Corrective Sharp Correction และ Corrective Sideways Correction

candlestick

ราคาสินทรัพย์เท่าที่มีการเสนอซื้อเสนอขายเพื่อการเก็งกำไรทั้งหมด ผ่านตลาดแลกเปลี่ยนทุกรูปแบบเท่าที่มีอยู่บนโลกใบนี้ ล้วนเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงไปตามกฏ Demand/Supply ซึ่งเกิดจาก “พลังการตัดสินใจ หรือ จิตวิทยา” ของนักลงทุนทั้งหมดที่ถือสินทรัพย์นั้นอยู่ กับ นักลงทุนทั้งหมดที่อยากถือสินทรัพย์นั้นด้วย… ซึ่งต่างก็หวังกำไรเหมือนๆ กัน… การพยายาม “ขายทำกำไร” ของนักลงทุนทั้งหมดที่ถือสินทรัพย์นั้นอยู่ จะทำให้ราคาสินทรัพย์ปรับตัวลดลงเสมอ… ในขณะที่การพยายาม “ซื้อหวังกำไร” ของนักลงทุนทั้งหมดที่อยากถือสินทรัพย์นั้นด้วย ก็จะทำให้ราคาสินทรัพย์ปรับตัวเพิ่มขึ้นเสมอเช่นกัน…

ประเด็นก็คือ… การพยายาม “ซื้อหวังกำไร” จนดันราคาสินทรัพย์เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จะทำให้นักลงทุน “สมหวังในกำไรอย่างที่ต้องการ” และ “ขายทำกำไร” ออกมาจนเห็นเป็นราคาปรับตัวลดลง และ เมื่อราคาปรับตัวลดลงพอสมควรต่อสภาวะตลาดในขณะนั้น ก็จะเห็นสัญญาณการพยายาม “ซื้อหวังกำไร” อีกรอบ… วนเป็นคลื่นขึ้นลงกลายเป็นชีพจรของสินทรัพย์ตัวนั้น

ท่านกำลังอ่านบทความชุด Elliott Wave Principle… ตามทฤษฎีของ Ralph Nelson Elliott  ซึ่งเขียนขึ้นเป็นหลายตอน เพื่อเจาะลึกเอารายละเอียดในระดับที่ชัดเจนพอจนกลายเป็นแนวทางตั้งต้น ในการเรียนรู้ฝึกฝนด้วยตัวเองสำหรับทุกท่านที่สนใจแนวทางนี้… ตอนนี้เป็นตอนที่ 5 ต่อจาก Motive Impulse Wave And Motive Diagonal Wave และเป็นตอนสุดท้ายแล้วครับ

ในการ “ทำนายแนวโน้มราคา” ด้วย Elliott Wave หรือ การนับคลื่น Elliott โดยการตามคลื่นแนวโน้ม หรือ Motive Waves ไปจนครบ 5 คลื่น ซึ่งอธิบายไว้ในตอน Motive Impulse Wave And Motive Diagonal Wave ไปแเล้ว ก็จะเกิดการกลับตัวของราคาเป็น Corrective Waves อีก 3 คลื่นทวนแนวโน้มในทำนอง… ขึ้นอยู่ก็เปลี่ยนเป็นลง หรือ ดิ่งลงอยู่ก็มีแรงซื้อสวนทางขึ้นมา และปัญหาก็เกิดเหมือนการวิเคราะห์นับยอดคลื่น กับ ท้องคลื่น Motive Waves คือ ยอดไหนต้องนับ และยอดไหนต้องข้าม หรือ นับเป็นคลื่นย่อย?

