โรงไฟฟ้าชุมชน… อัพเดทกันยายน 2563

โรงไฟฟ้าชุมชนถือเป็นอีกหนึ่งโครงการใหญ่ ที่ข้อมูลข่าวสารปั่นป่วนวุ่นวายที่สุด จนแทบจะจับต้นชนปลายไม่ถูกว่าอะไรเป็นอะไร… และทำไมจึงมีประเด็นงอกลอยๆ ออกมาเป็นข่าว… แต่ก็เป็นข่าวที่รายละเอียดจริงๆ เป็นอย่างไรบ้างก็ไม่รู้

แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศ ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 หรือ PDP 2018 REV.1 โดยสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน หรือ สนพ. ซึ่งมีงานดูแลพลังงานไฟฟ้าให้สอดคล้องกับการเติบโตทางเศรษฐกิจและชุมชน ซึ่งกำลังผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ หลายโครงการติดขัดจนล้มเลิกโครงการไปก็มี

สำนักงานนโยบายและแผนพลังงานจึงเร่งผลักดันโรงไฟฟ้าชุมชน เข้าสู่แผนจัดการพลังงานไฟฟ้า ท่ามกลางอุปสรรคมากมายไม่ต่างจากโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่… ที่ทุกคนเดือดร้อนมากหาไม่มีไฟฟ้าใช้ และทุกคนเดือดดาลมากหากโรงไฟฟ้ามาตั้งอยู่ใกล้บ้าน… 

8 กันยายน พ.ศ. 2563 ที่ผ่านมา… คุณวัฒนพงษ์ คุโรวาท ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน ก็พูดคุยกับนักข่าวประเด็นโรงไฟฟ้าชุมชน และกำลังผลิต 1,988 เมกะวัตต์ และนำแผนเตรียมเสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีพิจารณา… ซึ่งคุณสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้มอบนโยบายให้กรมพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ไปพิจารณาทบทวนหลักเกณฑ์การดำเนินการต่างๆ ให้ได้ข้อสรุปภายในเดือนกันยายน 2563 ซึ่งทุกฝ่ายรอว่าจะมีรายละเอียดอย่างไรออกมาบ้าง

ฝั่งสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย โดยคุณอาทิตย์ เวชกิจ รองประธานกลุ่มพลังงานหมุนเวียน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ก็พูดถึงการหารือแนวทางต่างๆ เพื่อให้โครงการโรงไฟฟ้าชุมชนเดินหน้าต่อไปได้… และยืนยันว่า ไฟฟ้าชุมชนจะดำเนินการต่อเนื่องแน่นอน แม่รายละเอียดหลายอย่างในแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศฉบับ 2018 หรือ PDP–2018 จะอยู่ระหว่างแก้ไขเพิ่มเติมและรอการพิจารณาจากคณะรัฐมนตรี รวมทั้งการทบทวนคาดการณ์หลังโควิด–19 หรือ Load Forecast After Covid–19 ด้วย

ซึ่งแนวทางการเดินหน้าโครงการโรงไฟฟ้าชุมชน จะขับเคลื่อนด้วย Quota RE เดิมไปก่อน โดยมีมติคณะกรรมการพลังงานแห่งชาติกำกับแนวทาง

แหล่งข่าวยืนยันตรงกันว่า… ภายในเดือนกันยายน พ.ศ. 2563 นี้… กรมพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน หรือ พพ. ต้องสรุปรายละเอียดแนวทางการดำเนินการเรื่องโรงไฟฟ้าชุมชนแล้ว… โดยเฉพาะโครงการนำร่อง 100–200 เมกะวัตต์ก่อน… ส่วนรายละเอียดเรื่องการถือหุ้นระหว่างภาคเอกชน วิสาหกิจชุมชน ต่างๆ อาจจะต้องพิจารณทบทวนเพื่อให้เกิดความสมดุลกับทุกฝ่าย ซึ่งต้องดำเนินการต่อเพื่อช่วยเศรษฐกิจฐานราก… กรณีโครงการโรงไฟฟ้าชุมชนนำร่อง ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ที่อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่… ใช้ซังข้าวโพดเป็นเชื้อเพลิง และ โครงการโรงไฟฟ้าชุมชนที่ อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ที่ใช้หญ้าเนเปียร์ เป็นเชื้อเพลิง ก็ยังคงดำเนินการต่อไป

