ท่าอากาศยานนานาชาติบึงกาฬ… ว๊าวว

ในที่สุดผมก็ได้ข้อมูลที่ยืนยันได้ว่า… บึงกาฬมีโครงการก่อสร้างสนามบินที่ บ้านดอนปอ ตำบลหนองเข็ง อำเภอเมือง จังหวัดบึงกาฬ ระยะห่างจากตัวจังหวัดบึงกาฬ ประมาณ 25 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 212 ตอนหนองคาย – บึงกาฬ โดยได้มีการศึกษาความเหมาะสมในการก่อสร้างท่าอากาศยานนานาชาติบึงกาฬจากสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย ซึ่งได้รับงบประมาณศึกษาเบื้องต้นประมาณ 18 ล้านบาท เพื่อศึกษาความเหมาะสมของสถานที่ในการก่อสร้าง

นางอัมพวัน วรรณโก อธิบดีกรมท่าอากาศยาน (ทย.) กล่าวว่า วันที่ 27 พ.ย.2561 กรมมีอายุครบรอบ 85 ปี มีแผนการพัฒนากรมท่าอากาศยานตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ภายใต้หัวข้อ “ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างความสามารถทางการแข่งขัน” โดยมีเป้าหมายให้ท่าอากาศยานในสังกัดกรมท่าอากาศยานเป็นอุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคต ผ่านอุตสาหกรรมและบริการขนส่งและโลจิสติกส์ เน้นให้มีต้นทุนการขนส่งต่ำ แต่ได้ตามมาตรฐานสากล

รวมถึงการพัฒนาท่าอากาศยานให้เป็นโครงสร้างพื้นฐานเชื่อมไทย เชื่อมโลก โดยให้ไทยเป็นจุดเชื่อมโยงคมนาคมของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เนื่องจากความได้เปรียบด้านภูมิศาสตร์ที่เป็นศูนย์กลาง

สำหรับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ได้ทำการเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งของไทย 20 ปี และยุทธศาสตร์กระทรวงคมนาคม 5 ปี สู่การเป็น “ยุทธศาสตร์กรมท่าอากาศยาน 5 ปี” ดังนี้

ยุทธศาสตร์ที่ 1 จัดให้มีและพัฒนาท่าอากาศยานเพื่อส่งเสริมโครงข่ายการบินได้ครอบคลุมทั่วถึงทุกพื้นที่ โดยกรมท่าอากาศยานจัดให้มีการศึกษาความเป็นไปได้ในการมีท่าอากาศยานแห่งใหม่ที่จังหวัดมุกดาหาร จังหวัดบึงกาฬ จังหวัดสตูล และจัดให้มีท่าอากาศยานแห่งใหม่ คือ ท่าอากาศยานเบตง อำเภอเบตง จังหวัดยะลา

นอกจากนี้ยังพัฒนาและเพิ่มขีดความสามารถท่าอากาศยาน ผ่านโครงการพัฒนาท่าอากาศยานแม่สอด กระบี่ ขอนแก่น นครศรีธรรมราช และตรัง รวมถึงการเพิ่มขีดความสามารถลานจอดเครื่องบิน ที่ท่าอากาศยานอุดรธานี ท่าอากาศยานสกลนคร ท่าอากาศยานลำปาง และท่าอากาศยานบุรีรัมย์

ยุทธศาสตร์ที่ 2 ปรับปรุง บำรุงรักษาโครงสร้างพื้นฐานสิ่งอำนวยความสะดวกให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยกรมท่าอากาศยานดำเนินการปรับปรุงอาคารที่พักผู้โดยสารเร่งด่วน ณ ท่าอากาศยานอุบลราชธานี ท่าอากาศยานบุรีรัมย์ ท่าอากาศยานเลย ท่าอากาศยานตรัง และท่าอากาศยานนครศรีธรรมราช เพื่อแก้ไขปัญหาระยะสั้นที่อาคารไม่สามารถรองรับผู้โดยสารได้ในปัจจุบัน ก่อนที่โครงการใหญ่จะแล้วเสร็จ นอกจากนี้กรมท่าอากาศยานยังดำเนินการปรับปรุงมาตรฐานด้านการรักษาความปลอดภัยตามมาตรฐาน ICAO ผ่านโครงการระบบตรวจค้นสัมภาระอัตโนมัติหลังเคาน์เตอร์เช็คอิน EDS in line เริ่มติดตั้งปี 2560 จะแล้วเสร็จตามแผนในปี 2562 และโครงการจัดหารถดับเพลิงเพื่อทดแทนรถรุ่นเดิม

ยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาและปรับปรุงการบริหารจัดการท่าอากาศยานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยดำเนินการจัดสรรทรัพยากรด้านพื้นที่ออกบัตรโดยสารที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด ผ่านโครงการ common use Check-in ที่ท่าอากาศยานกระบี่เป็นท่าอากาศยานนำร่อง รวมถึงการให้บริการฟรีอินเตอร์เน็ตไร้สาย ณ ท่าอากาศยานทุกแห่งในสังกัดกรมท่าอากาศยาน เพื่อเพิ่มการให้บริการและสนองตอบต่อ life style ของผู้โดยสารในปัจจุบัน จะดำเนินการแล้วเสร็จในเดือนเมษายน 2562

