วิกฤตที่พวกเราเจอร่วมกันมากับคนทั้งโลก และผลกระทบจากวิกฤตที่เราร่วมกันเผชิญพร้อมกับคนทั้งโลก… เป็นวิกฤตการระบาดของไวรัสโคโรน่า ที่เหมือนจะไม่มีอะไรเมื่อเริ่มต้น แต่ก็กลายเป็นปัญหาคาดไม่ถึงมากมายจนกระทบทุกคน
ผมมีเพื่อนหลายคนที่ถอยออกจากองค์กรที่ทุ่มชีวิตทำงานให้ เพราะหลายเหตุผล แต่ที่แน่ๆ การลดค่าจ้างเงินเดือนลงและการเลิกจ้างขององค์กรธุรกิจในวันที่ถูก Lockdown นั้น… เหตุผลหลักของธุรกิจก็คือเรื่องการต่อลมหายใจให้ธุรกิจ ซึ่งวัดโดยใช้ตัวแปรหลายอย่าง และหนึ่งในนั้นคือตัวแปรที่ชื่อ Cash Buffer Days
Cash Buffer Days คือ จำนวนวันที่ธุรกิจสามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ หรือสามารถชำระค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ได้ เมื่อไม่มีรายรับที่เป็นตัวเงิน… โดยคำนวณจากจำนวนเงินสดที่ธุรกิจมีในบัญชี หารด้วย Cash Out-flow หรือรายจ่ายที่ธุรกิจต้องจ่ายในการดำเนินกิจการ เช่น ค่าเช่า ค่าวัตถุดิบ ชิ้นส่วนและอุปกรณ์ ค่าจ้าง รายได้ส่วนของเจ้าของ ที่โอนออกจากบัญชีธุรกิจเพื่อการออมส่วนตัว การชำระคืนเงินกู้ และการชำระภาษี
Cash Buffer Days เป็นตัวบ่งชี้สำคัญที่จะบอกว่า… ธุรกิจมีความสามารถมากน้อยเพียงใดในการดำเนินกิจการในยามที่เกิดวิกฤติที่กระทบรายรับ โดยเฉพาะสำหรับธุรกิจขนาดเล็กที่มีข้อจำกัดในการเข้าถึงแหล่งเงินกู้หรือการระดมทุน ทำให้กระแสเงินสดเป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงสภาพคล่องของธุรกิจ ซึ่ง Cash Buffer Days จะช่วยสะท้อนสภาพคล่องและกันชนทางการเงินของธุรกิจขนาดเล็กได้เป็นอย่างดี และยังช่วยให้เจ้าของธุรกิจเข้าใจสถานการณ์ทางการเงินของธุรกิจได้ดียิ่งขึ้น
เวบไซต์ scbeic.com ได้ยกตัวอย่าง Cash Buffer Days ของธุรกิจ SMEs โดยอ้างอิงรายงานของ JPMorgan Chase & Co. Institute เรื่อง Cash is King: Flows, Balances, and Buffer Days… เผยแพร่ไว้เมื่อเดือนกันยายน ปี 2016… ซึ่งศึกษาข้อมูลธุรกิจของประเทศสหรัฐอเมริกาในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ – เดือนตุลาคม ปี 2015 จำนวน 597,000 บริษัท ใน 12 สาขาธุรกิจ พบว่า… ธุรกิจขนาดเล็กที่มีลูกจ้างน้อยกว่า 500 คนในสหรัฐอเมริกา มีค่ากลาง หรือ median ของ Cash Buffer Days อยู่เพียง 27 วัน…
