Chiang Mai Initiative Multilateralisation… กลไกการเงินการคลังของอาเซียน +3

31 มีนาคม พ.ศ. 2564 ถือเป็นวันแรกของของความตกลงมาตรการริเริ่มเชียงใหม่ไปสู่การเป็นพหุภาคี หรือ Chiang Mai Initiative Multilateralisation หรือ CMIM ฉบับแก้ไขเพิ่มเติมมีผลบังคับใช้ ซึ่งคุณกุลยา ตันติเตมิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลังได้ เปิดเผยว่า 

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียน+3 หรือ กลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน บวกจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ได้ลงนามในความตกลงมาตรการริเริ่มเชียงใหม่ไปสู่การเป็นพหุภาคี หรือ Chiang Mai Initiative Multilateralisation ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งความตกลงฉบับนี้จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 31 มีนาคม 2564 

โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพกลไกการให้ความช่วยเหลือทางการเงินระหว่างประเทศสมาชิกในภูมิภาคอาเซียน+3 โดยความตกลงฉบับนี้ มีสาระสำคัญประกอบด้วย

  1. การเพิ่มสัดส่วนเงินช่วยเหลือที่สมาชิกจะให้ความช่วยเหลือระหว่างกันโดยไม่เชื่อมโยงกับความช่วยเหลือทางการเงินจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ International Monetary Fund หรือ IMF จากเดิมร้อยละ 30 เป็นร้อยละ 40 ของวงเงินความช่วยเหลือสูงสุดที่จะได้รับ
  2. การยินยอมให้สามารถเลือกสมทบหรือขอรับความช่วยเหลือภายใต้กลไก CMIM เป็นเงินสกุลท้องถิ่นตามหลักความสมัครใจ และภายใต้วงเงินรวมคงเดิมที่ 240 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
  3. การแก้ไขประเด็นทางเทคนิคต่าง ๆ รวมถึงการยกเลิกการใช้อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงกรุงลอนดอน หรือ London Interbank Offered Rate หรือ LIBOR เป็นอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง

มาตรการริเริ่มเชียงใหม่ หรือ Chiang Mai Initiative หรือ CMI เกิดขึ้นสืบเนื่องจากการเกิดวิกฤตเศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเอเชียตะวันออกและตะวันออกเฉียงใต้เมื่อปี 2540-2541 โดยประเทศต่างๆ ได้ประสบปัญหาดุลการชำระเงินโดยการขาดสภาพคล่องในระยะสั้น และต่อมาได้เข้ารับความช่วยเหลือทางการเงินจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ IMF วิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นนี้ได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจภูมิภาคในหลายด้าน ทั้งในแง่ของการขยายตัวและเสถียรภาพของเศรษฐกิจ และเสถียรภาพด้านต่างประเทศของประเทศในภูมิภาค

จากปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจดังกล่าว ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและตะวันออกเฉียงใต้จึงได้พัฒนาความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและการเงินให้มีความเข้มแข็งและเป็นรูปธรรมมากขึ้น ภายใต้กรอบความร่วมมือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียน +3 หรือ ASEAN+3 Finance Ministers Framework… ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ ได้แก่ บรูไน กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย สหภาพพม่า ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม และกลุ่มประเทศ +3 ได้แก่ ประเทศญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี และสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียน +3 ครั้งแรก มีขึ้นเมื่อเดือนเมษายน 2542 ณ กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์

มาตรการริเริ่มเชียงใหม่เป็นหนึ่งในมาตรการริเริ่มหลักของความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและการเงินระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน+3  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นกลไกความร่วมมือทางการเงินในภูมิภาค หรือ Regional Financing Arrangement ในการเสริมสภาพคล่องระหว่างกันในกรณีที่ประสบปัญหาดุลการชำระเงินหรือขาดสภาพคล่องในระยะสั้น และเป็นส่วนเสริมความช่วยเหลือด้านการเงินที่ได้รับจากองค์กรการเงินระหว่างประเทศ โดยปัจจุบันประเทศสมาชิกจะมีการสร้างเครือข่ายความตกลงทวิภาคีว่าด้วยการแลกเปลี่ยนเงินตรา หรือ Bilateral Swap Arrangement… 

โดยเป็นความตกลงที่จัดทำขึ้นระหว่างประเทศอาเซียนและประเทศ +3 เช่น ความตกลงระหว่างไทยและญี่ปุ่น มาเลเซียและสาธารณรัฐประชาชนจีน อินโดนีเซียและสาธารณรัฐเกาหลี เป็นต้น ซึ่งมีข้อจำกัดในเรื่องความไม่แน่นอนของจำนวนวงเงินที่สามารถกู้ได้จริงเนื่องจากความตกลง BSA ในปัจจุบันมีลักษณะเป็นการตกลงที่จะให้กู้ยืมเงินระหว่างกัน โดยไม่มีการลงเงินจริง หรือ Standby Facility… 

