Bull Traps / Bear Traps… กับดักกระทิง / กับดักหมี

Bull traps / Bear Traps

การวิเคราะห์ดัชนีหลักทรัพย์ในตลาดซื้อขายแลกเปลี่ยน ทั้งตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ หุ้นและคริปโตนั้น ประเด็นความแม่นยำในการวิเคราะห์ และ ความสามารถในการทำนายแนวโน้มราคาในคาบเวลาถัดไป สุดท้ายก็ต้องยอมรับกันว่าไม่ง่ายที่จะทำนายราคาได้ถูกต้องร้อยเปอร์เซนต์ และนักลงทุนส่วนใหญ่ก็ไม่ได้คิดว่าจะต้องทำนายราคาให้ถูกทิศทางได้ทุกครั้งกันหรอก ขอเพียง “ทำนายถูกมากกว่าผิด” เพื่อให้การวางออเดอร์ส่วนใหญ่ได้กำไร โดยยอมรับการขาดทุนในบางออเดอร์ที่เป็นส่วนน้อยจากการทำนายราคาผิดไปบ้าง… ก็พอ

การเทรดสินทรัพย์ลงทุนจึงเป็นเกมแบบ… ขาดทุนให้น้อย ทำกำไรให้มาก โดยมีแนวทางการจัดการพอร์ตด้วย Hedging Strategy หรือ กลยุทธ์ป้องกันความเสี่ยงเพื่อปกป้องเงินลงทุน โดยเฉพาะการออกแบบ Profit/Loss Ratio ซึ่งหลายกรณีจำเป็นต้องใช้การวิเคราะห์ราคาเข้ามาช่วยวางแผน

อย่างไรก็ตาม… ส่วนที่ยากที่สุดของการลงทุนในตลาดสินทรัพย์ลงทุนผ่านการเทรดทุกตลาดก็ยังคงเป็นเรื่อง “ทำนายทิศทางผิด และ ประเมินกรอบความเคลื่อนไหวของราคาผิด” อยู่ดี… ซึ่งนักลงทุนชั้นเซียนที่อยู่ในตลาดมานานก็ยังพลาดได้เป็นประจำ ถึงแม้ว่าจะมีประสบการณ์การขั้นสามารถอ่านแท่งเทียน และ ใช้เครื่องมือทางเทคนิคขั้นสูงมานานเป็นสิบยี่สิบปีก็ตาม… ยิ่งถ้าเจอสัญญาณความเคลื่อนไหวของราคาหลักทรัพย์ลงทุนเกิดปรากฏการณ์ Bull Traps หรือ กับดักกระทิง หรือ สัญญาณลวงว่าราคาจะวิ่งขึ้น… และ Bear Traps หรือ กับดักหมี หรือ สัญญาณลวงว่าราคาจะปรับตัวลง… ปรากฏให้นักลงทุนเห็น

กรณีราคาสินทรัพย์ลงทุนพุ่งขึ้นทะลุแนวต้าน จนทำให้นักลงทุนส่วนใหญ่เชื่อว่าตลาดกระทิงได้เริ่มวิ่งแล้ว และนักลงทุนก็จะตรวจสอบสัญญาณกระทิงกับเครื่องมือวิเคราะห์ที่ตัวเองถนัด และ สุดท้ายก็ตามมาด้วยการวางออเดอร์ BUY ตามความเชื่อ… แต่แล้วก็เกิดการกลับตัวของราคาลดต่ำลงอย่างรวดเร็วจนออเดอร์ที่ค้างอยู่ติดลบกลายเป็นขาดทุน ซึ่งนักลงทุนก็ต้องจัดการออเดอร์ หรือ พอร์ตตามกลยุทธ์ “ผิดทาง” ที่เตรียมไว้ในที่สุด

