ผมเป็นพวกนั่งทำงานไม่เป็นหลักแหล่งเข้าขั้นเร่ร่อนเลยหล่ะครับ… ชีวิตส่วนใหญ่เร่ร่อนอยู่ในเชียงใหม่กับ Notebook ตัวเก่งแวะสิงตามร้านกาแฟเป็นส่วนใหญ่ แต่ก็มีบางครั้งที่ต้องปักหลักยาวกับ Co-Working Space ที่ต้อง “นั่งยาว-เฝ้าจอ-ต่อเวลา” ให้งานในสมอง ถูกระบายออกมาเป็นอะไรซักอย่าง
หลังๆ มานี้ผมชอบ Co-Working Space มากกว่า เพราะนั่งได้นานแบบไม่ต้องเกรงใจร้าน และเดี๋ยวนี้ในเชียงใหม่ก็มี Co-Working Space มากกว่าเมื่อก่อนมาก และลูกค้าส่วนใหญ่เป็นชาวต่างชาติที่เป็น Citizen Nomad ร่อนเร่ทำงานไปเที่ยวไปแบบวณิพกพเนจรนั่นแหละครับ
Co-Working Space ในเชียงใหม่ ส่วนใหญ่ไม่ได้มีหน้าร้านเหมือนร้านกาแฟ หลายที่วางตัวเองซุกอยู่ท้ายซอยก็มี ในขณะที่หลายๆ ที่ซุกอยู่ชั้นสามชั้นสี่ของตึกแถวที่ข้างล่างยังขายทัวร์ขี่ช้างโหนสลิงอยู่ด้วยซ้ำ
ที่ผมจะบอกก็คือ… ลูกค้าของ Co-Working Space เหล่านี้ เขาตามกันมาจากออนไลน์และโซเชี่ยลมีเดียครับ พวกเราชาววณิพกพเนจรร่อนเร่ จะมีกลุ่มบนออนไลน์และโซเชี่ยลมีเดียมากมาย มี Co-Working Space, Accomandetion และ Information เรื่องการเดินทาง โปรแกรมท่องเที่ยว อาหาร ค่าใช้จ่ายต่างๆ แบ่งกันในโลกออนไลน์กันมากมาย และโยงใยกันทั่วโลก

เวบไซด์อย่าง coworker.com เป็นตัวอย่างหนึ่งของ Information ที่ให้ Co-Working Space Provider มา List ตัวเองไว้ในระบบ เพื่อให้ Citizen Nomad ทั้ง Local และ International สามารถจองที่นั่งและเวลาที่จะไปเช่าใช้พื้นที่ได้ง่ายๆ
… ที่ผมจะบอกก็คือ คนจะถูก AI ระบบอัตโนมัตและหุ่นยนต์ เบียดที่นั่งทำงานประจำจนตกงานมากขึ้นทุกวัน คนจะเดินทางมากขึ้นเพราะอิสระจากงานประจำแบบเดิม และสามารถหารายได้จาก e-Commerce บ้าง… จาก Online Business ต่างๆ ที่บางโมเดลทำรายได้ให้แม้ขณะเดินทางหรือหลับอยู่
Co-Working Space จึงเป็นโอกาสหนึ่งของ Landlord ทั้งหลายที่จะพาตัวเองออกจากการให้เช่าแบบเดิมๆ