ดังนั้น ในกรณีที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจประเทศที่เข้าร่วมอาจไม่มีเงินจำนวนดังกล่าวปล่อยกู้ให้กับประเทศคู่สัญญา และขั้นตอนการดำเนินการเบิก-ถอน หรือ Swap Activation Process)ของความตกลง BSA ต้องใช้เวลาในการดำเนินการ

การจัดทำ CMI พหุภาคี หรือที่เรียกว่า CMI Multilateralisation คือการขยายความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน +3 จากรูปแบบที่จัดทำในลักษณะทวิภาคี หรือเพียง 2 ประเทศ ที่มีอยู่ภายใต้ความตกลง BSA ไปเป็นการจัดทำในระหว่างประเทศลักษณะพหุภาคี หรือมากกว่า 2 ประเทศ เพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพของมาตรการริเริ่มเชียงใหม่ที่มีอยู่ และเพื่อความร่วมมือทางการเงินในภูมิภาคอาเซียน +3 ที่แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น 

ดังนั้น CMI พหุภาคี จึงเป็นแนวทางในการเสริมสร้างประสิทธิภาพของมาตรการริเริ่มเชียงใหม่ที่มีอยู่เพื่อแก้ไขปัญหาความไม่แน่นอนของจำนวนวงเงินที่สามารถกู้ได้จริงและลดขั้นตอนและเวลาการดำเนินการเบิก-ถอน และยังเป็นความร่วมมือทางการเงินระดับสูง

ความพยายามที่ชาติเอเชียจะร่วมมือกันสร้างกลไกทางการเงินแบบ มิตรประเทศไหนถังแตกก็จะได้รีบช่วยกันก่อน… แทนที่จะต้องวิ่งไป IMF ที่สะสางวิกฤติเศรษฐกิจไทย ปี 2540 หรือ วิกฤติต้มยำกุ้งไว้เละเทะน่ากลัวมาก… ท่านที่โตทันช่วงนั้นคงจำได้ไม่ลืม

References…

Share this post

Add Properea's Friend

เพิ่ม Properea.com เป็นเพื่อนทาง Line
ท่านจะได้ Link บทความใหม่ส่งตรงให้อย่างสม่ำเสมอโดยรบกวนแต่น้อย

Related Post

Noodle Menu

คำแนะนำเบื้องต้นเรื่องความสำเร็จของกิจการร้านก๋วยเตี๋ยว

การทำร้านก๋วยเตี๋ยวเพื่อให้อยู่รอด เติบโตและมีกำไรไม่ได้ง่ายอย่างที่มุมมอคนกินเห็น… กิจการที่ดูตรงไปตรงมาอย่างขายก๋วยเตี๋ยวในมุมมองเจ้าของกิจการและการลงทุน จึงไม่ใช่ของเล่นขำๆ ที่ใครก็ทำเลี้ยงปากท้อง ทำกินและสร้างครอบครัวร่ำรวยได้ง่ายๆ… เผลอเมื่อไหร่ก็ขาดทุนได้เหมือนกัน

IoTeX and MachineFi… The Internet of Trusted Things

IoTeX เป็นบล็อกเชนเพื่อ Internet of Things หรือ IoT และ Future of Machine Learning… ออกแบบให้มีระบบนิเวศน์เพื่อรองรับ Smart Infrastructures ซึ่งมีทั้งที่เป็นอุปกรณ์ IoT และ Machine Learning… ให้สามารถปฏิสัมพันธ์กับมนุษย์ได้อย่างราบรื่นถึงขั้นที่มนุษย์สามารถวางใจเครื่องจักร และ รับบอัตโนมัตได้จริง

Arbitrum Network

Arbitrum Network

เทคโนโลยีของ Arbitrum ถูกพัฒนาขึ้นภายใต้การนำของ Professor Edward W. Felten หรือ Ed Felten ศาสตราจารย์ด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์จาก Princeton University ผู้บรรยายหัวข้อ Bitcoin and Cryptocurrency Technologies ที่มีคนติดตามมากที่สุดคนหนึ่งของโลก และ ยังเคยทำงานในทำเนียบขาวในตำแหน่ง Deputy United States Chief Technology Officer หรือ ตำแหน่งรองประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีแห่งสหรัฐอเมริกามาแล้ว…

Smart grid

Smart Grid… โครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ

ระบบ Smart Grid จึงถือเป็นโครงข่ายผลิต สำรองและจ่ายกระแสไฟฟ้าที่ต้องบูรณาการกันทั้งระบบ โดยผู้ใช้ไฟฟ้าที่ปลายสายส่งจนถึงแหล่งผลิตและจ่ายกระแสไฟฟ้าหลัก… ต่างต้องเชื่อมโยงข้อมูลและโครงข่ายถึงกันอย่างมีประสิทธิภาพ