ส่วนกรณีราคาสินทรัพย์ร่วงลงอย่างรวดเร็วจนทะลุลงต่ำกว่าแนวรับที่วิเคราะห์ไว้ ซึ่งนักลงทุนไม่มีทางอื่นให้เชื่อได้อีก นอกจากจะเชื่อว่าตลาดหมีกำลังไล่ถล่มราคาสินทรัพย์ลงทุนให้ลดลงได้อีก โดยเฉพาะโอกาสที่จะเห็นราคาลดลงต่ำกว่าแนวต้านที่อยู่ต่ำกว่าราคาปัจจุบัน จนต้องเคาะออเดอร์ SELL ตามความวิตก… แต่แล้วก็เกิดการกลับตัวของราคาเป็นวิ่งขึ้นสวนทางอย่างรวดเร็ว จนออเดอร์ที่ SELL ออกไปแล้วเกิดขาดทุนทางเทคนิคและเสียโอกาสไปทันที ยิ่งถ้าเป็นการเทรดบัญชีมาร์จิ้นก็จะยิ่งเห็นการขาดทุนต่อหน้าต่อตาอย่างชัดเจน… ซึ่งหลายคนมักจะหลุดเข้าสู่ภาวะ “รู้งี้” ตั้งแต่ขั้นขำๆ ไปจนถึงขั้นคร่ำครวญกันมากมาย

สิ่งที่นักลงทุนจะต้องยอมรับก็คือ… Bull Traps / Bear Traps นั้นยากต่อการระบุ หรือ Identify โดยธรรมชาติ… เนื่องจาก Bull Traps / Bear Traps เป็นภาวะผกผันของราคา และ ทิศทางที่ขัดกับสัญญาณปกติโดยธรรมชาติ ทั้งสัญญาณทางจิตวิทยาของตลาด และ สัญญาณทางเทคนิคซึ่งมีสถิติมากมายชี้นำแนวโน้มราคาในขณะนั้น… อันเป็นความเสี่ยงในตลาดทุนที่ไม่ได้เหมาะกับทุกคนมาแต่ไหนแต่ไร

แต่ก็สามารถใช้การวิเคราะห์ทางเทคนิคขั้นรอบคอบ และ การวิเคราะห์พื้นฐานเกี่ยวกับสินทรัพย์ รวมทั้งการกำหนดกลยุทธ์การลงทุนบน Timeframe ที่เหมาะสมกับสินทรัพย์ลงทุนเป็นรายตัว โดยออกแบบ Profit/Loss Ratio อย่างเหมาะสม… และ อย่าลืมใช้งานฟังก์ชั่น Stop Loss ของแพลตฟอร์มเทรดเพื่อสร้าง Loss Ratio ที่ควบคุมจัดการได้

ส่วนการวิเคราะห์ทางเทคนิคเพื่อระบุ หรือ Identify พฤติกรรมราคาแบบ Bull Traps / Bear Traps นั้น… โดยส่วนตัวแม้จะเรียนและพยายามจำรูปแบบแท่งเทียน และ เครื่องมือทางเทคนิคมาไม่น้อย แต่พอถึงจังหวะเวลาจริงๆ ก็ไม่ง่ายที่จะฟื้นความรู้ และ เอาความจำมาใช้ตัดสินใจจนได้ Action Price ขั้นแม่นยำจริงๆ ได้ไม่เต็มร้อย ซึ่งหลายๆ ท่านคงเคยเจอปัญหาคล้ายๆ กัน… แต่การรู้ไว้เรียนไว้ก็ดีกว่าไม่รู้อะไรเสียเลย ท่านที่สนใจลองค้นคลิป หรือ บทความศึกษาเพิ่มเติมดูได้ครับ เพราะผมจะขอข้ามไม่ลงรายละเอียดการอ่านสัญญาณทางเทคนิครูปแบบต่างๆ ที่ “มักจะ” Bull Traps / Bear Traps ไปในบทความตอนนี้

เอาเป็นว่า… ในเบื้องตนเพียงเทรดลงทุนให้มีออเดอร์ขาดทุนน้อยกว่าออเดอร์กำไรให้ได้ก่อนก็พอ!

