โรงไฟฟ้าชุมชน… ความคืบหน้าการประมูล และ ระบบนิเวศน์เพื่อเศรษฐกิจชุมชน

BioMass

ข่าวจากที่ประชุมคณะกรรรมการคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน หรือ บอร์ด กกพ. เมื่อวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2564 ซึ่งมีประเด็นเลื่อนกำหนดการเปิดประมูลโครงการโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานราก(โครงการนำร่อง) พ.ศ.2564 หลังจากการแพร่ระบาดของโควิด 19 ระลอก 3 ทำให้มียอดผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นและกระจายวงกว้าง… ทำให้บอร์ด กกพ. เลื่อนกำหนดการเปิดยื่นรับคำขอเสนอขายไฟฟ้าในโครงการ จาก 21-30 เมษายน พ.ศ. 2564 ที่กำหนดให้ต้องมายื่นเอกสารที่สำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค หรือ PEA… ให้เลื่อนไปเป็นวันที่ 27-30 เมษายน พ.ศ. 2564 แทน… พร้อมปรับรูปแบบเป็นการยื่นรับคำขอเสนอขายไฟฟ้าผ่านระบบออนไลน์

ในการแถลงข่าววันนั้น… คุณคมกฤช ตันตระวาณิชย์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ได้ให้ข้อมูลกับผู้สื่อข่าวเพิ่มเติมว่า… ถึงแม้จะปรับเปลี่ยนรูปแบบการยื่นคำขอเสนอขายไฟฟ้ามาเป็นรูปแบบยื่นผ่านระบบออนไลน์ ทาง กกพ. ก็ยังคงยึดหลักการเรียงตามลำดับการสมัครก่อนหลังในกรณีที่การพิจารณาคัดเลือกการประมูลแข่งขัน ที่มีการเสนอราคาเท่ากัน ที่จะนำลำดับก่อนหลังมาใช้ตัดสินผู้ที่ยื่นเสนอโครงการลำดับแรกให้เป็นผู้ชนะการประมูล เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและโปร่งใสมากที่สุด

ส่วนการพิจารณาโครงการ กกพ. จะเป็นผู้ดำเนินการเปิดซองประมูลราคา และ เป็นผู้ประกาศว่ารายใดผ่านการประมูลเอง… ขณะที่ PEA หรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จะทำหน้าที่เปิดรับคำเสนอขายไฟฟ้าจากผู้ประกอบการ และ พิจารณาคุณสมบัติผู้เข้าประมูล และพิจารณาด้านเทคนิค จากนั้นจะส่งรายชื่อผู้ผ่านเกณฑ์ดังกล่าว มาให้ กกพ. ดำเนินการเปิดซองราคาต่อไป

สิ่งที่หลายฝ่ายเป็นห่วง โดยเฉพาะจากฝั่งเอกชนที่จะเข้าประมูลคือ… หลักการคัดเลือกเรียงตามลำดับการสมัครก่อนหลังในกรณีราคาเท่ากันเมื่อต้องยื่นออนไลน์ ที่อาจจะมีปัญหาทางเทคนิค จนลำดับก่อนหลังอาจจะทำลายโอกาสอย่างคาดไม่ถึงได้ เช่น ระบบล่มเพราะแย่งกันยื่น eBidding ในนาทีแรกพร้อมกันเป็นต้น

อย่างไรก็ตาม… โดยส่วนตัวผมมองเลยการประมูลไปถึงระบบนิเวศน์ในกลไกเศรษฐกิจรอบโรงไฟฟ้าชุมชนแบบต่างๆ มากกว่า เพราะเชื่อว่าในท้ายที่สุดทุกอย่างก็จะดำเนินต่อไปได้ แม้จะเลื่อนแล้วเลื่อนอีกมาหลายรอบมากจนคนตามข่าวคราวอย่างเดียวแบบผมยังเหนื่อยใจ… 

ซึ่งผมสนใจประเด็น “เกษตรกร และ ผลผลิตทางการเกษตรเพื่อป้อนโรงไฟฟ้า และ การได้เป็นเจ้าของโรงไฟฟ้าของชุมชน” ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีความเคลื่อนไหวหลายอย่างตอบรับโครงการโรงไฟฟ้าชุมชนอย่างน่าสนใจ… 

โดยเฉพาะข่าวการประชุมคณะทำงาน จัดทำแนวทางสร้างความมั่นคงอย่างยั่งยืนให้แก่เกษตรกรด้วยโรงไฟฟ้าชีวมวล… ซึ่งมีกรอบการหารือแนวทางการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรปลูกไม้เศรษฐกิจ ประเภทไม้โตเร็ว เพื่อเป็นวัตถุดิบสำหรับโรงไฟฟ้าชีวมวล โดยจะใช้หลักการตลาดนำการผลิต… นำ Demand หรือ ความต้องการวัตถุดิบสำหรับโรงไฟฟ้าชีวมวลของกระทรวงพลังงานมาใช้คาดการณ์ปริมาณความต้องการและพื้นที่ปลูกไม้โตเร็ว

เบื้องต้น กลุ่มพื้นที่เป้าหมายที่มีโอกาสในการส่งเสริมให้มีการปรับเปลี่ยนไปปลูกไม้โตเร็ว ได้แก่ พื้นที่นาดอนนอกเขตชลประทาน จำนวน 18.53 ล้านไร่ และ พื้นที่ตามนโยบายลดพื้นที่ปลูกพื๙บางชนิดของรัฐบาล เช่น การปลูกยางพาราในพื้นที่ไม่เหมาะสม หรือกลุ่ม S3/N จำนวน 6.11 ล้านไร่ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่เกษตรกรปลูกพืชชนิดเดิมและให้ผลตอบแทนต่ำ

ทางคณะทำงานจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้จัดทำแนวทาง หรือ Guildline โดยใช้ผลการศึกษาไม้โตเร็ว จำนวน 6 ชนิด ได้แก่ 

  1. กระถินณรงค์ 
  2. กระถินเทพา 
  3. กระถินยักษ์ ยู
  4. คาลิปตัส 
  5. ไผ่
  6. หญ้าเนเปียร์ 

ซึ่งในเอกสารแนะนแวนี้ ได้เสนอไม้เศรษฐกิจโตเร็วหลายชนิดสำหรับโรงไฟฟ้าชีวมวล โดยเฉพาะ “กระถินยักษ์” ที่มีจุดเด่นสำคัญ คือ สามารถปลูกและเติบโตได้ในพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ สามารถปลูกและเริ่มตัดใช้ประโยชน์ได้ในปีที่ 3… จากนั้นจะเริ่มแตกหน่อและสามารถตัดใหม่ได้ทุกๆ 2 ปี โดยโรงไฟฟ้าชีวมวลขนาด 1 เมกะวัตต์ จะมีความต้องการไม้สับประมาณปีละ 15,000 ตัน จึงต้องใช้พื้นที่ปลูกกระถินยักษ์ ปีละ 1,364 ไร่ ส่งผลให้มีพื้นที่ส่งเสริมรวมทั้งสิ้น 4,091 ไร่ ต่อโรงไฟฟ้าชีวมวล 1 เมกะวัตต์

ดังนั้น โรงไฟฟ้าชีวมวล 75 เมกะวัตต์ จะมีความต้องการไม้สับปีละ 1,125,000 ตัน ใช้พื้นที่ปลูกไม้โตเร็ว หรือ ปลูกกระถินยักษ์ ปีละ 102,300 ไร่ พื้นที่รวม 3 ปี จะต้องใช้พื้นที่ทั้งสิ้น 306,900 ไร่

สำหรับแนวทางสร้างความมั่นคงอย่างยั่งยืนให้แก่เกษตรกรด้วยโรงไฟฟ้าชีวมวล จะใช้หลักการแบ่งปันต้นทุนและผลตอบแทน หรือ Cost and Profit Sharing และ หลักการระบบเกษตรพันธสัญญา หรือ Contract Farming เพื่อสร้างหลักประกันและผลประโยชน์ร่วมกันระหว่างเกษตรกร โรงไฟฟ้าชีวมวล และชุมชน สามารถคุ้มครองผลประโยชน์ของเกษตรกรผ่านวิสาหกิจชุมชน… ซึ่งเป็นเงื่อนไขในการดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานราก ที่กำหนดให้วิสาหกิจชุมชนที่มีเกษตรกรเป็นสมาชิกร่วมถือหุ้นในโรงไฟฟ้าร้อยละ 10 ตามกรอบที่คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานกำหนด

Share this post

Add Properea's Friend

เพิ่ม Properea.com เป็นเพื่อนทาง Line
ท่านจะได้ Link บทความใหม่ส่งตรงให้อย่างสม่ำเสมอโดยรบกวนแต่น้อย

Related Post

Aeroponics for Potatoes

เทคนิคการปลูกมันฝรั่งแบบ Aeroponics

สถาบัน Neiker-Tecnalia Basque Institute for Agricultural เป็นศูนย์วิจัยทางการเกษตรอิงวิถีเกษตรของชาวแบสค์ หรือ Basque เขตเมืองวิโตเรียทางตอนเหนือของเสปน… ซึ่งชาว Basque เป็นคนพื้นเมืองทางตอนเหนือของสเปนและตอนใต้ของฝรั่งเศส

The Merge… Ethereum PoS

Ethereum The Merge มีหมายกำหนดการว่าจะเกิดขึ้นในช่วงเดือนมิถุนายน ถึง กรกฎาคม ปี 2022 แต่ก็มีข่าวค่อนข้างเป็นทางการในชุมชนว่า… อาจจะเลื่อนไปถึงช่วงฤดูใบไม้ร่วง หรือ ช่วงไตรมาส 3 ของปีนี้ จึงจะเสร็จสิ้น

Trend 2020 : Millennial Generation

Gen Millennial หรือ GenY ในที่นี่จะนับเอาช่วงวัยหลังจบการศึกษาปริญญาตรีขึ้นมาถึงกลุ่มอายุราวๆ 40 บวกลบ… ซึ่งทฤษฎีการแบ่งกลุ่มเป้าหมายทางการตลาดด้วยการกำหนดเป็น Generation เป็นการแบ่งโดยอ้างอิงพฤติกรรมการบริโภคเป็นหลัก… วันเดือนปีเกิดหรืออายุ จึงไม่ใช่ข้อมูลหลักที่ต้องระบุชัดๆ เปะๆ… แต่ช่วงเวลาการเกิดและเติบโตของกลุ่มคนวัยต่างๆ จะเติบโตมากับสิ่งแวดล้อมที่ต่างกัน พฤติกรรมการใช้ชีวิตหรือพฤติกรรมการบริโภคและใช้จ่ายเงินทอง จึงแตกต่าง ซึ่งหากเราต้องการสื่อสารหรือค้าขายกับคนกลุ่มไหน ก็ต้องเข้าใจพื้นฐานคนกลุ่มนั้นให้มาก

LTV… เหนื่อยยาว เผาจริง

เสียงบ่นจากคนขายบ้าน ทุกการพูดคุยที่ผ่านมาตั้งแต่หลังสงกรานต์… คีเวิร์ด LTV กับ เผาจริง เป็นคำที่ผมได้ยินจากทุกการสนทนาเรื่องบ้านและอสังหาริมทรัพย์…