Blockchain Oracle…

Blockchain Oracle

ในจักรวาลของ dApp หรือ Decentralized Application ซึ่งขับเคลื่อนระบบหลังบ้านด้วย Blockchain นั้น… โดยทั่วไปจะมีข้อมูลที่จำเป็นต้องใช้อ้างอิงเพื่อให้ Smart Contract หรือ สัญญาอัจฉริยะทำงานได้ถูกต้อง ซึ่งข้อมูลป้อน Smart Contract นี่เองที่ทำให้ dApp แตกต่างจาก Blockchain ธรรมดาซึ่งทำได้แค่โอนคริปโตภายในระบบไปมาระหว่าง Wallet ไม่ต่างจากสมุดบัญชีออมทรัพย์ที่มีเพียงเงินเข้ากับเงินออกเป็นธุรกรรมให้บันทึกอยู่ภายในธนาคารเดียวที่ใช้สกุลเงินเดียว

ในขณะที่ dApp ต้องใช้ข้อมูลที่เป็น “ตัวแปร หรือ Variable” ส่งเข้าไปประมวลผลตามเงื่อนไขของสัญญาอัจฉริยะ หรือ Smart Contract ก่อน… ซึ่งสัญญาอัจฉริยะต้องการตัวแปรตามเงื่อนไขจนครบถ้วนตามที่กำหนดไว้ล่วงหน้า จึงจะนำข้อมูลที่ต้องบันทึกลงบล็อกเชนส่งไปบันทึกธุรกรรมลงบล็อก และ ทำฉันทามติ หรือ Consensus เพื่อจบการทำธุรกรรม เช่น แพลตฟอร์ม DEX สำหรับแลก ETH เป็น BTC ซึ่งทำงานด้วย Smart Contract ต้องตรวจสอบอัตราแลกเปลี่ยนจาก “แหล่งข้อมูลภายนอก” ที่ Smart Contract กำหนดไว้ ก่อนการแสดงอัตราแลกเปลี่ยนให้กับลูกค้าโดยอัตโนมัติ

ประเด็นก็คือ… การดึงข้อมูลภายนอกมาใช้กับ Smart Contract แบบตรงไปตรงมาเหมือนการเรียกข้อมูลจากฐานข้อมูลแบบแอพพลิเคชั้นทั่วไปนั้น… ไม่ได้ปลอดภัยสำหรับ Smart Contract ที่เขียนไว้ล่วงหน้าชัดเจน และ ส่วนใหญ่เปิดเผย Source Code และ เกี่ยวข้องกับเรื่องเงินๆ ทองๆ อีกต่างหาก… เพราะแค่ส่งข้อมูลลวงให้ Smart Contract ง่ายๆ ก็สามารถโกงได้แล้ว… กรณีแพลตฟอร์ม DEX สำหรับแลก ETH เป็น BTC เพียงแค่แฮกเกอร์ส่งข้อมูลอัตราแลกเปลี่ยน 1ETH==1BTC เพียงเท่านี้ก็โกงแพลตฟอร์มจนล้มละลายได้ในไม่กี่วินาที

การใช้งาน Blockchain ในอุตสาหกรรมทุกชนิดจึงต้องสร้างแพลตฟอร์มรับ–ส่งข้อมูลให้ Smart Contract หรือ สัญญาอัจฉริยะให้ทำงานได้อย่างน่าเชื่อถือก่อนอื่น… นั่นทำให้ระบบนิเวศของบล็อกเชนในระดับอุตสาหกรรมจำเป็นต้องมี Blockchain Oracle เอาไว้ใช้งานเพื่อแก้ปัญหารอยต่อข้อมูลที่รับ–ส่งระหว่างบล็อกเชนกับโลกภายนอก

ในจักรวาลของ dApp สาย DeFi หรือ Decentralized Finance ล้วนต้องพึ่ง Blockchain Oracle เพื่อใช้อ้างอิงการทำธุรกรรมไม่ต่างกันทั้งหมดทุกแพลตฟอร์ม… Blockchain Oracle อันดับหนึ่งในปี 2021 อย่าง Chainlink ซึ่งได้รับความเชื่อถือจาก DeFi โครงการใหญ่ๆ มากมายจน Link Token ของ Chainling มีมูลค่าทางการตลาด หรือ Market Capital ในช่วงค่ำของวันที่ 13 สิงหาคม 2021 มากถึง 11,826.98 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ด้วยราคา 26.62 USD/LINK… ถือเป็นภาพความสำเร็จที่เกิดจากความสำคัญของการต้องมี Blockchain Oracle ที่เชื่อถือได้ เอาไว้เป็นส่วนหนึ่งของระบบนิเวศ

