Blockchain Crowdfunding และการระดมทุนในอนาคต

money bag

Crowdfunding เป็นกระแสหลักระดับตลาดทุนสายหนึ่งที่พัฒนามาอย่างต่อเนื่องตลอดทศวรรษที่ผ่านมา… Crowdfunding คือการระดมทุนจากสาธารณชนโดยตรง ที่ธุรกิจกับนักลงทุนมาเจอกันบนแพลตฟอร์มคนกลางที่คอยอำนวยความสะดวก

แต่เดิมการระดมทุนของธุรกิจหลักๆ จะมาจากสินเชื่อสถาบันการเงินและตลาดทุน ที่ออกแบบให้มีคนกลางอย่างนายหน้าค้าหุ้นและธนาคาร คอยทำหน้าที่จัดการธุรกรรมที่นักลงทุนและธุรกิจต้องจ่ายค่าตอบแทนให้คนกลางเหล่านี้

แต่การมาถึงของอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงและวิทยาการคอมพิวเตอร์ ที่กลายเป็นเครื่องมือท้าทายโมเดลธุรกิจแบบเดิมๆ สังคมแบบดั้งเดิม และระบบนิเวศน์ทางเศรษฐกิจรูปแบบเดิม… ได้พามิติของการระดมทุนที่สามารถตัดคนกลางออกจากระบบนิเวศน์ได้แล้ว ที่ข้อดีข้อเสียและความเสี่ยงก็ไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเลย

Crowdfunding ไม่ใช่ของใหม่ แถมยังเก่าแก่กว่าตลาดหุ้นหรือธนาคารเสียอีก เพราะกลไก Crowdfunding พัฒนามาจากการบริจาคทุนทรัพย์เพื่อรวมเงินจำนวนเล็กๆ จากคนจำนวนมากจนได้ทุนดำเนินการบางอย่างก้อนใหญ่… ดังนั้น Crowdfunding จึงเป็นที่รู้จักกันดีในสังคมทุกชาติทุกถิ่นทั่วโลก

เทคนิคและวิธีการระดมทุนแบบบริจาคโดยคนจำนวนมาก  พร้อมเงื่อนไขและสัญญาให้ผลตอบแทน ก็พัฒนามาใช้เพื่อระดมทุนในการทำธุรกิจ ที่ไม่ได้มีอะไรใหม่มากมายนอกจากเอากลไกการเงินยุค Internet Banking มาใช้… และกำลังพัฒนาไปสู่ยุค Blockchain Financial เท่านั้นเอง

Dr. Maureen Murat จากคณะนิติศาสตร์ University of New Hampshire ได้เผยแพร่บทความผ่าน IBM Blog และกล่าวถึงพัฒนาการของ Crowdfunding ในห้วงเวลาอันใกล้นี้ว่า… ในไม่ช้าธุรกิจที่ต้องการเงินทุน จะตรงไปที่การทำ Initial Coin Offerings หรือ ICOs… หรือจะทำ Securitized Token Offerings หรือ STOs ก็ได้… หรือจะทำ Initial Exchange Offerings หรือ IEOs ก็ได้ และอะไรอีกมากในยุคสมัยที่… มูลค่าจะถูกเก็บและรักษาไว้ในรูปแบบข้อมูล มากกว่าจะเป็นเหรียญ ธนบัตรหรือแม้แต่ทองคำ… โดยมีเทคโนโลยี Blockchain เป็นตัวแปรสำคัญในการผลักดันและขับเคลื่อนนี้

ICOs คือการระดมทุนด้วย Cryptocurrency ซึ่งจะมีเครือข่าย Blockchain ของตัวเอง เช่น Bitcoin, Litecoin เป็นต้น… ส่วน STOs จะเป็นการระดมทุนด้วย Crypto Token หรือ Security Token หรือ Utility Token แล้วแต่ชนิดและเทคโนโลยีการเข้ารหัส ซึ่งเหรียญคริปโตที่ได้ จะต้องทำธุรกรรมบน Blockchain ของเครื่อข่ายแม่ เช่น Ethereum, Stellar เป็นต้นซึ่งถือเป็น Utility Token ส่วน Security Token จะเป็นหลักทรัพย์อย่างที่ดิน พันธบัตร ทองคำที่ถูกแปลงให้เป็น Digital Token… ซึ่งรายละเอียดการจัดการ Security Token ในปัจจุบันยังถือว่าไม่มีความชัดเจนครับ แต่ในอนาคตอันใกล้นี้เกิดแน่ๆ

ส่วน IEOs หรือ Initial Exchange Offerings จะเป็นการระดมทุนด้วยการสร้าง Crypto Token อ้างอิงมูลค่าของ Cryptocurrency อื่น… ซึ่งปัจจุบัน The U.S. Securities and Exchange Commission ยังไม่ยอมรับการระดมทุนวิธีนี้และถือว่าผิดกฏหมายอยู่ แต่ในเชิงเทคโนโลยีก็ยังถือว่ามีแง่มุมที่น่าสนใจอยู่ โดยความเห็นที่สนับสนุนเปรียบเทียบกับตราสารอนุพันธ์ ที่มูลค่าของตราสารจะขึ้นอยู่กับกระแสเงินของสินทรัพย์อ้างอิง ไม่ได้มีค่าจากกระแสเงินของตัวเองโดยตรง 

