ภาพรวมแนวโน้มและทิศทางธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง… 2563-2564

Construction

รายงานการวิเคราะห์ภาพรวมและแนวโน้มธุรกิจรับเหมาก่อนสร้างช่วงปี 2562-2564 โดยกรุงศรีรีเสิร์ช พบแนวโน้มการเติบโตอย่างน่าสนใจ โดยเฉพาะตัวเลขการลงทุนด้านก่อสร้างที่มากถึง 8.1% ของ GDP ที่หมายถึงการจ้างงานและต่อยอดธุรกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในห่วงโซ่กิจการก่อสร้าง โดยเฉพาะธุรกิจวัสดุก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์

ซึ่งตัวเลขจากการคาดการณ์ธุรกิจก่อสร้างภายในประเทศทั้งงานก่อสร้างภาครัฐและงานก่อสร้างภาคเอกชน พบสัดส่วนการลงทุนในอัตรา 53/47 

ซึ่งงานก่อสร้างของภาครัฐส่วนใหญ่เป็นโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน คิดเป็นสัดส่วนเกือบ 80% ของมูลค่าก่อสร้างงานภาครัฐทั้งหมด ส่วนที่ เหลือเป็นโครงการก่อสร้างอาคารของหน่วยงานรัฐ และที่พักของข้าราชการ ผู้รับเหมาก่อสร้างรายใหญ่มักจะได้เปรียบในการรับงานภาครัฐ โดยเฉพาะโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ เนื่องจากมีประสบการณ์ มีความชำนาญเฉพาะด้าน มีศักยภาพทางการเงิน และมีการพัฒนาเทคนิคและ เทคโนโลยีในงานก่อสร้างมาอย่างต่อเนื่อง ส่วนผู้รับเหมา SMEs จะมีโอกาส รับงานภาครัฐในลักษณะของผู้รับเหมาช่วง หรือเป็น Sub-contractors มากกว่า

ส่วนงานก่อสร้างของภาคเอกชน จะกระจุกตัวในงานก่อสร้างที่อยู่อาศัยเฉลี่ย 56% ของมูลค่าก่อสร้างงานภาคเอกชนทั้งหมด ที่เหลือเป็นงานก่อสร้างโรงงานอุตสาหกรรมที่สัดส่วน 10% พาณิชยกรรม 10% และอื่นๆ อีก 24% 

นอกจากงานก่อสร้างในประเทศแล้ว… ผู้รับเหมาก่อสร้างของไทยยังออกไปรับงานในต่างประเทศโดยผู้รับเหมารายใหญ่… ซึ่งปัจจุบันเน้นรับงานก่อสร้างในกลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะกัมพูชา ลาว และเมียนมา… เนื่องจากประเทศเหล่านี้กำลังพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เช่น โครงข่ายถนน รถไฟ และโรงไฟฟ้า… รายงานฉบับเต็มยาว 12 หน้าครับ มีรายละเอียดลงลึกถึงระดับรายโครงการสำคัญทีเดียว คลิกที่นี่ได้ครับสำหรับท่านที่ต้องใช้ข้อมูลขั้นละเอียด

ประเด็นคือ… สภาพเศรษฐกิจปีนี้ โดยเฉพาะครึ่งปีแรก 2020 นี้… นอกจากการบริโภคภายในประเทศกับเงินลงทุนจากรัฐแล้ว ที่เหลือคงไม่มีอะไรให้ยึดเหนี่ยว ซึ่งเงินลงทุนจากภาครัฐก็มีแต่โครงสร้างพื้นฐานเท่านั้นที่จะเป็นรูปธรรมว่าจะมีเม็ดเงินออกมาประครองการขยายตัวทางเศรษฐกิจได้บ้าง… การดึงตัวเลขธุรกิจก่อสร้างมาดูทั้งระบบ ก็อาจจะพอได้ภาพด้านที่ไม่ลบมาปลอบใจกันได้บ้างในยามนี้… และอยากลุ้นให้รัฐไทย พาเงินลงทุนออกไปช่วยเพื่อนบ้านพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ภายใต้เงื่อนไขให้จ้างผู้รับเหมาชาวไทย เหมือนที่ญี่ปุ่นใช้กลยุทธ์ยืมอัตราการเติบโตของประเทศที่เศรษฐกิจอยู่ในช่วงขาขึ้น… พาเงินออมท่วมประเทศ กับภาคเอกชนและผู้รับเหมาญี่ปุ่นไปทำกำไรนอกบ้าน อย่างที่ผู้รับเหมา SME บ้านเราส่วนหนึ่งก็เป็น Sub-contractors ให้บริษัทรับเหมาสัญชาติญี่ปุ่นมากมาย… และก็ได้แต่หวังว่า ข่าวร้ายซ้ำเติมสภาพจะไม่มีอะไรแย่กว่าที่เป็นอยู่ให้เพลียได้มากกว่านี้

