Build Robotics… หุ่นจักรกลหนักนักสร้างโลก

Build Robotics

อุตสาหกรรมก่อสร้างเป็นสาขาที่มีการใช้เครื่องจักรหนักมากมายในทุกห่วงโซ่ นับมาตั้งแต่เหมืองหิน ท่าทราย โรงปูน ไปจนถึงงานรื้อถอนอาคาร ทุบตึกและขนขยะก่อสร้างไปทิ้ง… ทั้งหมดล้วนต้องการเครื่องจักรหนักมากมายสารพัดคุณสมบัติมาช่วยงาน และอุตสาหกรรมก่อสร้างก็ถือเป็นกลไกทางเศรษฐกิจหลักถึงขั้นขับเคลื่อนตัวเลข GDP โดยตรง ซึ่งมักจะเป็นพายชิ้นใหญ่ในพายกราฟ GDP ของทุกประเทศเสมอ

เครื่องจักรหนักในอุตสาหกรรมก่อสร้าง จึงมีวิวัฒนาการอย่างต่อเนื่องไม่ต่างจากวิทยาการสาขาอื่นๆ ซึ่งเครื่องจักรช่วยงานก่อสร้างในปัจจุบัน ได้รับการพัฒนาจนถึงขั้นขับเคลื่อนและทำงานแบบ Autonomous ไปจนถึงระดับ AI Driven และพร้อมสำหรับงานบนพื้นโลก ใต้มหาสมุทร ไปจนถึงทำงานในวงโคจรค้างฟ้าและนิคมบนดาวดวงอื่นได้แล้ว… ถึงแม้ข่าวคราวความเคลื่อนไหวในวงการนี้จะไม่ค่อยหวือหวาเหมือนข่าวยานยนต์ไร้คนขับ หรือข่าวหุ่นยนต์เสิร์ฟอาหารก็ตาม

แต่ในวงการเทคโนโลยีก่อสร้าง ต่างก็ใช้งานจักรกลอัตโนมัติในงานก่อสร้างจริงๆ ระดับ  Autonomous ไปจนถึงระดับ AI Driven กันมาแล้วหลายปี… และมี ConTech Startup เกิดขึ้นเพื่อแข่งกันพัฒนาจักรกลอัตโนมัติในและหุ่นยนต์ในงานก่อสร้าง

วันนี้เลยอยากแนะนำ ConTech Startup จาก San Francisco ชื่อ Build Robotics ได้พัฒนาจักรกลงานก่อสร้าง โดยเฉพาะเครื่องจักรในงานวิศวกรรมโยธา จำพวกรถขุด รถตัก รถเกรด รถบด รถดัน และอีกสารพัดที่เคลื่อนที่ได้ด้วยตัวเอง และทำงานหนักที่แทนแรงกายมนุษย์ผู้ไม่มีทางจะทำงานเทียบเทียมได้ให้สำเร็จเสร็จสิ้นลง… ซึ่งแต่เดิมเครื่องจักรหนักที่ติดตั้งบนพาหนะมีล้อเหล่านี้ ต้องใช้คนขับและควบคุมการทำงานอย่างน้อยหนึ่งคนต่อหนึ่งคัน และยังต้องทำงานไปพร้อมกันกับเครื่องจักรด้วย

แต่เครื่องจักรของ Build Robotics ใช้เพียงแอพสั่งงานจากมือถือหรือแท็บเล็ต… แล้วก็รอให้เครื่องจักรทำงานให้เสร็จเท่านั้นเอง… ดูคลิปที่แนบมาเพิ่มเติมเองเลยครับ น่าจะเห็นภาพและเข้าใจง่ายกว่าการเขียนบรรยาย

ประเด็นเล็กๆ ที่อยากจะพูดถึงก็คือ… นวัตกรรมของ Build Robotics เป็นการ Upgrade ที่ไม่ได้ซับซ้อนอะไรมากมาย ในขณะที่ความต้องการในตลาดเครื่องจักรก่อสร้าง มีมากเท่าที่เครื่องจักรรุ่นเก่ามีใช้อยู่ในปัจจุบัน และ กำลังจะถูกทดแทนด้วยเครื่องจักรแบบนี้ทั้งหมดในเร็ววันนี้… และผมเชื่อว่า ตลาดนี้รวมทั้งการพัฒนาเทคโนโลยีในแนวทางนี้ ยังเหลือช่องว่างและโอกาสอีกมากให้ต่อยอดไปทำเงิน… ส่วนท่านที่จริงจังและสนใจข้อมูลประกอบการวิเคราะห์แผนธุรกิจสาย ConTech และ Data Analytics In Construction ติดต่อผ่านไลน์ส่วนตัวที่ ID: dr.thum ครับ!