ในทางเทคนิค… Blockchain Oracle ไม่ได้เป็นแค่แหล่งข้อมูลสำหรับบล็อกเชน และ สัญญาอัจฉริยะเท่านั้น แต่ยังเป็น Layer ในการตรวจสอบความถูกต้องของแหล่งข้อมูลภายนอก… ตรวจสอบลักษณะข้อมูลที่สามารถประมวลผล และ ป้อนให้กับสัญญาอัจฉริยะ หรือ Smart Contract ซึ่งรวมถึงข้อมูลจากเซนเซอร์ หรือ Sensor จาก Hardware หรือ อุปกรณ์ IoT อื่นๆ รวมทั้งข้อมูลที่ผลิตขึ้นภายนอกโดยมนุษย์และนำเข้าระบบ เช่น ผลการเลือกตั้ง หรือ ผลการแข่งขันกีฬา หรือ ชื่อผู้ชนะประกวดร้องเพลง… ซึ่งถ้าสัญญาอัจฉริยะระบุให้ริบเงินคนเดิมพันกีฬาแพ้ และ โอนเงินรางวัลให้คนเดิมพันชนะ และ/หรือ ผู้ชนะก็สามารถทำได้ทันที

ส่วนการวางแผนพัฒนา dApp ที่ต้องพึ่ง Blockchain และ Blockchain Oracle นั้น… การเตรียมโมเดลธุรกิจ และ โมเดลแพลตฟอร์ม dApp จำเป็นต้องเข้าใจรูปแบบการทำงานกับข้อมูลของ Blockchain Oracle หรือ Oracle แต่ละประเภทด้วย ซึ่งหลักๆ จะประกอบไปด้วย

  1. Software Oracle… เป็น Oracle ที่ดึงข้อมูลมาจากแหล่งข้อมูลที่เป็นฐานข้อมูล และ ส่งไปยัง Blockchain เช่น ราคาสินทรัพย์ ผลการแข่งขัน จำนวนประชากร หรือ ข้อมูลเที่ยวบิน
  2. Hardware Oracle… ถูกออกแบบมาให้ทำงานกับข้อมูล Input/Output จากอุปกรณ์ IT&IoT เช่น เครื่องสแกนบาร์โคด เครื่องวัดอุณหภูมิ เครื่องวัดความเร็ว หรือ อุปกรณ์ที่มีเซนเซอร์ต่างๆ
  3. Inbound/Outbound Oracle… โดย Inbound Oracle จะส่งข้อมูลจากภายนอกเข้ามายังเครือข่าย Blockchain Oracle เช่น การรายงานผลอุณหภูมิด้วยการวัดเซนเซอร์… และ Outbound Oracle จะส่งข้อมูลออกไปภายนอก เช่น ระบบ Smart Lock จะปลดล็อกเมื่อชำระเงินผ่านเครือข่าย Blockchain
  4. Centralized/Decentralized Oracle… สำหรับ Centralized Oracle จะดึงข้อมูลมาจากแหล่งข้อมูลเดียว เช่น ข้อมูลเลขที่บัตรประชาชน 13 หลักจากกระทรวงมหาดไทย… Decentralized Oracle ดึงข้อมูลจากหลายแหล่งที่มา เพื่อทำให้ข้อมูลมีความถูกต้อง และ มีความน่าเชื่อถือมากขึ้นถึงขั้นสามารถใช้คาดการณ์หรือทำนายผ่านกลไกฉันทามติ หรือ Concensus เพื่อตรวจความถูกต้องระดับประมวลผลซับซ้อนได้ เช่น ข้อมูลสุขภาพจากหลายๆ โรงพยาบาลเพื่อทำ Health Score
  5. Contract Specific Oracle… ถูกออกแบบมาให้ใช้กับ Smart Contract เดียว ทำให้กำหนดค่าตัวแปรใช้งานไม่ซับซ้อน แต่ก็ไม่ยืดหยุ่นในการประยุกต์และเปลี่ยนแปลง
  6. Consensus Based Oracle… เป็นการรับ–ส่งข้อมูลที่ผ่านฉันทามติ หรือ Consensu เพื่อรับข้อมูลสรุปสุดท้ายที่เป็นฉันทามติ เช่น ข้อมูลราคา Bitcoin จากกระดานซื้อขายทั่วโลกที่ดึงมากำหนดอัตราแลกเปลี่ยนขณะนั้น
  7. Human Oracle… ถูกออกแบบให้ทำงานกับข้อมูลเฉพาะเจาะจงจากมนุษย์โดยตรง เช่น การดึงข้อมูลจากหลายคนหรือหลายแหล่งข้อมูล ส่งให้ Smart Contract หรือ Blockchain ตรวจสอบด้วย Cryptographic Algorithm เพื่อสอบและรับรองข้อมูลก่อนดำเนินการใดๆ ต่อ