หมายความว่า หากธุรกิจขนาดเล็กในสหรัฐอเมริกามีเหตุให้ไม่มีรายรับ เงินสดในบัญชีของธุรกิจเหล่านั้นจะสามารถทำให้ธุรกิจดำเนินกิจการต่อได้เพียง 27 วัน นอกจากนี้ JPMorgan ยังพบอีกว่า… ครึ่งหนึ่งของธุรกิจขนาดเล็กในสหรัฐอเมริกามี Cash Buffer Days น้อยกว่า 1 เดือน และ 25% ของธุรกิจขนาดเล็กนั้นมี Cash Buffer Days น้อยกว่า 13 วัน
เมื่อพิจารณาแยกตามสาขาธุรกิจพบว่า… ธุรกิจขนาดเล็กในภาคอสังหาริมทรัพย์มีค่ากลางของ Cash Buffer Days สูงสุดที่ 47 วัน… รองลงมาเป็นกลุ่มธุรกิจ High-technology เป็นกลุ่มสาขาธุรกิจที่มี
ค่ากลางของ Cash Buffer Days น้อยที่สุดที่ 16… กลุ่มธุรกิจที่เป็น Labor-intensive หรือธุรกิจที่พึ่งพาแรงงาน มี Cash Buffer Days อยู่ที่ 23 วัน… กลุ่มธุรกิจที่เป็น Capital-intensive หรือธุรกิจพึ่งพาเงินลงทุน มี Cash Buffer Days อยู่ที่ 38 วัน… และกลุ่มสาขาธุรกิจที่มีค่าจ้างต่ำ มี Cash Buffer Days อยู่ที่ 19 วัน… ในขณะที่กลุ่มสาขาธุรกิจที่ค่าจ้างสูงมี Cash Buffer Days อยู่ที่ 31 วัน…
ข้อมูลจาก SCBEIC ซึ่งได้จากการวิเคราะห์จากข้อมูลของกรมธุรกิจการค้าพบว่า… ในปี 2018 มีจำนวนธุรกิจ SMEs อยู่ที่ 7.3 แสนบริษัท หรือ คิดเป็น 98.3% ของจำนวนบริษัททั้งหมด และจากรายงานของสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ระบุว่า มูลค่าของธุรกิจ SMEs ในปีเดียวกันคิดเป็น 43.0% ของ GDP ดังนั้น ธุรกิจ SMEs จึงเป็นกลุ่มธุรกิจที่ภาครัฐให้ความสนใจ ทั้งนี้ EIC ยังพบด้วยว่า “มากกว่าครึ่งหนึ่งของธุรกิจขนาดเล็กของประเทศไทยในภาคบริการ มีสัดส่วนของบริษัทที่มี Cash Buffer Days น้อยกว่า 60 วัน โดยเฉพาะในสาขาธุรกิจโรงแรมและร้านอาหาร การศึกษา สารสนเทศ และอสังหาริมทรัพย์”
ความท้าทายสำหรับธุรกิจ SMEs ในประเทศไทยคือการจัดการสภาพคล่องของธุรกิจที่มีความจำเป็นต่อการดำเนินธุรกิจ และ เป็นปัจจัยสนับสนุนให้ธุรกิจเติบโตในอนาคต ดังนั้น การมี Cash Buffer Days ที่ยาวจึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการจัดการสภาพคล่องของธุรกิจ และเป็นกันชนทางการเงินของธุรกิจในยามที่เกิดวิกฤติจนกระทบรายรับ โดยเฉพาะธุรกิจ SMEs ที่เข้าถึงแหล่งเงินทุนได้จำกัดกว่าธุรกิจขนาดใหญ่ ที่อาจได้เงินสำรองมาจากการกู้ยืมหรือการระดมทุนจากผู้ถือหุ้น
Cash Buffer Days ที่น้อย… สะท้อนถึงสภาพคล่องและกันชนทางการเงินของธุรกิจที่น้อยลงตาม และเมื่อเจอสถานการณ์ที่คับขัน เช่น วิกฤติเศรษฐกิจ หรือสถานการณ์โรคระบาดที่ทำให้รายรับของธุรกิจลดลง หรือในบางสาขาธุรกิจก็ต้องหยุดกิจการชั่วคราว
ขอบคุณข้อมูลจาก SCBEIC ครับ!
อ้างอิง