References…

Share this post

Add Properea's Friend

เพิ่ม Properea.com เป็นเพื่อนทาง Line
ท่านจะได้ Link บทความใหม่ส่งตรงให้อย่างสม่ำเสมอโดยรบกวนแต่น้อย

Related Post

Quad Summit

Quad Summit… ดุลย์อำนาจใหม่ในพื้นที่อินโดแปซิฟิก

การประชุม Quad Summit โดยมีประเด็นความวิตกกังวลต่อบทบาทของจีนในเวทีโลกที่ถูกมองว่า “แข็งกร้าวและท้าทาย” ขึ้นมากตลอดหลายปีที่ผ่านมา… และ ประธานาธิบดี Joe Biden แห่งสหรัฐอเมริกา ก็ออกแรงด้วยตัวเองอย่างเร่งด่วนมาตั้งแต่เข้ารับตำแหน่งใหม่ โดยมีผู้นำจากชาติพันธมิตรใน Quad อย่าง Narendra Modi นายกรัฐมนตรีอินเดีย… Yoshihide Suga นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น… และ Scott Morrison นายกรัฐมนตรีจากออสเตรเลีย… เห็นพ้องในยุทธศาสตร์ “ต้องทำอะไรสักอย่างเพื่อกีดกันจีน”

แบบจําลองธุรกิจการปลูกป่าเศรษฐกิจในพื้นที่กรรมสิทธิ์เอกชน

ประเด็นคุยกันเรื่อง “สวนกล้วย–สวนมะนาว” ของแลนด์ลอร์ด ซึ่งกำลังถูกภาษีที่ดินเปล่าไล่ล่า ที่ไม่ว่าจะช้าเร็วก็ต้องจ่ายภาษีที่ดินว่างเปล่าแพงกว่าที่ดินเกษตรกรรม รวมทั้งที่ดินที่มีการใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจอย่างชัดเจน… ซึ่งแลนด์ลอร์ดหลายท่านไม่ได้ปลื้มแนวคิดสวนกล้วยสวนมะนาวบนที่ดินของตัวเองเท่าไหร่ โดยทางเลือกที่ดีกว่า และ น่าอายน้อยกว่าอีกทางก็คือ “การปลูกป่าเศรษฐกิจ” เพื่อประโยชน์ด้านลดหย่อนภาษีจากการใชประโยชน์ในการใช้พื้นที่ประกอบกิจการด้านเกษตรกรรม

Neutron Rocket จาก Rocket Lab

โจทย์ยากที่สุดในการเดินทางขึ้นอวกาศคือการหนีแรงโน้มถ่วงของโลก ซึ่งในปัจจุบันยังต้องพึ่งเทคโนโลยีจรวดขับดัน หรือ Rocket ที่ยังไม่ได้มีอะไรใหม่มากมายกว่าจรวดในยุคที่มนุษย์ประกาศการเหยียบดวงจันทร์เอาไว้เมื่อกว่า 50 ปีที่ผ่านมา… แต่การออกแบบระบบควบคุมจรวด และ เทคโนโลยีที่ใช้ในการสร้างจรวดในปัจจุบัน ก็ได้พัฒนามาถึงยุคที่สามารถควบคุมอัตโนมัติ และ ควบคุมทางไกลได้อย่างน่าเชื่อถือ แถมยังปลอดภัยมั่นใจได้ยิ่งกว่าเดิม ในขณะที่การสร้างจรวดด้วยเทคโนโลยีวัสดุที่ค้นพบใหม่ เช่น กรณีการใช้ Carbon Composite ที่ขึ้นรูปด้วย 3D Printer เพื่อผลิตจรวด Neutron ของ Rocket Lab ซึ่งเป็นโครงการพัฒนาจรวดขนาดใหญ่ที่หลายฝ่ายเชื่อว่าจะเพิ่มการแข่งขัน และ การเติบโตของเศรษฐกิจอวกาศ หรือ Space Economies ไปอีกขั้น