ทฤษฎี Elliott Wave จึงแบ่งแยก Corrective Waves หรือ คลื่นทวนแนวโน้ม หรือ คลื่นพักตัว ไว้เป็นต้นแบบในการพิจารณาอยู่ 2 ประเภท คือ Sharp Correction และ Sideways Correction… โดยที่ Sharp Correction จะเห็นการเคลื่อนไหวสวนทางแนวโน้ม หรือ ทวนแนวโน้มชัดเจน… ในขณะที่ Sideways Correction จะเห็นโครงสร้างคลื่นค่อยๆ เคลื่อนตัวเข้าหาราคาก่อนจะสิ้นสุดคลื่นอย่างสับสน… ซึ่ง Sideways Correction นี่เองที่สร้างความงุนงงให้การนับคลื่อน A–B–C หรือ Corrective Waves จนขาดความแม่นยำ… แต่ Ralph Nelson Elliott ก็ได้ศึกษาและสรุปโครงสร้าง Sideways Correction เอาไว้ให้เป็นแนวทางอยู่ 4 รูปแบบหลักคือ

1. ZigZag Corrections… 

ZigZag Corrections

จะเป็น Corrective Waves 3 คลื่น A–B–C ที่มีคลื่นรอง หรือ คลื่นย่อย 5-3-5 ซึ่งเป็นคลื่นย่อย 13 คลื่นเป็นอย่างน้อย… และหลายกรณีจะมีการเกิด Double ZigZag หรือ เกิดคลื่นรองสองเท่า… รวมทั้ง Triple ZigZag หรือ คลื่นรองสามเท่าได้ด้วย ซึ่งจะอธิบายเพิ่มเติมในหัวข้อ Combinations

2. Flat Corrections… 

จะเป็น Corrective Waves 3 คลื่น A–B–C ที่มีคลื่นรอง หรือ คลื่นย่อย 3-3-5 ซึ่งเป็นคลื่นย่อย 13 คลื่นเป็นอย่างน้อยเช่นกัน… โดยจะเห็นคลื่นย่อยระหว่างปรับตัวจากยอดคลื่นแนวโน้มหลักที่ Motive Waves ยอดคลื่นที่ 5 มาคลื่น A มีการทำคลื่นย่อย a–b–c และ เมื่อกลับตัวจากคลื่น A ไปคลื่น B ก็จะมีการทำคลื่นย่อย a–b–c โดยกลับตัวจากคลื่น B ไปคลื่น C จึงจะเป็นคลื่นย่อย 5 คลื่น i–ii–iii–iv–v โดยจะเห็นยอดคลื่นแนวโน้มหลักที่ยอด 5 กับยอด B(c) และ ท้องคลื่น A(c) กับท้องคลื่น C(v) อยู่ในระนาบเดียวกัน

แต่บ่อยครั้งก็เกิด Expanded Flat Corrections ขึ้นได้… ซึ่งจะเป็น Corrective Waves 3 คลื่น A–B–C ที่มีคลื่นรอง หรือ คลื่นย่อย 3-3-5 ซึ่งเป็นคลื่นย่อย 13 คลื่นเป็นอย่างน้อย ไม่ต่างจาก Flat Corrections ปกติ… เพียงแต่ จะเห็นยอดคลื่นแนวโน้มหลักที่ยอด Motive Waves คลื่นที่ 5 ต่ำกว่ายอด B(c) และ ท้องคลื่น A(c) อยู่สูงกว่าท้องคลื่น C(v) เท่านั้นเอง

3. Horizontal Triangles… 

จะเป็น Corrective Waves 5 คลื่น A–B–C–D–E ซึ่งถือเป็น Corrective Waves แบบยืดออกโดยมีคลื่นรอง หรือ คลื่นย่อย 3-3-3-3-3 รวมได้ราว 15 คลื่นย่อยเป็นอย่างน้อยยืนยันการเป็น Corrective Waves แบบ Horizontal Triangles… โดยจะเห็นกรอบการแกว่งตัวของคลื่นแคบลงเป็น “รูปลิ่ม หรือ Wedge” โดยจุดที่ต้องดูแนวโน้มจริงๆ คือการหาท้องคลื่น E(c) ในคลื่นหลักว่า… ราคาจะทะลุเส้นแนวรับทรงลิ่มลงมาเป็น “Descending Triangle” ซึ่งมักจะกลายเป็นขาลง หรือ Bearish Trend… หรือ กลับตัวทะลุเส้นแนวต้านทรงลิ่มด้านบนขึ้นไปเป็น “Ascending Triangle” ซึ่งมักจะกลายเป็นขาขึ้น หรือ Bullish Trend

