การพังทลายของระบบการเงินการธนาคารในรูปแบบเดิม ที่ปรากฏให้เห็นผ่านการยุบปิดสาขาธนาคารมากมายในประเทศไทย ที่พบเห็นมาตั้งแต่ก่อนจะเกิดวิกฤตโควิดในช่วงปลายปี 2019 และมีการยุบปิดสาขาจนเห็นการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน ในระหว่างเกิดวิกฤตโควิดตลอดปี 2020 นั้น
ข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย ณ วันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2564 พบว่า… จำนวนสาขาและจุดให้บริการธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบในช่วงปี 2561-2563 ลดลงรวม 430 แห่ง… เวบข่าวออนไลน์ประชาติธุรกิจรวบรวมตัวเลขรายงานไว้ว่า… ธนาคารไทยพาณิชย์มีการปิดสาขามากถึง 247 แห่ง จากปี 2561 ที่เคยมี 1,101 สาขา ลดลงเหลือเพียง 854 แห่ง… รองลงมาคือธนาคารกรุงไทย มีตัวเลขการปิดสาขามากถึง 135 สาขาจากเดิมมี 1,159 สาขา ลดเหลือ 1,024 สาขาเช่นกัน… ส่วนธนาคารกสิกรไทยก็ลดลง 101 สาขา จาก 967 สาขาเหลือเพียง 866 สาขา… ส่วนพี่ใหญ่อย่างธนาคารกรุงเทพปิดไป 33 สาขาจาก 1,161 เหลือ 1,128 สาขา… ธนาคารกรุงศรีอยุธยาก็ปิดไป 33 สาขาจากเดิม 716 เหลือ 683 สาขา… ส่วนธนาคารทหารไทย กับ ธนาคารธนชาติที่ควบรวมแบบแปลกๆ ก็มีการปรับจำนวนสาขาเกลี่ยกันไปมา ทำให้มีสาขาลดลงบ้างเหมือนกัน
ส่วนสถิติจาก BankingDive.com ก็รายงานตัวเลขการลดลงของสาขาธนาคารในสหรัฐอเมริกามากถึง 4,407 สาขา จากทุกธนาคารทั่วสหรัฐอเมริกาในปี 2020 ปีเดียว
ประเด็นก็คือ… ระบบการเงินการธนาคารแบบดั้งเดิมได้เดินทางมาถึงจุดเปลี่ยน ที่สมุดบัญชีธนาคารและการพิมพ์รายการเดินบัญชีลงกระดาษ ได้หมดความจำเป็นลงอย่างสิ้นเชิง ในขณะที่การใช้จ่ายและชำระราคาระหว่างกันทุกรูปแบบ สามารถโอนยอดเงินผ่านระบบดิจิทัลได้สารพัดรูปแบบ… รวมทั้งการมาถึงของ Digital Currencies ที่ผู้คนส่วนใหญ่เข้าใจกันแล้วว่า… Digital Currencies หรือ Cryptocurrencies จะทำให้ “ยอดเงิน” ในระบบดิจิทัลปลอดภัยเชื่อถือได้ยิ่งกว่าเหรียญโลหะหรือธนบัตรที่ปลอมง่าย และ ใช้ทำธุรกรรมในโลกสีเทาและอาชญากรรมได้เนียนและไร้ร่องรอยมานาน
มีเรื่องเล่าโคตรตลกที่เล่ากันในหมู่คนทำธุรกิจคริปโตรุ่นแรกๆ ที่ซื้อขายกันโดยตรงแบบ Peer-to-Peer จริงๆ ในกลุ่มเฉพาะช่วงปี 2015-2017 ซึ่งปัจจุบันหลายท่านได้เติบโตกลายเป็นเจ้าของธุรกิจ FinTech สารพัดโมเดลในเมืองไทยไปแล้ว… บางท่านที่เคลื่อนไหวก่อตั้งธุรกิจคริปโตในช่วงนั้น ถูกเจ้าหน้าที่บ้านเมืองที่ดูแลกฏหมายและอยู่ในกลไกยุติธรรมชั้นต้น ได้เชิญตัวไปพบและหาทางดำเนินคดี พร้อมกดดันข่มขู่โดยอ้างว่า… บิทคอยน์ผิดกฏหมายและใช้ในการฟอกเงินของอาชญากร ต้องปิดเวบไซต์เลิกกิจการ… ส่วนค่าใช้จ่ายในระหว่างการดำเนินคดีบางกรณีขอเป็นเงินสดครับ…
เพราะการรับคริปโตมันตรวจสอบย้อนกลับได้บน Blockchain ถึงแม้จะเข้ารหัสทุกอย่าง แต่เส้นทางการเคลื่อนย้ายนั้นโปร่งใสไม่ปิดบังนั่นเอง… ข้อเท็จจริงเรื่อง Bitcoin และ Cryptocurrencies จึงกลับข้างเรื่องสีเทาและความหม่นมัวในโลกการเงิน ซึ่งข้อเท็จจริงเรื่อง Bitcoin และ Cryptocurrencies ที่ปลดปล่อยโลกการเงิน โดยเฉพาะส่วนที่เคยอยู่ในขอบเขตกลไกอำนาจรัฐที่ถือไว้ควบคุมประชาชน ผ่านกลไกทางเศรษฐกิจของประเทศในระบอบรัฐชาติที่ถูก “จัดระเบียบโลก” หลังยุคล่าอาณานิคม ที่แบ่งเขตปันแดนจัดการเขตปกครองกันไป
ในขณะที่ Bitcoin และ Cryptocurrencies เกิดขึ้นบนคุณค่าของการเคลื่อนย้ายมูลค่าไร้พรมแดน จนท้าทายกลไกการเงินการธนาคารที่ไม่เคยเสรี และ ไม่เคยมีใครพูดถึงเสรีภาพผ่านกลไกการเงินที่เกี่ยวพันกับเศรษฐกิจปากท้องโดยตรง… เห็นมีแต่การเรียกร้องหาเสรีภาพจากผู้มีอำนาจที่ไม่ใช่ฝ่ายตน เพียงเพื่อจะขอเป็นคนใช้อำนาจและได้เป็นอภิสิทธิ์ชนบ้างมากกว่า