แต่ประเด็น Crowdfunding ซึ่งก็ไม่ได้เกี่ยวกับการทำ ICOs, STOs และ IEOs โดยตรงในปัจจุบันหรอกครับ เพราะ Crowdfunding ในปัจจุบันส่วนใหญ่ยังใช้การโอนเงินผ่านระบบธนาคารเช่นเดิมอยู่เป็นส่วนใหญ่ และยังไม่มีใครบุ่มบ่ามใช้ Blockchain ที่อาจจะเพิ่มความเสี่ยงเปล่าๆ ในเวลานี้… ส่วนแนวโน้มที่จะพัฒนาไปใช้ Blockchain และ Cryptocurrency ตามความเห็นของ Dr. Maureen Murat ก็ยังเป็นเรื่องในอนาคต ที่อาจต้องใช้เวลาอีกพอสมควรกว่าจะเข้าที่เข้าทาง…  และ Crowdfunding ก็เกิดขึ้นแล้วทั่วโลกมาหลายปีแล้ว… ในประเทศไทยเองก็มีผู้ได้รับใบอนุญาตไปแล้ว 3 ราย ประกอบด้วย

1. บริษัท เพียร์ พาวเวอร์ แพลต​ฟอร์ม จำกัด
2. บริษัท ไลฟ์ฟินคอร์ป จำกัด
3. บริษัท ฟีนิกซิคท์ จำกัด 

ถึงตรงนี้ผมมี 2 คำถามให้ท่านที่กำลังทำธุรกิจ และกำลังมองหาแหล่งทุนที่เป็นมิตรเพื่อต่อยอดกิจการของท่านคือ… ท่านรู้จัก Crowdfunding หรือยังครับว่าพวกเขาเป็นใครทำธุรกิจยังไง?… กับอีกคำถามคือ ท่านสนใจ Crowdfunding มั๊ย!!!

อ้างอิง

https://www.ibm.com/
https://www.sec.or.th/

Share this post

Add Properea's Friend

เพิ่ม Properea.com เป็นเพื่อนทาง Line
ท่านจะได้ Link บทความใหม่ส่งตรงให้อย่างสม่ำเสมอโดยรบกวนแต่น้อย

Related Post

Rice Land

โครงการธนารักษ์ประชารัฐ… 1,000,000 ไร่ 100,000 ครัวเรือน

โครงการธนารักษ์ประชารัฐ มีเป้าหมายเพื่อแก้ปัญหาการบุกรุกที่ราชพัสดุ ด้วยการรับรองสิทธิจัดสัญญาให้เช่าที่ราชพัสดุราคาถูก เพื่อช่วยเหลือประชาชนให้มีที่ทางทำมาหากินได้อย่างถูกต้อง

Hybrid Virus And Combine Vaccine… วัคซีนลูกผสมสำหรับป้องกันไวัสไฮบริด

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เผยแพร่ข้อมูล “Hybrid Virus หรือ ไวรัสไฮบริด” อันเกิดจากการหลอมรวมระหว่างอนุภาคไวรัสสองประเภทคือ “ไวรัสอาร์เอสวี หรือ RSV หรือ Respiratory Syncytial Virus” และ “ไวรัสไข้หวัดใหญ่ หรือ Influenza Virus” เข้าด้วยกัน… ซึ่งนักวิทยาศาสตร์พบว่าสามารถหลบเลี่ยงระบบภูมิคุ้มกันต่อไวรัสไข้หวัดใหญ่ได้ดี

OpenSea

Opensea… ตลาด NFTs พันล้านดอลลาร์ที่ยังเติบโตได้อีกมาก

OpenSea.io หรือ OpenSea เป็นตลาดซื้อขายแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ NFTs ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลงานศิลปะดิจิทัล ที่ถูกนำมา Mint เป็น NFT หรือ Non-Fungible Token ซึ่ง OpenSea มีบริการ Minting บนแพลตฟอร์มของตัวเอง พร้อมกระดาน หรือ เพจซื้อขายแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ NFTs ซึ่งมีกลไกการซื้อขายแบบ eCommerce มากกว่าจะเป็นการซื้อขายแบบกระดานเทรด… ส่วนการใช้งานก็ง่ายดายเพียงสมัครสมาชิก และ มี Cryptocurrency Wallet ที่รองรับ NFTs และ เชื่อมต่อกับ Blockchain ของ OpenSea ได้… ก็สามารถใช้ปุ่ม Create เพื่อ Mint สินทรัพย์ได้ง่ายๆ หรือ ใช้ปุ่ม Explore เพื่อชมหรือซื้อสินทรัพย์อื่นมาเก็บ หรือ มาขายต่อก็ได้… ง่ายๆ ตรงไปตรงมาแค่นี้

Polkadot cryptocurrency token symbol

PolkaDOT… Web 3.0 Standard Blockchain

การพัฒนา EthCore ในระยะที่จะต้องสร้างมาตรฐาน Web 3.0 ไปพร้อมกันนั้น… Dr.Gavin และ Dr.Steiner ได้ร่วมกันก่อตั้งและผลักดัน Parity Technologies และ Web3 Foundation เพื่อเป็นศูนย์กลางมาตรฐานอินเตอร์เน็ตยุคถัดไป และแล้วพวกเขาก็ค้นพบปัญหาใหญ่ของโครงข่าย Blockchain มากมายที่ถือกำเนิดขึ้นหลังการเกิด Bitcoin ตั้งแต่ ปี 2009 นั่นคือ… Blockchain แต่ละเครือข่ายทำงานอยู่เป็นเอกเทศ ไม่มีการเชื่อมต่อกันไปจนถึงขั้นไม่สามารถเชื่อมต่อกันได้เลยก็มี…