4. Correction Combinations… 

ความซับซ้อนของคลื่นราคาสินทรัพย์ในโลกความจริงไม่เคยมีรูปแบบชัดเจนให้ทำความเข้าใจได้ง่ายๆ และ ในภาวะที่ราคาเกิด Corrective Waves หรือ ตลาดกลับตัว หรือ ราคาพักตัวพร้อมๆ กับการเกิด Sideways Correction… ซึ่งมักจะเกิดรูปแบบผสม หรือ Combination สลับกันจนกลายเป็นจุดตายของนักวิเคราะห์ ที่จะพบเส้นคลื่นยุ่งเยิงจนรู้ได้ไม่ง่ายว่า “อะไรเป็นอะไร”

ประเด็นจึงอยู่ตรงการเจอเส้นกราฟราคาเดินแปลกๆ “ดูยุ่งเยิง ไม่รู้อะไรเป็นอะไร” ในทำนองนับ A–B–C แล้ว เห็นคลื่นย่อย a–b–c และ i–ii–iii–iv–v แล้ว… แต่มันไม่จบ โดยยังมีคลื่นย่อย Sideways ต่อไปให้งง… ถ้า Sideways เป็น Double ZigZag หรือ เกิดคลื่นรอง a–b–c ซิกแซกสองเท่า จึงให้ติดป้ายเฉพาะเป็น W-X-Y กำกับเพิ่มไป และ ไม่มีอะไรมากกว่าการตามนับตามดูกว่านั้น… และถ้ายังยืดคลื่นย่อยเห็นกราฟ Sideways ต่อไปเป็น Triple ZigZag หรือ คลื่นรองซิกแซก a–b–c ไปอีกสามเท่า ก็ให้ติดป้าย  W-X-Y-X-Z และรอจนทิศทางราคาออกจาก Sideways แล้วจะไปทางไหน

Double Triple ZigZag

คร่าวๆ กับแนวทางการนับคลื่น และ ติดป้ายคลื่นราคาตาม Elliott Wave Principle ของ Ralph Nelson Elliott จะประมาณนี้… ซึ่งไม่ง่ายสำหรับมือใหม่ที่เริ่มต้นกับความรู้ทั่วไปบนเวบไซต์แบบนี้ ยิ่งถ้า “พื้นฐานการเทรด” ยังน้อย และ ยังสับสนกับตรรกะการขึ้นลงของราคาโดยยัง “ติดกับดักการพนัน” มาเทรดสินทรัพย์ด้วย ก็จะยิ่งงุนงงหนักหน่อย ซึ่งหลายท่านจะข้ามที่จะศึกษา Elliott Wave ด้วยตัวเอง และ หาพี่เลี้ยงช่วยจัดกรอบเทคนิคการอ่านคลื่นจนเข้าใจก่อน… 

ประเด็นก็คือ Elliott Wave ขั้นประยุกต์จะมี Guideline ใช้มากมาย โดยเฉพาะกลุ่มนักวิเคราะห์หลักทรัพย์อาชีพบางคนก็จะขยันทำ Elliott Wave Guideline แยกหลักทรัพย์รายตัวใช้เฉพาะ… แต่ในเบื้องต้นกับบทความชุด Elliott Wave Principle จาก Properea คงขออนุญาตจบที่ตอนนี้… ส่วนท่านที่จริงจังและสนใจระดับ Guideline จากผมก็ทักกันใน Line ID: dr.thum ดีกว่าครับ… แต่ขอคุยกันก่อน

