18 กันยายน 2563 ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออก Consultation Paper เรื่องการพัฒนาระบบนิเวศสำหรับการให้บริการ Digital Factoring เพื่อสื่อสารและรับฟังความเห็นจากสาธารณชน… โดยคุณธรรมรักษ์ หมื่นจักร์ ผู้อำนวยการฝ่ายกลยุทธ์สถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้ชีแจงเพิ่มไว้ว่า.. ที่ผ่านมา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อระดมความคิดเห็นถึงแนวทางในการพัฒนาดังกล่าวร่วมกับผู้เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนมาก่อนแล้ว
ซึ่งในครั้งนั้น… คุณพีรจิต ปัทมสูต ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายกลยุทธ์สถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้อธิบายกับนักข่าวเพิ่มเติมว่า… ปัญหาของเอสเอ็มอีในปัจจุบันคือการเข้าถึงบริการทางการเงิน หรือ สินเชื่อได้ยาก หากเทียบกับธุรกิจขนาดใหญ่ ดังนั้น ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงเล็งเห็นความสำคัญของ Factoring ซึ่งถือเป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้เอสเอ็มอีเข้าถึงสภาพคล่องได้มากขึ้น ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงได้ริเริ่มโครงการ การพัฒนาระบบนิเวศสำหรับการให้บริการ Digital Factoring โดยนำเทคโนโลยีมาสนับสนุนในทุกกระบวนการที่เกี่ยวข้อง เพื่อแก้ปัญหาและลดอุปสรรคของ SMEs รายย่อยในการเข้าถึงบริการ Factoring
Factoring หรือ Invoice Factoring ก็คือการขายลูกหนี้การค้า หรือ Account Receivable ของกิจการหรือใบแจ้งหนี้ หรือ Invoice ให้แก่ผู้ให้บริการที่รับซื้อบัญชีลูกหนี้การค้า โดยการขายลูกหนี้การค้าก็คือ… การขายหรือการโอนสิทธิลูกหนี้การค้าที่เกิดจากการขายสินค้าและบริการที่เป็นเงินเชื่อไปให้กับบริษัทที่รับซื้อใบแจ้งหนี้นั่นเอง… ซึ่งที่ผ่านมาถือว่ามีปัญหามากมายโดยเฉพาะการฉ้อโกงจนทำลายโอกาสของธุรกิจรายเล็กที่ไม่มีหลักประกันสินเชื่อเช่นเดิม
ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงเป็นเจ้าภาพ… นำแพลตฟอร์มดิจิทัลซึ่งจะเป็นประโยชน์กับทุกฝ่ายมาใช้ ซึ่งในระยะยาวก็จะดีกับเศรษฐกิจไทยโดยรวมนั่นเอง… โดยส่วนตัวถือว่าเป็นข่าวดีมากๆ สำหรับ SMEs และธุรกิจครับ
และล่าสุดเมื่อปลายเดือนเมษายน 2021 ที่ผ่านสดๆ นี่เอง… ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ในโครงการพัฒนาระบบนิเวศสำหรับการให้บริการ Digital Factoring ได้เปิดตัวระบบฐานข้อมูลกลาง หรือ Central Web Service เพื่อทำหน้าที่เก็บข้อมูลในส่วนที่สำคัญของใบแจ้งหนี้ หรือ Invoice ช่วยตรวจสอบการขอสินเชื่อซ้ำซ้อน ซึ่งจะช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจแฟ็กเตอริงในการพิจารณาให้สินเชื่อกับ SMEs โดยเฉพาะรายย่อย
โดยปัจจุบันระบบฐานข้อมูลกลางมีผู้ใช้งานแล้ว 5 ราย ได้แก่
- ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
- บริษัท ดีไนน์ตี้ แคปปิตอล จำกัด
- บริษัท บิลมีเวนเจอร์ จำกัด
- บริษัท อินเทอร์เน็ตประเทศไทย จำกัด (มหาชน)
- บริษัท เอ็กซ์เพรสซอฟท์แวร์กรุ๊ป จำกัด
สำหรับผู้ประกอบธุรกิจแฟ็กเตอริงและผู้ให้บริการระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์สำหรับธุรกรรมแฟ็กเตอริงที่ประสงค์จะใช้งานระบบฐานข้อมูลกลาง สามารถยื่นความประสงค์มายัง ธนาคารแห่งประเทศไทยก่อนเริ่มใช้งานระบบ โดยสามารถดู เอกสารประกอบการสมัครใช้งานระบบ และรายละเอียดแนวปฏิบัติ ธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การใช้ระบบฐานข้อมูลกลาง