References…

Bull Traps, Bear Traps, Hedging Strategy, Profit/Loss Ratio,

Share this post

Add Properea's Friend

เพิ่ม Properea.com เป็นเพื่อนทาง Line
ท่านจะได้ Link บทความใหม่ส่งตรงให้อย่างสม่ำเสมอโดยรบกวนแต่น้อย

Related Post

Northern Lanna Long Stay ยุทธศาสตร์ที่กินลึกถึงอสังหาริมทรัพย์ภาคเหนือตอนบน

เมื่อสองปีก่อน (2016) ผมติดตามข่าว Northern Lanna Long Stay Seminar ที่จัดขึ้นในเชียงใหม่ด้วยวาระว่าด้วยนักท่องเที่ยวกลุ่มที่อยู่ยาวห้าปีสิบปีพื้นที่ภาคเหนือตอนบน (เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แม่ฮ่องสอน) หรือนักท่องเที่ยว Visa O-X ที่ผมเขียนถึงคราวที่แล้ว …ล่าสุด เชียงใหม่เพิ่งมีพิธีมอบใบประกาศนียบัตรผู้ผ่านการอบรมผู้ประกอบการล้านนาสองสเตย์ขึ้น เมื่อวันที่ 4 ตุลาคมที่ผ่านมาครับ!

Robotic Furnitures

Robotic Furniture

ช่วงกลางปีที่ผ่านมา แบรนด์เฟอร์นิเจอร์ยักษ์ใหญ่อย่าง IKEA ได้เปิดตัวเฟอร์นิเจอร์ชุด ROGNAN Robotic Furniture สำหรับพื้นที่ขนาดเล็กในเมืองใหญ่ โดยออกแบบให้ห้องนอน ห้องรับแขก ตู้เสื้อผ้าและโต๊ะทำงานอยู่ในชุดเฟอร์นิเจอร์ที่วางไว้ในพื้นที่ 3.5×3 เมตร หรือเพียง 10.5 ตารางเมตรเท่านั้น

Benjamin Franklin

Tell Me And I Forget, Teach Me And I May Remember, Involve Me And I Learn – Benjamin Franklin

Benjamin Franklin… มหาบุรุษผู้ร่วมสร้างสหรัฐอเมริกาที่ถูกเรียกว่า Founding Fathers of the United States หรือ บิดาผู้ก่อตั้งสหรัฐ หรือกลุ่มผู้ร่างและลงนามในคำประกาศอิสรภาพในปี 1776… ก็เคยพูดเกี่ยวกับการศึกษาเอาไว้หลายแง่มุม โดยเฉพาะแง่มุมการเรียนรู้ที่ว่า Tell Me And I Forget, Teach Me And I May Remember, Involve Me And I Learn… บอกข้าฯ เดี๋ยวข้าฯ ก็ลืม สอนข้าฯ… ข้าฯ อาจจะจำ ฝึกข้าฯ… ข้าฯ ได้เรียนรู้… ซึ่งสะท้อนขั้นตอนการเรียนรู้ที่มีอยู่ 3 ขั้นตั้งแต่ บอกเล่า สอนสั่งและฝึกฝน… โดยขั้น “การบอกเล่าและสอนสั่ง” ถือว่ายังไปไม่ถึง “เรียนรู้ หรือ Learn” จนกว่าจะได้นำความรู้นั้นไปปฏิบัติ ซึ่งก็ไม่ได้จำกัดว่าต้องฝึกกับครูบาอาจารย์อย่างเดียว… ฝึกและทำด้วยตัวเองก็ได้จนเกิดการเรียนรู้

Cryptohopper… แพลตฟอร์มบอทเทรดยอดนิยม

ชื่อ Cryptohopper ในยุทธจักรบอทเทรดซึ่งให้บริการมาตั้งแต่ปี 2018 หลังการก่อตั้งโดย Ruud Feltkamp และ Pim Feltkamp ในปี 2017… ถือเป็นชื่อของแพลตฟอร์มบอทเทรดที่ได้รับความน่าเชื่อถืออย่างสูง จนมียอดผู้ใช้งานสะสมหลายแสนบัญชี โดยส่วนใหญ่เป็นบัญชีแบบจ่ายค่าบริการรายเดือน ถึงแม้ Cryptohopper จะมีบัญชีฟรีให้ใช้ไม่จำกัดระยะเวลาก็ตาม