Business Opportunities Are Like Buses – Richard Branson

Virgin Galactic and Richard Brandson

Sir Richard Charles Nicholas Branson หรือ Richard Branson นักธุรกิจชาวอังกฤษ เป็นเจ้าของธุรกิจ Virgin Group ที่มีบริษัทในเครือให้ชายคนนี้ดูแลกว่า 400 บริษัททั่วโลก… ซึ่ง Richard Branson เริ่มทำธุรกิจมาตั้งแต่อายุ 15 ปี หลังจากตัดสินใจไม่ยอมเรียนต่อ!

Richard Branson เกิดวันที่ 18 กรกฎาคม ปี 1950 ที่เมือง Blackheath ใน London… เขาเกิดมาในครอบครัวชนชั้นกลาง มีบิดาเป็นผู้พิพากษา กับมารดาที่เป็น Air Hostess

วัยเด็กของ Richard Branson ชอบเล่นกีฬามากกว่าการเรียนหนังสือ จนกลายเป็นกัปตันทีมรักบี้และคริกเก็ต แต่ก็ประสบอุบัติเหตุจนเป็นนักกีฬาไม่ได้อีกต่อไป… ที่สำคัญกว่านั้นคือ Richard Branson เป็น Dyslexia หรือโรคบกพร่องในการอ่านหนังสือ ทำให้เขาต้องเรียนรู้ผ่านการลงมือทำ แทนที่จะเรียนรู้จากหนังสือ

ว่ากันว่า… Richard Branson กับ Nik Powell เพาะนกแก้วขายตั้งแต่อายุ 11 แถมกิจการรุ่งเรื่องสดใสอย่างมากจนมีนกในกรงรอขายรบกวนเพื่อนบ้าน และแม่ของเขา Evette Huntley Branson ต้องเปิดกรงปล่อยนกไปทั้งหมด… หลังจากนั้น Richard Branson กับ Nik Powell ก็ลงทุนปลูกต้นคริสต์มาสเพื่อหวังทำเงินในคริสต์มาสหน้า แต่สองหนุ่มน้อยวัย 12-13 ปีก็ผิดหวังเมื่อถูกกระต่ายทำลายแปลงต้นคริสต์มาสของพวกเขา… ทั้งคู่จึงถอนทุนคืนด้วยการล่ากระต่ายป่าไปขายแทน

Richard Branson เริ่มธุรกิจจริงจังในวัย 15 ปีด้วยการเปิดตัวนิตยสารรายสัปดาห์ชื่อ Student เพื่อเจาะกลุ่มผู้อ่านวัยเรียน โดยมีโมเดลรายได้จากการขายโฆษณาในหน้านิตยสาร… โดยมีแม่ของเขา Richard Branson เป็นทั้งที่ปรึกษา เลขานุการ ผู้ช่วยและนักลงทุนให้ลูกชายที่มีปัญหาบกพร่องเรื่องการอ่าน แต่อยากทำนิตยสารขายแบบไม่เจียมตัวสุดๆ

Richard Branson เล่าบ่อยๆ ว่า… วันที่เขาออกจากโรงเรียนมาทำธุรกิจ ครูใหญ่ให้คำอวยพรแปลกๆ กับเขาที่จำจนถึงทุกวันนี้ก็คือ… Congratulations Branson, I predict you will either go to jail or become a millionaire. ยินดีด้วยแบรนสัน, ครูทายว่าถ้าเธอไม่จบที่คุกเธอต้องได้เป็นมหาเศรษฐีแน่ๆ