ยุทธศาสตร์ที่ 4 พัฒนาองค์กรภายใต้หลักธรรมาภิบาล โดยกรมท่าอากาศยานได้แก้ไขปัญหาการบริหารจัดการพื้นที่เชิงพาณิชย์ให้มีความโปร่งใสในการประกวดราคาพื้นที่เพื่อให้ได้รับผลตอบแทนเข้ารัฐอย่างเหมาะสม และควบคุมเพดานราคาสินค้าที่ไม่ให้สูงกว่าราคาขายภายนอกท่าอากาศยาน รวมถึงสนับสนุน โครงการประชารัฐวิสาหกิจชุมชนของรัฐบาล โดยให้ผู้ประกอบการท้องถิ่นมีพื้นที่ในการประกอบกิจการผ่านวิธีการคัดเลือกที่โปร่งใสและตรวจสอบได้ เพื่อช่วยเหลือให้ผู้ประกอบการท้องถิ่นมีต้นทุนที่ถูกกว่าผู้ประกอบการรายใหญ่

ยุทธศาสตร์ที่ 5 บริหารทรัพยากรมนุษย์อย่างมีประสิทธิภาพ โดยกรมท่าอากาศยานได้ปรับโครงสร้างองค์กร ส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่มีความรู้ความสามารถหลากหลายหน้าที่ รวมถึงปลูกฝังแนวคิดการให้บริการผู้โดยสารผ่านโครงการยิ้มแย้มยินดี สุขขีที่บ้านเรา เพื่อให้เกิดวัฒนธรรมองค์กรด้านบริการ ซึ่งเป็นหน้าที่หลักในปัจจุบัน และทั้งหมดนี้ กรมท่าอากาศยานมุ่งมั่นที่จะพัฒนาท่าอากาศยานในสังกัดเพื่อเชื่อมต่อทุกรอยยิ้ม สู่อนาคตที่สดใส อธิบดีกรมท่าอากาศยานกล่าว

ที่มา: ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ 

ผมค้นข้อมูลต่อเนื่องจนชัดเจนว่า บึงกาฬมีที่ดิน 2 แปลง บริเวณบ้านดอนปอ ต.โนนสว่าง อ.เมือง จ.บึงกาฬ ที่เหมาะสมและลงมือเปิดหน้าดินเตรียมพัฒนาแล้ว  พื้นที่ราว 4,714 ไร่ ใช้งบประมาณ 2,000 ล้านบาท เริ่มโครงการ ช่วงปี พ.ศ. 2562 ใช้เวลาก่อสร้าง 3 ปีครึ่ง

… พี่น้องชาวบึงกาฬครับ… ป้ายที่เห็นหน่ะของจริงครับผม!!!

Share this post

Add Properea's Friend

เพิ่ม Properea.com เป็นเพื่อนทาง Line
ท่านจะได้ Link บทความใหม่ส่งตรงให้อย่างสม่ำเสมอโดยรบกวนแต่น้อย

Related Post

รถไฟทางคู่บ้านไผ่-มุกดาหาร-นครพนม จิ๊กซอว์ชิ้นใหญ่ของ East-West Economic Corridor

วันก่อนผมเขียนถึง East-West Economic Corridor แต่โฟกัสไปที่พิษณุโลก และวันนี้ผมจะตามเส้นทาง EWEC มาทางอิสาน ซึ่งความเคลื่อนไหวในการก่อสร้างเส้นทางรถไปทางคู่สายบ้านไผ่-มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร-นครพนม และเชื่อมสะพานมิตรภาพไทย-ลาว 2 และ 3 ที่มุกดาหารและนครพนม… ซึ่งยุทธศาสตร์การขนส่งทางรางของประเทศไทย เป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างโลจิสติกส์ระดับภูมิภาค ที่จะส่งให้เศรษฐกิจและความมั่งคั่งเกิดขึ้นตลอดเส้นทางไปอีกแสนนาน

permaculture design

Edible Ecosystems… ดินน้ำอากาศแร่ธาตุและผู้คน

ประเด็นก็คือ… PermaCulture เป็นแนวคิดการทำฟาร์มออร์แกนิคอีกแนวทางหนึ่ง สำหรับ Farmer ที่เชื่อว่า “รากพืชต้องลงดินจึงกินได้” ที่ผมรู้จักหลายๆ ท่านที่ไม่ปลื้มผักไฮโดรโปนิคส์ ที่ปลูกและโตบนน้ำ

Hydrogen Economy

Hydrogen Economy… แนวโน้มและทิศทาง 2022-2030

ภาพรวมไฮโดรเจนจากเอกสารชื่อ HYDROGEN INSIGHTS 2021 โดย Hydrogen Council และ McKinsey & Company ได้ออกรายงานพบการลงทุนสร้างโรงแยกก๊าซไฮโดรเจนแบบ Green Hydrogen มีมากถึง 359 ทั่วโลก และเป็นโครงการขนาดใหญ่ถึง 131 โครงการในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2021… มีเม็ดเงินลงทุนเบื้องต้นราว 150,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และ คาดว่าจะสร้างเศรษฐกิจมูลค่า 500,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐภายในปี 2030

Financial Analysis for Startups… จาก Yonsei University เกาหลีใต้

Financial Analysis for Startups เป็นคอร์สลำดับที่ 3 ในโมเดลด้านการเงินสำหรับสตาร์ทอัพ ซึ่ง Professor Dr.Hyun Han Shin ทำไว้เป็นชุด 3 คอร์ส โดยมีคอร์ส  Valuation and Financial Analysis For Startups Specialization และ Valuation for Startups Using Discounted Cash Flows Approach ที่ไม่ควรพลาดที่จะเรียนต่อเนื่องกัน… ซึ่งถ้าไม่มีพื้นฐานจริงๆ ก็ควรกลับไปเรียน Valuation และ Cash Flows มาก่อนก็ดี