อุตสาหกรรมก่อสร้างไทยปี 2021 และ แนวโน้มปี 2022

Bang-sue Station

30 สิงหาคม ปี 2021 ที่ผ่านมา… EIC หรือ Economic Intelligence Center ในเครือธนาคารไทยพาณิชย์ได้ออกรายงานเรื่อง ส่องอุตสาหกรรมก่อสร้างไทยช่วงที่เหลือของปี 2021และแนวโน้มปี 2022 เผยแพร่บนเวบไซต์หลักของ EIC โดยเปิดเผยข้อมูลเชิงสถิติวิเคราะห์จากคุณกัญญารัตน์ กาญจนวิสุทธิ์ นักวิเคราะห์อาวุโสประจำ EIC ซึ่งมีข้อมูลฝั่งอุตสาหกรรมก่อสร้างไทยหลายประการที่น่าสนใจครับ

โดยข้อมูลครึ่งแรกของปี 2021 มูลค่าการก่อสร้างภาครัฐมีการขยายตัวอยู่ที่  17%YTD… แต่คำสั่งปิดแคมป์คนงานก่อสร้างในเดือนกรกฎาคม ปี 2021 ที่ผ่านมา เพื่อลดความเสี่ยงจากโควิดระบาดในแคมป์คนงานก่อสร้างภายใต้มาตรการ Bubble and Seal อาจทำให้การก่อสร้างในระยะข้างหน้าล่าช้าออกไป และส่งผลให้มูลค่าการก่อสร้างภาครัฐในช่วงครึ่งหลังของปี มีแนวโน้มชะลอตัวลง 

EIC คาดว่า… มูลค่าการก่อสร้างภาครัฐในปี 2021 จะอยู่ที่ราว 806,000 ล้านบาท โดยประเมินการเพิ่มขึ้น +6%YoY… สำหรับปี 2022 มูลค่าการก่อสร้างภาครัฐมีแนวโน้มขยายตัว 6%YoY เช่นกัน โดยเป็นการขยายตัวจากความคืบหน้าของโครงการเมกะโปรเจกต์ ที่ก่อสร้างอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการเริ่มก่อสร้างโครงการใหม่ๆ ทั้งโครงการขยายเส้นทางรถไฟฟ้า รถไฟทางคู่ รถไฟความเร็วสูง โครงการขยายสนามบิน และโครงการทางถนน

สำหรับการก่อสร้างภาคเอกชน… EIC คาดว่ายังมีทิศทางชะลอตัวตามการหดตัวอย่างต่อเนื่องของภาคอสังหาริมทรัพย์ โดยมูลค่าการก่อสร้างภาคเอกชนในปี 2021 อยู่ที่ราว 514,000 ล้านบาท โดยประเมินติดลบที่ -7%YoY… และในปี 2022 มูลค่าการก่อสร้างภาคเอกชนจะยังมีแนวโน้มทรงตัว เนื่องจากยังเผชิญความท้าทายจากภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ฟื้นตัวได้ช้า

ในปี 2022 ผู้ประกอบการมีแนวโน้มปรับกลยุทธ์รับงานก่อสร้างภาครัฐมากขึ้น ท่ามกลางการฟื้นตัวได้ช้าของภาคอสังหาริมทรัพย์ อีกทั้ง ยังต้องเผชิญภาวะต้นทุนเหล็กแพง และ ค่าจ้างแรงงานที่อยู่ในระดับสูง โดยราคาเหล็กจีนที่ยังมีแนวโน้มอยู่ในระดับสูง ส่งผลให้ราคาเหล็กไทยจะยังอยู่ในระดับสูงตามไปด้วย รวมถึงคำสั่งปิดแคมป์คนงานก่อสร้างในเดือนกรกฎาคม 2021 ที่ผ่านมา ส่งผลให้แรงงานออกจากกรุงเทพฯ และปริมณฑล และยังไม่กลับเข้าพื้นที่ได้ทั้งหมด… โดยภาวะขาดแคลนแรงงาน และต้นทุนแรงงานที่พุ่งสูงขึ้น อาจลากยาวไปถึงปี 2022

ความท้าทายสำคัญสำหรับการเติบโตของภาคก่อสร้างในระยะต่อไป ก็คือ การเพิ่มผลิตภาพ หรือ Productivity ซึ่งในปัจจุบัน “ยังไม่สามารถปรับตัวให้ดีขึ้นจากอดีตได้มากนัก” นอกจากนี้ ค่าจ้างแรงงานพื้นฐานที่อยู่ในระดับต่ำ ทำให้ภาคก่อสร้างเผชิญสถานการณ์การไหลออกของแรงงานไปยังภาคธุรกิจอื่นๆ ประกอบกับสัดส่วนแรงงานอายุน้อยในภาคก่อสร้างที่ค่อยๆ ลดลง จากเทรนด์การเข้าสู่สังคมสูงอายุ ท่ามกลางความต้องการใช้แรงงานพื้นฐานอย่างเข้มข้น ทำให้ภาคก่อสร้างยังต้องพึ่งพาแรงงานต่างด้าวจำนวนมาก