ปี 1970… Richard Branson วัย 20 ปีตัดสินใจเขาสู่วงการแผ่นเสียง ด้วยการเสนอขายแผ่นเสียงผ่านการสั่งซื้อในนิตยสาร Student ของเขา ซึ่งราคาถูกกว่าท้องตลาด 15% ส่งแผ่นเสียงให้ลูกค้าทางไปรษณีย์ ทีเด็ดของ Richard Branson ในตลาดแผ่นเสียงก็คือ เขารวบรวมแผ่นเสียงหายากและมีขายเฉพาะในลอนดอน เสนอขายให้ลูกค้าทั่งอังกฤษได้ด้วย ทำให้กิจการของเขาเติบโตอย่างรวดเร็วจนกระทั่งเกิดเหตุประท้วงหยุดงานของพนักงานไปรษณีย์ ทำให้ไม่สามารถส่งแผ่นเสียงให้กับลูกค้าได้ จนกิจการแผ่นเสียงเกือบจะล้มละลายเลยทีเดียว

ปี 1971 Richard Branson จึงตัดสินใจเปิดร้านขายแผ่นเสียงเป็นแห่งแรกบนถนน Oxford กลางกรุงลอนดอน… ก่อนจะขอเช่าพื้นที่ของร้านขายรองเท้าที่หมายตา… Richard Branson นั่งนับจำนวนผู้คนที่เดินผ่านบริเวณนั้นจนมั่นใจว่า มีผู้คนมากพอที่จะเห็นหน้าร้านของพวกเขา จึงได้เจรจากับเจ้าของร้านรองเท้า เพื่อขอเช่าพื้นที่ที่ว่างอยู่

Paul Dolman, Carole Clarke and Phil Middleton outside Virgin Records, July 1980
Paul Dolman, Carole Clarke and Phil Middleton outside Virgin Records, July 1980

Richard Branson เล่าว่า ทันที่เจ้าของร้านรองเท้าได้ยินว่าพวกเขาจะเปิดร้านขายแผ่นเสียง ก็เอ่ยสวนทันทีเลยว่า “พวกนายไม่มีทางจ่ายค่าเช่าฉันได้แน่ๆ” แต่ Richard Branson ก็ใช้ทักษะการเจรจาจนเจ้าของร้านรองเท้ายอมในที่สุด… แถมยังไม่ต้องจ่ายค่าเช่าเริ่มแรกจนกว่าจะเริ่มมีลูกค้าเข้ามาที่ร้านระดับหนึ่งอีกด้วย เพราะในฝั่งของเจ้าของร้านรองเท้ายังไงก็ไม่ได้ใช้พื้นที่ส่วนนั้นทำอะไรอยู่แล้ว และร้าน Virgin Records and Tapes ก็ได้ถือกำเนิดขึ้นที่ Tottenham Court Road, Oxford Street, London.

Richard Branson กับ Nik Powell คู่หูเพื่อนยากจะไปแจกโบชัวส์แนะนำโปรโมชั่นต่างในตะละสัปดาห์ รอบๆ ร้านของพวกเขา 

Nik Powell 1993
Nik Powell 1993

ในร้าน Virgin Records and Tapes จะมีหูฟังเสียงดีๆ ให้ลูกค้าฟังเพลงตัวอย่างมากมาย โดยเฉพาะเพลง Top Chart จากนิตยสารดังและสถานีวิทยุต่างๆ แถมมีกาแฟฟรีในร้าน ทำให้บรรยากาศของร้านเป็นกันเอง จนเกิดการบอกกันปากต่อปาก และลูกค้าขาประจำก็กลับมาซื้อซ้ำถี่ขึ้นตลอด

Michael Oldfield และ Richard Branson

แต่โลกธุรกิจไม่ได้สวยงามไปตลอด… การส่งเทปและแผ่นเสียงทางไปรษณีย์ในยุคที่ติดตามพัสดุได้ยาก ปัญหาสินค้าเสียหายอย่างลูกค้าได้รับสินค้าแต่ใช้ไม่ได้ หรือแม้แต่เคลมว่าไม่ได้รับสินค้า… นักธุรกิจใจนังเลงอย่างคู่หู Branson กับ Nik ก็ส่งชิ้นใหม่ให้ลูกค้าจนขาดทุนป่นปี้… แถมออเดอร์ต่างประเทศครั้งแรกจากประเทศเบลเยี่ยม ที่นักธุรกิจมือใหม่ ไม่เคยเรียนหนังสือและไม่รอบคอบตามประสาวัยรุ่นทำการค้าใหญ่เกินตัวระดับส่งออก… Richard Branson ถูกดำเนินคดีข้อหาหลีกเลี่ยงภาษี และถูกคุมขังอยู่ 1 คืนและถูกปรับเป็นเงิน 30,000 ปอนด์ ที่ Edward James Branson และ Evette Huntley Branson… พ่อและแม่ของเขาต้องจำนองบ้านหาเงินสามหมื่นปอนด์มาช่วยลูกชาย