Blockchain Oracle หรือ Oracle ถือว่าเป็นส่วนสำคัญในระบบนิเวศบล็อกเชน หรือ Blockchain Ecosystem ในระดับใช้งานเชิงอุตสาหกรรม… และเป็นจุดสำคัญอีกจุดหนึ่งที่ถือว่า “เปราะบางในประเด็นความปลอดภัย” ของ Blockchain และ Smart Contract… ซึ่งยังคงท้าทายทั้งฝั่งนักพัฒนา และ นักฉวยโอกาสที่มีอยู่คู่โลกที่ไม่มีวันดีพร้อมสมบูรณ์แบบ

References…

Share this post

Add Properea's Friend

เพิ่ม Properea.com เป็นเพื่อนทาง Line
ท่านจะได้ Link บทความใหม่ส่งตรงให้อย่างสม่ำเสมอโดยรบกวนแต่น้อย

Related Post

Privacy Protection

DPO และ พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562

Data Protection Officer หรือ DPO มีหน้าที่ซึ่งนิยามไว้จากหลายๆ องค์กรว่า… DPO ทำงานด้านความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลอย่างยั่งยืน โดยมีเป้าหมายเพื่อทำให้องค์กรเป็น Privacy Sustainable Organization

Smart Contact Lens… คอนแท็กต์เลนส์อัจฉริยะ

ความพิเศษของ Mojo Lens ซึ่งเป็นจอคอมพิวเตอร์ที่สามารถแสดงข้อมูลให้ปรากฏต่อสายตาในขณะที่มองสิ่งต่างๆ รอบตัวแล้ว… Mojo Lens ยังสามารถแก้ไขความผิดปกติทางสายตาให้ผู้สวมใส่หลายรูปแบบ ซึ่ง Steve Sinclair อธิบายว่า… ลองจินตนาการดูว่า ถ้านักดนตรีสามารถมองเห็นเนื้อเพลงหรือโน้ตดนตรีขณะแสดงคอนเสิร์ต… ผู้กล่าวสุนทรพจน์มองเห็นบทพูดของตนเองได้โดยไม่ต้องก้มหน้าหรือหันเหสายตาไปทางอื่น… นักกรีฑามองเห็นข้อมูลชีวภาพของตนเองในขณะซ้อมและแข่งขัน รวมทั้งได้เห็นระยะทางที่ยังเหลือข้างหน้าก่อนถึงเส้นชัย

Roll Out Solar Array… โซลาร์เซลล์แบบใหม่บนสถานีอวกาศนานชาติ

Roll Out Solar Array เป็นแผ่นเรียงโซลาร์เซลล์แบบอ่อนจนสามารถม้วนและกางออกใช้งานได้ ถูกคิดค้นและจดสิทธิบัตรราวต้นปี 2010 โดยมี Brian R. Spence และ Stephen F. White… และ NASA ได้ขอใช้สิทธิบัตรในโครงการ ISS Roll Out Solar Array หรือ iROSA ในปี 2014 ก่อนจะมีการทดสอบติดตั้งครั้งแรก ในวันอาทิตย์ที่ 18 มิถนายน ปี 2017… และนำมาซึ่งการ Upgrade ระบบโซลาร์เซลล์บนสถานีอวกาศนานาชาติ หรือ ISS ครั้งใหญ่ด้วย Roll Out Solar Array ในวันที่ 16 มิถุนายน 2021 

เชียงราย… ที่สุดของหัวเมืองชายแดนสู่เมืองหลักระดับภูมิภาค!

ผมค้นข้อมูลเชียงรายมาหลายวัน เพื่อให้แน่ใจว่าข้อมูล update ที่สุด ไม่ใช่เพราะ ครม. สัญจร หรือดอยนางนอน หรือทีมฟุตบอลหรอกน๊ะครับ แต่เพราะเชียงรายในทัศนผม มีศักยภาพทางเศรษฐกิจที่มีปัจจัยก้าวสู่การเป็นเมืองระดับอาเซียน… ซึ่งมีอะไรพิเศษในตัวมากกว่าการเป็นจังหวัดชายแดนเหนือสุดแดนสยามมากมายนัก