Share this post

Add Properea's Friend

เพิ่ม Properea.com เป็นเพื่อนทาง Line
ท่านจะได้ Link บทความใหม่ส่งตรงให้อย่างสม่ำเสมอโดยรบกวนแต่น้อย

Related Post

Smartfinn แพลตฟอร์มการขายฝาก… ฝีมือคนไทย

ผมสนใจธุรกิจ Startup ที่ใช้เทคโนโลยีเป็นศูนย์กลางในการ Scaling แบบที่นั่งคุยกับผมเรื่อง Startup โมเดลไหนก็ตาม… คุณต้องคุยกับผมให้จบถึงจะเปลี่ยนเรื่องหรือเดินหนีผมไปได้… เมื่อแรกที่ผมและทีมมองหา Pain Point ของธุรกิจอสังหาฯ นั้น… มิติหนึ่งที่ทีมทำงานอย่างเข้มข้นคือการศึกษาโมเดลที่เกิดขึ้นและดำเนินการอยู่ทั้งในไทยและต่างประเทศ หนึ่งในโมเดลที่ทีมเราเฝ้ามองมาตลอดคือ Smartfinn ครับ!

Carol S. Dweck

Teach Their Children To Love Challenges, Be Intrigued By Mistakes, Enjoy Effort, And Keep On Learning – Carol Dweck

งานของ Carol Dweck เกือบทั้งหมดพัฒนาด้วยแนวคิด Implicit Theories of Intelligence หรือ ทฤษฎีความความฉลาดส่วนบุคคล จนเป็นที่มาของงานอันลือลั่นอย่างหนังสือเล่มสีฟ้าชื่อ Mindset: The Psychology of Success ในปี 2006… และทฤษฎีความฉลาดส่วนบุคคลที่เธอค้นพบ ก็กลายเป็นเครื่องมืออย่างสำคัญในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ที่ขับเคลื่อนด้วยจิตวิทยา มากกว่าจะขับเคลื่อนด้วยความเชื่อและเรื่องเล่าเบาบางเหมือนคำสอนในศาสนาต่างๆ และได้ “บุคคลอันพึงประสงค์” ให้สังคมได้ไม่ต่างกัน

New Tech Infrastructure

New Tech Infrastructure… โครงสร้างพื้นฐานใหม่

คำอย่าง Supply Chain, Logistics, IoT, Big Data, AI ถือโครงสร้างพื้นฐานใหม่ที่สำคัญของชาติอย่างแน่นอนที่ทั้งหมดนั่นรวมเอาถนนสะพานร้านค้าโรงงานและแพลตฟอร์มเอาไว้หมดแล้ว… และเห็นด้วยอย่างยิ่งที่บอกว่า โครงสร้างพื้นฐานแบบใหม่นี้ จะสร้างโมเดลเศรษฐกิจและสังคมรูปแบบใหม่ที่สามารถปรับตัวเติบโตเปลี่ยนแปลงอย่างหลากหลายได้อย่างดีในอนาคต

Utility Tokens and Security Tokens… โทเคนอเนกประสงค์และโทเคนหลักทรัพย์

การบังคับใช้กฏหมายเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัล ภายใต้พระราชกําหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 รวมทั้งกฏหมายอื่นๆ ที่มีคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือ ก.ล.ต. ใช้ทำงานเพื่อดูแลผลประโยชน์ของทุกฝ่ายที่เกี่ยวกับการลงทุน… โดยมีคำถามและการพูดคุยเกี่ยวกับแนวทางการออกโทเคนดิจิทัล หรือ Token เพื่อใช้กับโมเดลธุรกิจในประเทศไทย ซึ่งหลายท่านก็ยังงุนงงสงสัยเกี่ยวกับ “โทเคนเพื่อการระดมทุน หรือ Security Token และ โทเคนอรรถประโยชน์ หรือ Utility Tokens” โดยเฉพาะโทเคนเพื่อการระดมทุนที่จำเป็นจะต้องจัดการโทเคนผ่าน ICO Portal ที่รับใบอนุญาตจาก ก.ล.ต.