ 3 องค์กรใหญ่ของจีน คือ

  1. สถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน เป็น การร่วมมือด้าน Know how และสนับสนุนให้อุตสาหกรรมของประเทศจีนที่ใช้เทคโนโลยีสูงมาลงทุน
  2. บริษัท ไชน่า เอ็นเนอร์จี้ เอ็นจิเนียริ่ง กรุ๊ป สนใจจะลงทุนด้านธุรกิจพลังงาน
  3. บริษัท CAS ION MEDICAL TECHNOLOGY ECONOMIC AND COMMERCIAL COUNSELOR ที่สนใจจะลงทุนอุปกรณ์ทางการแพทย์ เช่น ระบบตรวจวินิจฉัยโรคด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan) และระบบการตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)

เอ่ออ… คุณ สุนทร อรุณานนท์ชัย ประธานกรรมการ บริษัท ซีจี คอร์ปอเรชั่น จำกัด และ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ซี.พี. แลนด์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ยังมีพื้นที่ส่วนที่เหลือจากการจัดสรรในโครงการ อีกประมาณ 100 ไร่ ที่จะนำมาพัฒนากิจการอื่น ๆ รองรับกับนิคมอุตสาหกรรม เช่น พื้นที่เชิงพาณิชย์ ศูนย์การเรียนรู้ รวมถึงอาจจะซื้อที่ดินเพิ่ม

… รวมถึงอาจจะซื้อที่ดินเพิ่ม!!!

Share this post

Add Properea's Friend

เพิ่ม Properea.com เป็นเพื่อนทาง Line
ท่านจะได้ Link บทความใหม่ส่งตรงให้อย่างสม่ำเสมอโดยรบกวนแต่น้อย

Related Post

Nanosatellite

Nanosatellites… อุปกรณ์ IoT ลอยฟ้า

เมื่อมนุษย์ต้องขยับขยายขึ้นไปทำอะไรกันอีกมากมายในอวกาศ ก็คงเหมือนคนเมืองอพยพเข้าไปบุกรุกป่าสงวน สุดท้ายก็มีเสาไฟฟ้าตามไป จนทำให้ป่ากลายเป็นชุมชนและกลายเป็นเมืองเติบโตขึ้น… ดินแดนในวงโคจร LEO ก็เช่นกัน… ธุรกิจหลากวิสัยทัศน์ที่เห็นโอกาสก่อนจึงเคลื่อนไหวกันคึกคัก ตั้งแต่รายใหญ่ไปก่อนอย่าง SpaceX และ Blue Origin รวมทั้ง Virgin Galactic ที่บินรับงานขนส่งขึ้นลงระหว่างพื้นโลกและชั้นบรรยากาศ… ซึ่งในปัจจุบันมีเอกชนมากมายที่มีขีดความสามารถในการส่งของขึ้นอวกาศ ซึ่งคนในวงการรู้ดีว่าคึกคักและอู้ฟู้กันขนาดไหน

Information Overload และ Data Flood

ทรัพยากรดิจิทัลอย่างข้อมูล… สิ่งที่เราเจอกันเป็นส่วนใหญ่หลังจากพยายามเก็บข้อมูลมาระยะหนึ่งก็จะเจอปัญหาว่า… ข้อมูลเยอะมากทั้งที่อยากเก็บมาไว้ใช้ และข้อมูลที่เก็บไว้ใช้ก็มีมากและเริ่มเห็นต้นทุนการดูแลข้อมูลเหล่านี้ ตั้งแต่ค่าเช่าพื้นที่ Cloud Storage ที่ต้องจ่ายรายเดือนกันสูงขึ้นเรื่อยๆ ไปจนถึงต้องจ้างคนมาจัดการข้อมูลเยอะแยะที่น่าสนใจเต็มไปหมดเหล่านี้… ที่สำคัญคือ ค่าจ้างหรือเงินเดือนผู้เชี่ยวชาญด้านข้อมูลก็แพงและหาตัวยาก ถึงขั้นที่องค์กรใหญ่ๆ ทุนหนาๆ ตั้งทีม Head Hunter ไล่ล่าดึงตัวกันแบบไม่เกรงใจใครก็มี

Carly Fiorina

Turn Data Into Information and Turn Information Into Insight ~ Carly Fiorina

ความสามารถในการเล่นกับข้อมูลเบื้องลึก หรือ Insight ของ Carly Fiorina ผู้สามารถ “ผูกสมการการซื้อขายกิจการ จากข้อมูลลึกซึ้ง” ภายใต้เครดิตและอิทธิพลของ Hewlett-Packard ในขณะที่เธออยู่ในตำแหน่ง CEO นั่นเองที่ทำให้ Hewlett-Packard สำหรับหลายๆ ความเห็นมองว่า… Hewlett-Packard ได้รอดจากวิกฤติดอทคอมมาได้ด้วยฝีมือของ Carly Fiorina ล้วนๆ ที่วิ่งเต้น… โดยเฉพาะกรณีการ Spin-Off  Agilent Technologies ออกมาจาก HP และสร้างกระแสการไล่ซื้อธุรกิจหลายกรณีโดยไม่มีการตกลงซื้อขายจริง…

Prefab Bathroom

ปัญหาแรงงานฝีมือในงานก่อสร้าง โดยเฉพาะงานก่อสร้างบ้านสำหรับตลาดพรีเมี่ยม ที่ต้องการงานเนี๊ยบๆ ส่งมอบให้ลูกค้า… หลายโครงการรื้อแล้วรื้ออีก ทุบแล้วทุบอีก เพื่อแก้งานชุ่ยจากช่างที่ขาดทักษะฝีมือ