บทความในชุด Elliott Wave Principle…

  1. Elliott Wave Principle… ปฐมบท
  2. Labeling Elliott Wave Patterns… การติดป้ายและนับคลื่นราคา
  3. Elliott Motive Waves And Corrective Waves…
  4. Motive Impulse Wave And Motive Diagonal Wave
  5. Corrective Sharp Correction และ Corrective Sideways Correction

References…

Share this post

Add Properea's Friend

เพิ่ม Properea.com เป็นเพื่อนทาง Line
ท่านจะได้ Link บทความใหม่ส่งตรงให้อย่างสม่ำเสมอโดยรบกวนแต่น้อย

Related Post

Simon Sinek

A Team Is Not A Group Of People That Work Together. A Team Is A Group Of People That Trust Each Other – Simon Sinek

การทำงานกับทีมและการทำงานเป็นทีมมีรายละเอียดที่ “ทีม” จำเป็นต้องเข้าใจบทบาทหน้าที่ ทั้งของตัวเองและของสมาชิกทีมคนอื่นๆ เพื่อทำภาระกิจร่วมกัน เหมือนทีมกีฬาที่สมาชิกทีมทุกคนล้วนต้องร่วมกันรับผิดชอบเป้าหมายของทีมโดยการเอาชนะคู่แข่ง และ ทุกคนในทีมก็จะทำหน้าที่ของตัวเองเพื่อสนับสนุนภาระกิจหลักของทีมจนบรรลุเป้าหมาย

การลงทุนอสังหาริมทรัพย์ในลาว…

นักลงทุนที่สนใจ สปป. ลาว ควรลงทุนในลักษณะกิจการร่วมทุน โดยแขวงที่มีศักยภาพในการลงทุน คือ แขวงนครหลวงเวียงจันทน์ สะหวันนะเขต หลวงพระบาง และจำปาสัก และควรลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ประเภทที่พักอาศัย

Smog Free Tower

Ionic Wind Tower… แนวคิดและสมมุติฐานที่หนึ่งเพื่อลมหายใจทุกคน

ประเด็นก็คือ… ฝุ่นพิษปนเปื้อนในเมืองใหญ่มาจากเครื่องยนต์เป็นปฐมเหตุ การพยายามจัดการกับอากาศปนเปื้อนควรโฟกัสอยู่ที่รถยนต์กับถนนในขั้นแรก… โลกใบนี้คงใช้เวลาอีกหลายสิบปีกว่าจะทำให้เครื่องยนต์ดีเซลและเบนซินหายไปจากท้องถนนและชีวิตประจำวันได้เกือบหมด… หยุดอุดหนุนราคาน้ำมันดีเซลและขึ้นภาษีก่อนมั๊ยครับ ขึ้นภาษีเอามาทำหอฟอกอากาศให้โรงเรียนและโรงพยาบาลในพื้นที่วิกฤติ… ถึงห่วงโซ่นี้กระทบหลายอย่างที่อาจซ้ำเติมผู้คนไปทั่ว… แต่ลมหายใจที่สะอาด น่าจะคุ้มค่าที่ต้องจ่ายไม่ใช่หรือ

Risk Meter

Fixed Maturity Investment VS Properties Investment

แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยนับจากนี้ไป… หลายท่านคงอ่านออกหมดแล้วว่าประเทศไทยคงต้องใช้นโยบายดอกเบี้ยต่ำประครองภาคเศรษฐกิจและการเงินไปถึงเมื่อไหร่ก็ไม่มีใครตอบได้… แต่บอกได้ว่า ภาวะดอกเบี้ยต่ำคงไม่มีทางจบลงเร็ววันนี้แน่ๆ ส่งผลให้ผลตอบแทนการลงทุนทั้งเงินฝากและกองทุนตราสารหนี้บางประเภทก็ลดต่ำลงไปด้วย