แต่ร้าน Virgin Records and Tapes ก็ไม่ได้ล้มหายตายไป แถมยังโด่งดังจนเปิดห้องอัดเสียงในเวลาต่อมา โดยหุ้นส่วนรุ่นแรก นอกจากจะมี Richard Branson และ Nik Powell แล้ว… ยังมี Simon Draper และ Tom Newman ช่วยกันสร้าง Virgin Records and Tapes ขึ้นที่  Notting Hill Gate ใน London… พร้อมกับศิลปินคนแรกที่โด่งดังทันทีนาม ไมค์ โอลด์ฟิลด์ หรือ Michael Gordon Oldfield โดยมี Tom Newman เป็นโปรดิวเซอร์… และจากนั้นมา Virgin Records ก็เป็นเสาหลักให้กับอีกหลายสิบธุรกิจในเครือ รวมทั้งศิลปินและวงการเพลงของโลกในยุคที่ธุรกิจแผ่นเสียง เทปและซีดีเพลงรุ่งเรืองสุดขีด

ปี 1979… Richard Branson ซื้อสิทธิ์เกาะ Necker Island ที่เคยมีราคาสูงถึง 6,000,000 ดอลลาร์ ในราคา 180,000 ดอลลาร์เพราะเจ้าของสิทธิ์คนเก่าร้อนเงิน… ซึ่ง Richard Branson สารภาพในภายหลังว่า ที่จริงเขาตัดสินใจซื้อเพื่อเอาใจแฟนสาว Joan Templeman เท่านั้นเอง ซึ่งก็ทำให้เขาได้ทั้งภรรยาและลูกอีกสองคือ Holly และ Sam Branson จากแม่ที่ชื่อ Joan Templeman

Richard Branson ตั้งชื่อเกาะแห่งนี้ใหม่ว่า British Virgin Island และต้องรีบพัฒนาให้เป็นรีสอร์ทภายใน 4 ปี เพราะเงื่อนไขการซื้อคือ ไม่ทำรีสอร์ตให้เสร็จภายในเวลาที่กำหนด สิทธิ์ในการเป็นเจ้าของเกาะจะกลับคืนสู่รัฐบาลโดยให้ถือว่าทุกอย่างเป็นโมฆะ… อันเป็นเงื่อนไขที่เจ้าของสิทธิ์คนเก่า ถูกบีบให้ขายในราคาเหมือนได้เปล่าให้กับ Richard Branson นั่นเอง

Richard Branson ใช้งบประมาณกว่า 10 ล้านเหรียญสหรัฐเพื่อพัฒนารีสอร์ทบนเกาะแห่งนี้ ซึ่งสามารถรองรับลูกค้าได้เพียง 30 คน กับค่าเช่าคืนละ 65,000 เหรียญสหรัฐ หรือคืนละ 2 ล้านบาทเศษ

Necker Island ปัจจุบันสามารถจองทั้งเกาะสำหรับ 34 คนในราคา 87,500 ดอลลาร์สหรัฐต่อคืนขึ้นไป

