Certified Food Professional… การสอบขึ้นทะเบียนนักวิทยาศาสตร์ด้านอาหาร สำหรับอุตสาหกรรมอาหาร

Food Science

ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมและส่งออกสินค้าเกษตรมานาน นานจนกระทั่งมารู้ทีหลังว่า สินค้าเกษตรที่ไทยส่งไปต่างประเทศนั้น ปลายทางยังต้องนำไปแปรรูปอีกหลายขั้นตอน ซึ่งสร้างมูลค่าเพิ่มได้อีกมหาศาล โดยเฉพาะสินค้าเกษตรอาหาร ที่โดดเด่นและฉายแววหมวดสินค้าผู้สร้างตัวเลข GDP ให้ประเทศได้มากที่สุดหมวดหนึ่งอย่างยั่งยืนเสียด้วย

สมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางอาหารแห่งประเทศไทย หรือ FoSTAT จึงร่วมมือกับ สมาคมสภาวิชาการอุตสาหกรรมเกษตร หรือ AIAC พร้อมกับ กลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หรือ FTI…  จึงช่วยกันผลักดัน “ระบบนิเวศน์อุตสาหกรรมอาหาร” ในทุกๆ มิติอย่างจริงจัง

หนึ่งในความเคลื่อนไหวอย่างสำคัญคือ การพยายามจัดตั้งและผลักดันให้มีสภาวิชาชีพด้านอาหารให้ครอบคลุมความสำคัญของอุตสาหกรรมนี้อย่างครบถ้วน โดยเฉพาะ “การขึ้นทะเบียนนักวิทยาศาสตร์ด้านอาหารสำหรับอุตสาหกรรมอาหาร” เพื่อส่งเสริมและเพิ่มขีดความสามารถของบุคลากรในภาคอุตสาหกรรมอาหาร ผ่านการทบทวนทางวิชาการและจัดการทดสอบตามหลักวิชาชีพ รวมถึงการสร้างเครือข่ายนักวิชาการเพื่อให้ความรู้ที่ถูกต้อง รวดเร็ว และเพิ่มประสิทธิภาพในการถ่ายทอดข้อมูล ข่าวสารระหว่างองค์กร เพื่อสร้างนักวิทยาศาสตร์ด้านอาหารที่มีความรู้ และมีจรรยาบรรณทางวิชาชีพ 

โดยการสอบขึ้นทะเบียนจะเป็นประโยชน์ต่อนิสิตนักศึกษาโดยมีสมาคม เป็นผู้รับรองความรู้ความสามารถ ในฐานะบุคคลที่สาม สร้างความไว้วางใจให้ผู้ประกอบการ โดยไม่ต้องจัดการสอบทางวิชาการเอง รวมถึงให้ประโยชน์แก่ผู้ประกอบการในการเติมเต็มความรู้เพื่อการทำงาน

สิ่งสำคัญก็คือ การผลักดันให้การขึ้นทะเบียนนักวิทยาศาสตร์ด้านอาหาร ได้รับการรับรองในทางกฎหมายเป็นมาตรฐานวิชาชีพ เพื่อสนับสนุนให้มีพระราชบัญญัติวิชาชีพ เรื่องนักวิทยาศาสตร์ด้านอาหารต่อไป

คุณสมบัติผู้สมัครของผู้มีสิทธิ์สอบนักวิทยาศาสตร์ด้านอาหาร… 

ต้องสำเร็จการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร หรือ สำเร็จการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง และ มีประสบการณ์ทำงานในอุตสาหกรรมอาหารไม่น้อยกว่า 3 ปี

สิทธินักวิทยาศาสตร์ด้านอาหารผู้ได้รับการขึ้นทะเบียน… 

ประกอบด้วย สิทธิดูแล ตรวจสอบและให้คำแนะนำเกี่ยวกับการผลิตและการควบคุมคุณภาพในสถานประกอบการอุตสาหกรรมอาหาร… มีสิทธินำหนังสือรับรองไปใช้ในการสมัครเข้าทำงาน หรือเป็นหลักฐานการประกอบวิชาชีพ… มีสิทธิได้รับข่าวสาร ข้อมูลจากสมาคม ตามที่สมาคมจัดให้เป็นการเฉพาะ มีสิทธิเข้าร่วมฝึกอบรม สัมมนาและประชุมตามที่สมาคมจัดให้เป็นการเฉพาะ

วิชาที่ใช้สอบ…

หมวดความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ทางอาหาร

  • หมวดวิชาเคมีอาหาร… ประกอบด้วย โครงสร้างและสมบัติทางเคมีขององค์ประกอบอาหาร / เคมีของการเปลี่ยนแปลงระหว่างการแปรรูปและเก็บรักษาและวิธีป้องกันแก้ไข / หลักการและเทคนิคการวิเคราะห์อาหารทางเคมี / สารเจือปนอาหาร / อันตรายทางเคมี / โภชนศาสตร์
  • หมวดวิชาจุลชีววิทยาอาหาร… ประกอบด้วย จุลินทรีย์ที่มีความสำคัญต่ออาหาร / จุลินทรีย์ที่ใช้ในกระบวนการผลิตอาหาร / จุลินทรีย์ที่ทำให้อาหารเน่าเสีย / จุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค / มาตรฐานและการตรวจวิเคราะห์จุลินทรีย์ในอาหารประเภทต่างๆ / จุลินทรีย์ในอาหารเพื่อสุขภาพ / แหล่งที่มาของการปนเปื้อน / ผลของกรรมวิธีการผลิตต่อจุลินทรีย์