EIC มองว่า… การนำเทคโนโลยีก่อสร้างมาใช้อย่างแพร่หลาย จะช่วยเพิ่ม Productivity โดยผู้ประกอบการขนาดใหญ่และกลาง อาจขยายการใช้เทคโนโลยีจากที่ใช้เฉพาะ Prefabrication… Modular… BIM และ ERP ไปสู่การใช้เทคโนโลยีตลอด Supply Chain… ตั้งแต่จัดหาวัสดุก่อสร้าง สำรวจพื้นที่ ส่งมอบงาน ไปจนถึงบริการดูแลรักษาระบบ 

ในขณะที่ผู้ประกอบการขนาดเล็กอาจเริ่มต้นจากการใช้ BIM และ ERP ก่อน โดยจะสามารถลดการใช้แรงงานพื้นฐาน ส่งผลให้ผู้ประกอบการสามารถ Upskill แรงงานพื้นฐานให้ไปทำงานที่ทักษะสูงขึ้น ทั้งงานควบคุมเทคโนโลยี และ งานที่ใช้ฝีมือ ซึ่งจะนำไปสู่การยกระดับ Productivity แรงงาน และเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานของผู้ประกอบการในระยะยาว

ผมลอกบทสรุปมาทั้งดุ้น เพราะที่คุณกัญญารัตน์ กาญจนวิสุทธิ์ท่านเขียนสรุปไว้ “อ่านง่ายเข้าใจชัด” แตกต่างจากบทสรุปงานวิจัยทั่วไปอย่างน่ายกย่องอยู่แล้ว… ส่วนมิตรสหายสายก่อสร้างที่ต้องใช้ตัวเลขสถิติไปใช้ต่ออย่างจริงจัง สามารถ Download ได้ที่นี่ครับ 

References…

Share this post

Add Properea's Friend

เพิ่ม Properea.com เป็นเพื่อนทาง Line
ท่านจะได้ Link บทความใหม่ส่งตรงให้อย่างสม่ำเสมอโดยรบกวนแต่น้อย

Related Post

EV-Charging Roads

Holcim and Magment… เทคโนโลยีผิวทางสำหรับถนนชาร์จไร้สาย

แผนพัฒนาบนความร่วมมือของพันธมิตร Holcim – Magment มีเป้าหมายที่จะพัฒนาเทคโนโลยีคอนกรีตแบบแม่เหล็กสำหรับงานปูพื้นผิวถนน ที่จะช่วยให้ EV สามารถชาร์จแบบไร้สายได้ในขณะเคลื่อนที่ โดยมีเทคโนโลยีการชาร์จแบบเหนี่ยวนำ หรือ Inductive Charging เป็นหัวใจในการพัฒนา

Deng Xiaoping

เคารพความรู้ เคารพความสามารถของบุคคล ~ เติ้ง เสี่ยว ผิง

คนจีนเชื่อกันสุดใจว่า จีนมีวันนี้เพราะชายร่างเล็กที่เป็น “ผู้นำที่ประเสริฐยิ่ง” และเป็นอัจฉริยะในทัศนชาวจีน ทั้งในฐานะ นักทฤษฎีลัทธิมาร์กซิสม์… นักปฏิวัติชนชั้นกรรมาชีพที่ยิ่งใหญ่… นักปกครอง… นักการทหาร… นักการต่างประเทศ และ สถาปนิกใหญ่ ผู้ออกแบบความทันสมัยให้ชาติและปฏิรูประบบสังคมนิยมจีน…และมหารัฐบุรุษของชาวจีนท่านนี้คือ… เติ้งเสี่ยวผิง

กรุงเทพฯ… มหานครไร้สาย

พล.ต.อ. อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครร่วมกับ คุณฐากร ตณฑสิทธิ์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ร่วมกันวางแผนนำสายสื่อสารลงใต้ดินให้แล้วเสร็จใน 2 ปี มี กรุงเทพมหานครเป็นเจ้าภาพ ประมูลจัดหาผู้รับเหมาดำเนินการ และมี กสทช. ทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยง

Aspark Owl… EV บ้าพลังจาก Osaka #สุดสัปดาห์พาดูรถ

เวบไซต์ My EV Review ได้ทำข้อมูลจัดอันดับ EV ที่ผลิตออกขายจนถึงปี 2022 โดยเรียงลำดับตามกำลังมอเตอร์ไฟฟ้าที่ใช้ขับเคลื่อน ซึ่งอันดับแรงม้าสูงสุดอยู่ที่ 2,011 แรงม้า เป็นของ Lotus Evija ก่อนจะตามมาด้วย Aspark Owl ที่ 1,984 แรงม้า ซึ่งผลิต และ จำหน่ายโดยค่ายรถยนต์น้องใหม่จากนครโอซาก้า ประเทศญี่ปุ่น