โครงการอวกาศของจีนภายใต้ความรับผิดชอบของ China National Space Administration หรือ CNSA หรือ 国家航天局 หรือ องค์การบริหารกิจการอวกาศแห่งชาติจีน ในช่วงสี่ห้าปีมานี้ถือว่าก้าวหน้าและท้าทายวิวัฒนาการอย่างมาก โดยเฉพาะความสำเร็จในโครงการ Chang’e 4 หรือ ฉางเอ๋อ-4 ซึ่งลงจอดบนดวงจันทร์ในเขต Von Kármán หรือ ฟอนคาร์มัน ซึ่งเป็นหลุมอุกกาบาตขนาดกว้าง 186 กิโลเมตร อยู่ในแอ่งเอตเคนขั้วจันทร์ใต้ หรือ South Pole Aithen Basin ที่มีหลักฐานเกิดการพุ่งชนขนาดใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในระบบสุริยะ ด้วยความกว้าง 2,500 กิโลเมตร และ ลึกประมาณ 12 กิโลเมตร
โดยส่วนตัว… สิ่งที่น่าสนใจที่สุดในโครง Chang’e 4 หรือ ฉางเอ๋อ-4 ก็คือการทดลองนำพันธ์พืช 4 ชนิดไปทดสอบการงอกและเติบโตในชีวมณฑลประดิษฐ์ หรือ Artificial Biospheres ของยานฉางเอ๋อ-4 ด้วย ได้แก่ Cottonseed หรือ เมล็ดฝ้าย… Potato หรือ มันฝรั่ง… Rapeseed หรือ ผักกาดก้านขาว… และ Arabidopsis Thaliana หรือ อะราบิดอบซิส ธาเลียนา นอกจากนั้นยังมีการนำยีสต์ และ ไข่ของแมลงวันผลไม้ไปกับยานอีกจำนวนหนึ่งเพื่อทดลองฟักตัวเป็นหนอนในระบบนิเวศ… ซึ่งผลการทดลองออกมาแล้วว่าเมล็ดฝ้ายงอกได้ดีตามแผน
เมล็ดฝ้ายที่เริ่มงอกหน่ออ่อนในชีวมณฑลประดิษฐ์ หรือ Artificial Biospheres ที่ ฉางเอ๋อ-4 ขนไปด้วย… ถือเป็นสิ่งมีชีวิตชนิดแรกที่เจริญเติบโตขึ้นบนดวงจันทร์
การทดลองเพาะพันธ์พืชในสถานีอวกาศมีความก้าวหน้ามานาน แต่การเพาะพันธ์พืชบนดวงจันทร์อย่างจริงจังของโครงการฉางเอ๋อ-4 ถือเป็นการทดลองการขยายพันธ์และเจริญเติบโตสิ่งมีชีวิตกลุ่มแรกที่กำเนิดบนดวงจันทร์… ถึงแม้จะเกิดและเจริญเติบโตอยู่ในสภาพห้องทดลองแบบที่เรียกว่า ชีวมณฑล หรือ Biosphere ก็ตาม
ปีที่แล้วผมเคยพูดถึง Square Roots ซึ่งเป็นสตาร์ทอัพปลูกผักในโรงเรือนปิด และ เติบโตด้วยแสงสังเคราะห์ ภายใต้การนำของ Kimbal Musk น้องชายแท้ๆ ของ Elon Musk… โดยเฉพาะบทบาทของ Square Roots ในขณะที่เขตรัฐ Michigan มีการล็อกดาวน์ช่วงมีนาคม–เมษายนปี 2020 จากวิกฤตโควิดนั้น Square Roots ได้นำเทคโนโลยีการปลูกผักในสภาพแวดล้อมปิดขนาดตู้ขนส่งสินค้า หรือ ตู้คอนเทนเนอร์ ไปวางกระจายตามลานจอดรถซุปเปอร์มาร์เก็ตหลายแห่งเพื่อให้บริการผักใบอ่อนสำหรับเมนูสลัด ในขณะที่คนในมิชิแกนกำลังกักตุนอาหารจนขาดแคลนชั่วคราวในระหว่างนั้น
ประเด็นก็คือ… เทคโนโลยีการจัดการแบบ Square Roots บวกกับเทคโนโลยีการเพาะปลูกแบบ Biosphere จะทำให้มนุษย์สามารถสร้างสภาพแวดล้อมที่อุดมสมบูรณ์บนดาวดวงอื่นได้มากมายที่มีชั้นบรรยากาศ และ แรงโน้มถ่วงเหมาะสม… ซึ่งสามารถขนจากโลกไปวางไว้รอเก็บเกี่ยวได้เลย โดยเฉพาะในอนาคตที่การขนส่งขึ้นอวกาศสามารถขนส่งน้ำหนักบรรทุก หรือ Payload ได้หลายตันต่อเที่ยว…
โดยส่วนตัวเชื่อว่า… อุตสาหกรรมการเกษตร และ อุตสาหกรรมอาหารนับจากนี้เป็นต้นไป น่าจะมีอะไรๆ เปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมการเกษตรอีกมากทีเดียว… ที่น่าเสียดายก็คือ อุตสาหกรรมการเกษตร และ อุตสาหกรรมอาหารในบ้านเราที่เปลี่ยนแปลงน้อยเหลือเกิน มิหนำซ้ำยังใช้งบประมาณมากมายจากภาษีไปกับภาคเกษตรกรรมเพื่อชดเชยให้ “การไม่ต้องเปลี่ยนแปลง” เพียงเพื่อแลกกับ “ประชานิยม” และอะไรๆ ที่เห็นๆ อยู่ว่าไม่มีทางยั่งยืน… เพลียกับประเทศไทย
References…