ในทัศนส่วนตัวมองว่า… การปฏิวัติผ่าน Bitcoin และ Cryptocurrencies ในช่วงเวลานี้ สำคัญและยิ่งใหญ่กว่าการต่อสู้ในยุคล่าอาณานิคมและยุคค้าทาสอย่างมาก… ผมเองติดตามการดำเนินคดี Ripple Coin โดยโจทก์คือ SEC หรือ กลต ของสหรัฐอเมริกา รวมทั้งกรณีการกดดัน Libra Coin จนต้องเลื่อนแล้วเลื่อนอีก จนกระทั่งเปลี่ยนชื่อเป็น Diem Coin ในปัจจุบัน… ซึ่งทั้งสองกรณีแสดงให้เห็นว่า อำนาจรัฐแบบดั้งเดิมเล็กเกินกว่าจะเข้ามาควบคุมกลไก Bitcoin และ Cryptocurrencies ที่พัฒนาเร็วมากจนระบอบรัฐชาติเก่าแก่หมดทางจะตามทัน…
Wences Casares มหาเศรษฐีสาย FinTech จากอาร์เจนตินาเคยพูดไว้ว่า… Bitcoin Is Not A Currency For A Government, It A Currency For People. หรือ บิทคอยน์ไม่ใช่กลไกชำระราคาสำหรับรัฐบาลไหน มันเป็นกลไกชำระราคาสำหรับมวลชน…
หลายท่านที่เคยผ่านงาน Hackathon สายคริปโตมาก่อนคงจะพอคุ้นกับวรรคทองท่อนนี้… แต่คนนอกวงการคริปโตที่ยังไม่เคยผ่านการบิวท์อารมณ์ร่วมโดยกลุ่ม Bitcoin Addicted หรือ ไม่เคยเสพบิทคอยท์มาก่อน ก็อาจจะไม่เคยได้ยิน หรือ ไม่คุ้นชื่อ Wences Casares มาก่อน
Wences Casares เป็นชาว Patagonia หรือชาวใต้ของ Argentina ความโดดเด่นของ Wences Casares ตอนเรียนมัธยมศึกษาทำให้เขาได้ทุน Rotary Club ในโครงการแลกเปลี่ยนจนได้มาเรียนที่ Washington, Pennsylvania ก่อนจะกลับไปเรียนบริหารธุรกิจใน Buenos Aires เมืองหลวงบ้านเกิดที่อาร์เจนตินา… แต่ในขณะที่เรียนอยู่ปีสามที่ University of San Andrés… Wences Casares ก็ลาออกมาทำธุรกิจ ISP หรือ Internet Service Provider หรือ ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตรายแรกของอาร์เจนตินาในปี 1994 ก่อนจะขายกิจการและเข้าสู่ธุรกิจการเงิน โดยก่อตั้ง FinTech ชื่อ Patagon ในปี 1997 และขยายสู่ Internet Financial Services ครบวงจรในเวลาต่อมา และถูก Banco Santander ซึ่งเป็นธนาคารยักษ์ใหญ่จากสเปน ซื้อควบรวมด้วยมูลค่า 750 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ปี 2002… Wences Casares ก้าวสู่การเป็นนักลงทุนข้ามชาติ โดยก่อตั้งธุรกิจเกมส์คอมพิวเตอร์ใน New York ชื่อ Wanako Games ก่อนจะเปลี่ยนชื่อเป็น Behaviour Santiago ในภายหลัง และยังร่วมทุนก่อตั้งธนาคาร Banco Lemon หรือ Lemon Bank ในภาษาอังกฤษก่อนจะถูกซื้อโดย Banco do Brasil ในปี 2009… จึงได้ก่อตั้ง Lemon Wallet ในยุคที่บิทคอยน์ได้เกิดและเติบโตอย่างช้าๆ และถูก LifeLock ซื้อ Lemon Wallet ไปในราคา 43 ล้านดอลลาร์สหรัฐในเวลาต่อมา
Wences Casares ผู้ตกงานเพราะทำอะไรก็มีคนขอซื้อไปหมดจึงถูกทาบทามจาก Xapo ให้รับตำแหน่ง CEO… Xapo เป็นธุรกิจ Bitcoin และ Cryptocurrencies Wallet จากกลุ่มทุน Hong Kong แต่มีฐานอยู่ใน Palo Alto ซึ่งฝีมือการบริหารของ Wences Casares ก็พา Xapo กลายเป็น Wallet ที่ดูแลนักลงทุนคริปโตรายใหญ่ถือยาวที่ว่ากันว่า… มีมูลค่าสินทรัพย์หมุนเวียนไม่น้อยกว่า 10,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จนได้ชื่อว่าเป็น Largest Custodian Of Bitcoin หรือ พันธารักษ์บิทคอยน์หมื่นล้านทีเดียว… และ Wences Casares ยังเป็นหนึ่งในกรรมการบริหาร PayPal ที่กำลังปรับโมเดลธุรกิจ PayPay เข้าสู่ยุค Cryptocurrencies เพื่อเติมเต็มระบบนิเวศน์ธุรกิจที่ยังไม่สมบูรณ์อีกด้วย
References…