บทความ Update เพิ่มเติมเกี่ยวกับแนวโน้มธุรกิจรับเหมาเรื่อง แนวโน้มรับเหมางานระบบ M&E 2020 ครับ

Share this post

Add Properea's Friend

เพิ่ม Properea.com เป็นเพื่อนทาง Line
ท่านจะได้ Link บทความใหม่ส่งตรงให้อย่างสม่ำเสมอโดยรบกวนแต่น้อย

Related Post

Multiple Central Bank Digital Currencies… อนาคตการโอนเงินระหว่างประเทศบนเทคโนโลยี DLT

Bank for International Settlements หรือ BIS หรือ ธนาคารเพื่อการชำระหนี้ระหว่างประเทศ ได้ประกาศความสำเร็จในโครงการนำร่อง Multiple Central Bank Digital Currencies หรือ Multi-CBDC ภายใต้การนำของ BIS Innovation Hub โดยมีธุรกรรมเริ่มต้น 164 รายการ มูลค่าเกือบ 22 ล้านดอลลาร์สหรัฐในการชำระเงินข้ามพรมแดนผ่านแพลตฟอร์ม mBridge ที่ถูกริเริ่มโดย HKMA หรือ Hong Kong Monetary Authority และ ธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อหลายปีก่อน… ซึ่งต่อมาได้มีพันธมิตรอย่างธนาคารประชาชนจีน หรือ 中国人民银行 กับ ธนาคารกลางแห่งสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ หรือ Central Bank of the United Arab Emirates แล้ว… ก็ยังมีธนาคารกลางพันธมิตรจากอีก 20 ประเทศเข้าร่วม

Smog Free Tower

Ionic Wind Tower… แนวคิดและสมมุติฐานที่หนึ่งเพื่อลมหายใจทุกคน

ประเด็นก็คือ… ฝุ่นพิษปนเปื้อนในเมืองใหญ่มาจากเครื่องยนต์เป็นปฐมเหตุ การพยายามจัดการกับอากาศปนเปื้อนควรโฟกัสอยู่ที่รถยนต์กับถนนในขั้นแรก… โลกใบนี้คงใช้เวลาอีกหลายสิบปีกว่าจะทำให้เครื่องยนต์ดีเซลและเบนซินหายไปจากท้องถนนและชีวิตประจำวันได้เกือบหมด… หยุดอุดหนุนราคาน้ำมันดีเซลและขึ้นภาษีก่อนมั๊ยครับ ขึ้นภาษีเอามาทำหอฟอกอากาศให้โรงเรียนและโรงพยาบาลในพื้นที่วิกฤติ… ถึงห่วงโซ่นี้กระทบหลายอย่างที่อาจซ้ำเติมผู้คนไปทั่ว… แต่ลมหายใจที่สะอาด น่าจะคุ้มค่าที่ต้องจ่ายไม่ใช่หรือ

LTR Visa

5 อุตสาหกรรมเป้าหมายของไทย และ Long Term Resident Visa 10 ปี 

เป้าหมายการผลักดัน GDP ไทยให้ขยายตัวเพิ่มขึ้นให้ได้ปีละไม่น้อยกว่า 3% ครอบคลุมอุตสาหกรรมรถยนต์… อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์… อุตสาหกรรมยา… อุตสาหกรรมดิจิทัล และ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว โดยในช่วงต้นเดือนมกราคม 2022 ที่ผ่านมา… ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีก็ได้มีมติแต่งตั้ง ม.ล.ชโยทิต กฤดากร ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี สุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์  ไปเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีเพื่อปฏิบัติหน้าที่ผู้แทนการค้าไทย

ทิศทางและแนวโน้มดอกเบี้ยในประเทศ… ไตรมาส 3/2022

ความเคลื่อนไหวต่อกระแสการขึ้นดอกเบี้ยเพื่อชดเชยอัตราเงินเฟ้อที่ทั่วโลกเผชิญอยู่ รวมทั้งประเทศไทยซึ่งความเห็นที่ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย… ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ให้ข้อมูลกับสำนักข่าวหลายแห่งไปเมื่อสัปดาห์ก่อนพอสรุปได้ว่า… ปัจจุบันเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวชัดเจนขึ้น คาดว่าการฟื้นตัวจะเป็นไปอย่างต่อเนื่อง เพราะหากดูทิศทางเศรษฐกิจไตรมาส 2 ปี พ.ศ. 2565 คาดว่ามีทิศทางฟื้นตัวดีต่อเนื่องโดยคาดว่าการขยายตัวจะเติบโตเกินระดับ 3% ได้อยู่ โดยแนวทางของธนาคารแห่งประเทศไทยจะควบคุมเงินเฟ้อให้อยู่ระดับต่ำ ไม่ผันผวน และ การขึ้นดอกเบี้ยของไทยไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับต่างประเทศ