ปี 1983… Richard Branson และภรรยาเดินทางไปเปอร์โตริโก ขากลับ… เที่ยวบินของเขาถูกยกเลิก ทำให้นักธุรกิจใจถึงอย่าง Richard Branson ติดต่อขอเช่าเครื่องบินแบบเหมาลำ แล้วหารค่าใช้จ่ายร่วมกับผู้โดยสารอีกร้อยกว่าคนในเที่ยวบินเดียวกัน ปรากฏว่าทุกคนได้จ่ายค่าโดยสารเพียงคนละ 39 ดอลลาร์สหรัฐเท่านั้น

ปี 1984… Randolph Fields ก็หอบโปรเจคทำสายการบินข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกมาเสนอในราคาพิเศษ… Richard Branson และ Randolph Fields จึงได้ร่วมกันก่อตั้งธุรกิจสายการบิน Virgin Atlantic Airways ขึ้นหลังจากการพบปะคราวนั้นเพียง 1 สัปดาห์ … พร้อมกับโมเดลสายการบินต้นทุนต่ำที่กลายเป็นหอกทิ่มตำ British Airways ที่ถือเป็นสายการบินแห่งชาติของอังกฤษ จนเกิดกรณีว่ากล่าวใส่ร้ายจาก British Airway ด้วยการกล่าวหาว่า Virgin Atlantic ขโมยลูกค้าของ British Airways ไป และยังเจาะระบบคอมพิวเตอร์ หรือ Hack ข้อมูลของ British Airways

แต่การต่อสู้ในชั้นศาล British Airways ต้องจ่ายค่าเสียหายให้ Richard Branson กว่า 500,000 ปอนด์ และจ่ายค่าเสียหายให้กับสายการบิน Virgin Atlantic เป็นเงิน 110,000 ปอนด์ และจ่ายค่าธรรมเนียมตามกฏหมายอีก 3,000,000 ปอนด์อีกด้วย

แต่วิบากกรรมของธุรกิจการบินก็ทำให้ Richard Branson และผู้บริหารเครือ Virgin ต้องขายกิจการ Virgin Records ให้ EMI เพื่อนำเงินมาพยุงกิจการ Virgin Atlantic Airways… ซึ่งในเวลาต่อมาคนจึงเข้าใจว่า Richard Branson ตัดสินใจทิ้ง Virgin Records เพราะการมาถึงของ Digital Music และไฟล์ MP3 ที่ค่ายเพลงทั่วโลกจุกอกในหลายมิติกันทั่วหน้า… ในขณะที่ Richard Branson เห็นแนวโน้มก่อนจึงปล่อย Virgin Records ไปให้กับ EMI ได้ในราคาสูงถึง 500 ล้านยูโรทีเดียว

ปัจจุบัน Virgin Group มีธุรกิจในเครือมากกว่า 400 บริษัทในทุก ๆ อุตสาหกรรม… ซึ่งการลงทุนของ Richard Branson ส่วนใหญ่จะเข้าไปทำธุรกิจในหมวดที่มีคนทำประสบความสำเร็จอยู่แล้ว โดยหลายกิจการมีคู่แข่งอยู่ในตลาดอยู่แล้วมากมายและแข่งขันอย่างดุเดือด… แต่ Richard Branson ก็หา GAP หรือช่องว่างในตลาดจนเจอ และเข้าตลาดมาแบ่งส่วนไปต่อหน้าต่อตาผู้เล่นรายเดิมแบบงงๆ เสมอ… ซึ่งอาจจะเป็นเพราะคำคมประโยคหนึ่งที่ Richard Branson พูดถึงบ่อยไม่น้อยที่ว่า

Business Opportunities Are Like Buses, There’s Always Another One Coming… โอกาสทางธุรกิจก็เหมือนรถโดยสาร ที่จะมีคันใหม่วนมาตลอด