หมวดความรู้ด้านเทคโนโลยีทางอาหาร

  • หมวดวิชาประกันคุณภาพและสุขาภิบาลอาหาร… ประกอบด้วย หลักการควบคุมคุณภาพและการประกันคุณภาพ / ปัจจัยคุณภาพและการตรวจวัดคุณภาพ / สถิติที่ใช้ในการควบคุมคุณภาพ / ระบบการประกันคุณภาพ / สุขาภิบาล การจัดการน้ำและของเสียในโรงงาน / ความปลอดภัยของอาหาร
  • หมวดวิชาแปรรูปอาหาร… ประกอบด้วย วัตถุดิบ (รวมถึงส่วนประกอบ) และการจัดการ / หลักการถนอมอาหาร และการแปรรูปอาหารด้วยวิธีการต่าง ๆ / ปัจจัยการแปรรูปที่มีผลต่อคุณภาพ / บรรจุภัณฑ์ / การเก็บรักษาผลิตภัณฑ์
  • หมวดวิชาวิศวกรรมอาหาร… ประกอบด้วย สมดุลมวลและพลังงาน / การถ่ายโอนความร้อนและมวลสาร / กลศาสตร์ของไหล / ปฏิบัติการเฉพาะหน่วยในกระบวนการแปรรูป

น้องๆ ที่เป็นนักศึกษาและเรียนอยู่ตอนนี้คงไม่น่าเป็นห่วงเรื่องการสอบขึ้นทะเบียนนักวิทยาศาสตร์ด้านอาหาร… แต่พี่ๆ รุ่นก่อนๆ ที่เรียนจบวิทยาศาสตร์อาหาร หรือ Food Science ไปประกอบวิชาชีพหรือทำงานกันแล้วคงต้องดิ้นรนหน่อยครับ อย่างน้อยควรจะหาทางขึ้นทะเบียนเอาไว้ตั้งแต่ตอนนี้… สอบถามเพิ่มเติมที่ สมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางอาหารแห่งประเทศไทย โทร : 02-9428528 ต่อ 105 หรือ E- mail : cfop@fostat.org 

ดาวน์โหลดใบสมัครทดสอบทางวิชาการที่นี่ และ ดาวน์โหลดตัวอย่างข้อสอบที่นี่

References…

Share this post

Add Properea's Friend

เพิ่ม Properea.com เป็นเพื่อนทาง Line
ท่านจะได้ Link บทความใหม่ส่งตรงให้อย่างสม่ำเสมอโดยรบกวนแต่น้อย

Related Post

งานสถาปนิค ’62… กรีน อยู่ ดี

งานสถาปนิค ’62 เป็นงานประจำปีโดย สมาคมสถาปนิคสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ปีนี้ข่าวว่าจะจัดงานใหญ่เต็มพื้นที่ ชาเลนเจอร์ฮอลล์ 1-3 ศูนย์แสดงสินค้าอิมแพ็ค เมืองทองธานี ระหว่างวันอังคารที่ 30 เมษายน – วันอาทิตย์ที่ 5 พฤษภาคม 2562 นี้

Virgin Galactic and Richard Brandson

Business Opportunities Are Like Buses – Richard Branson

Virgin Group มีธุรกิจในเครือมากกว่า 400 บริษัทในทุก ๆ อุตสาหกรรม… ซึ่งการลงทุนของ Richard Branson ส่วนใหญ่จะเข้าไปทำธุรกิจในหมวดที่มีคนทำประสบความสำเร็จอยู่แล้ว โดยหลายกิจการมีคู่แข่งอยู่ในตลาดอยู่แล้วมากมายและแข่งขันอย่างดุเดือด… แต่ Richard Branson ก็หา GAP หรือช่องว่างในตลาดจนเจอ และเข้าตลาดมาแบ่งส่วนไปต่อหน้าต่อตาผู้เล่นรายเดิมแบบงงๆ เสมอ…

อสังหาริมทรัพย์จังหวะนี้… ดีพอลงทุนหรือยัง?

ไตรมาสสุดท้ายของปี 2019 ผ่านสัปดาห์ที่ 3 มาแล้วครับ… สุขภาพธุรกิจของทุกท่านเป็นอย่างไรกันบ้าง ถ้าให้เดาผมเชื่อว่า แต่ละท่านน่าจะมีเรื่องบ่นกระบุงโกยกันทุกท่าน… ถ้ายังหาคนฟังไม่ได้ก็ทักทายเข้ามาน๊ะครับ ผมไม่แน่ใจหรอกครับว่าจะเป็นผู้ฟังที่ดีได้แค่ไหน… แต่เรื่องยินดีจะฟังหรือไม่… ผมยินดีเสมอครับ

Privacy Protection

DPO และ พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562

Data Protection Officer หรือ DPO มีหน้าที่ซึ่งนิยามไว้จากหลายๆ องค์กรว่า… DPO ทำงานด้านความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลอย่างยั่งยืน โดยมีเป้าหมายเพื่อทำให้องค์กรเป็น Privacy Sustainable Organization