ประเด็นก็คือ Richard Branson ไม่เคยต้องคิดนวันกรรมล้ำเลิศเพื่อเริ่มธุรกิจ แต่ชายคนนี้โดดเข้าแข่งธุรกิจที่ยังปล่อยช่องว่างเหลือไว้ให้เขาเจอ ท่ามกลางตลาดขนาดใหญ่ และโอกาสมหาศาลที่ผู้เล่นในตลาดอาจจะมัวแต่แข่งกันเพลินมากกว่าจะสนใจลูกค้าว่าต้องการอะไร… เผลอนิดเดียว Richard Branson และอาณาจักร Virgin ก็พร้อมเปิดบริการท่องเที่ยวอวกาศในนาม Virgin Galactic แล้ว และเป็นเพียงหนึ่งในสามเอกชนของโลกที่พร้อมทำธุรกิจพาคนออกนอกโลกแข่งกับ Blue Origin ของ Amazon และ SpaceX ของ Elon Musk ทีเดียว

Richard Branson | Elon-Musk | Jeff Bezos
สามผู้นำที่เข้าสู่ธุรกิจนอกโลกแล้วในปัจจุบัน

สุขสันต์วันอาทิตย์ครับ

อ้างอิง

https://en.wikipedia.org/wiki/Nik_Powell
https://en.wikipedia.org/wiki/Richard_Branson
https://en.wikipedia.org/wiki/Mike_Oldfield

Share this post

Add Properea's Friend

เพิ่ม Properea.com เป็นเพื่อนทาง Line
ท่านจะได้ Link บทความใหม่ส่งตรงให้อย่างสม่ำเสมอโดยรบกวนแต่น้อย

Related Post

วีซ่าลองสเตย์ 10 ปี กับอสังหาริมทรัพย์ไทย

เมื่อ 22 พ.ย.2559 คณะรัฐมนตรีเห็นชอบอนุมัติขยายระยะเวลาพำนักในราชอาณาจักรไทย สำหรับกลุ่มพำนักในระยะยาวหรือลองสเตย์วีซ่า ซึ่งเป็นไปตามมาตรการส่งเสริมให้ไทยเป็นศูนย์กลางทางด้านสุขภาพ

Fund That Flip…

ดูเหมือนว่าประเด็น Crowdfunding ที่ผมเพิ่งเกริ่นไปเมื่อสองสามวันก่อนจะร้อนแรงไม่ใช่น้อย… ไม่ว่าจะยังไง… Feedback ที่ได้ทั้งผ่านข้อความและโทรตรงมาที่ผม… มีค่ากับทิศทางและเป้าหมายของ Properea มากมาย และขอบคุณทุกท่านอีกครั้งที่แบ่งปันข้อมูลและความเห็นทุกประเด็น

US Inflation 2022… เงินเฟ้อสหรัฐอเมริกาเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 40 ปี

ตัวเลขเงินเฟ้อของสหรัฐอเมริกาเดือนมกราคม ปี 2022 ที่เปิดออกมาช่วงต้นเดือนกุมพาพันธ์ผ่านดัชนีราคาผู้บริโภค CPI หรือ Consumer Price Index ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อจากการใช้จ่ายของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นถึง 7.5% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน… โดยเป็นอัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นสูงที่สุดนับตั้งแต่ปี 1982 หรือ สูงที่สุดในรอบ 40 ปี ที่คนอเมริกันต้องซื้อของแพงขึ้นพรวดเดียวสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ใช้อยู่ไม่ถึงหนึ่งเปอร์เซนต์

Digital Marketing Experience

ผมเป็นแฟน thinkwithgoogle.com มาซักพักใหญ่แล้วหล่ะครับ และผมแนะนำให้ทุกท่านแวะเวียนไปค้นดู และรู้จักกับ thinkwithgoogle.com เอาไว้บ้าง เพราะข้อมูลและบทความ รวมทั้งความเคลื่อนไหวต่างๆ ของที่นี่ หลายเรื่องสามารถจุดประกายใหม่ๆ ได้เยอะทีเดียว… โดยเฉพาะ Digital Marketing Mindset ที่ผมคิดว่า สามารถ Update ข้อมูลให้สมองมีอะไรสดใหม่ได้ตื่นตัวรับการเปลี่ยนแปลงได้อีก