Biobattery และ Sugar Battery

Sugar Battery

แนวคิดการสร้างแหล่งจ่ายพลังงานจากสารประกอบอินทรีย์ แบบที่ร่างกายของเราสามารถกระตุ้นการไหลเวียนของอิเลคตรอนได้โดยการย่อยสลายน้ำตาลด้วยกระบวนการเมตาบอลิซึ่ม หรือ Metabolism ซึ่งในทางไบโอเคมีจะเป็นการสลายโมเลกุลด้วยปฏิกิริยารีดอกซ์ หรือ Redox หรือ Reduction–Oxidation ของกลูโคส หรือ  Glucose Unit และ ปลดปล่อยอิเลคตรอนออกมา

ปี 2007… Sony Corporation ประเทศญี่ปุ่นได้ตีพิมพ์เผยแพร่ทฤษฎี Sugar Battery… และ ในปี 2014 ทีมวิจัยภายใต้การนำของ Dr. Yiheng Percival Zhang ซึ่งขณะนั้นเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้าน Biological Engineering ประจำ Virginia Tech ก็ได้ประกาศความสำเร็จ และ ตีพิมพ์ผลงานที่พัฒนามาตั้งแต่ปี 2009 ในหัวข้อ Production of biofuels and biochemicals by in vitro synthetic biosystems: Opportunities and challenges

แนวทางการกระตุ้นเอาอิเลคตรอนของนักวิจัยจาก Virginia Tech เหนือกว่าแนวคิดของ Sony Corporation อย่ามาก… โดยสามารถเปลี่ยนกลูโคสทั้งหมดเป็นกระแสไฟฟ้าได้ ทำให้ได้พลังงานไฟฟ้าต่อหน่วยกลูโคสสูงกว่าแนวทางของ Sony Corporation มาก… ที่สำคัญก็คือ นักวิจัยอ้างว่า Sugar Battery มีอายุการใช้งานนานกว่าแบตเตอรี่ Li-ion ถึง 10 เท่า… นั่นหมายความว่า ถ้าเปลี่ยนจากแบตเตอรี่ Li-ion สำหรับมือถือหนึ่งเครื่องที่เคบชาร์จใช้ได้ 1 วัน มาเป็น Sugar Battery ก็จะใช้ได้ยาวถึง 10 วันต่อการชาร์จใหม่หนึ่งครั้ง

การพัฒนาแบตเตอรี่น้ำตาล หรือ Sugar Battery ของนักวิจัยจาก Virginia Tech ใช้หลักการ Enzymatic Biofuel Cell โดยใช้เอนไซม์เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาเมตาบอลิซึ่ม ซึ่งมีการใช้เอนไซม์อยากน้อย 2 ชนิดเพื่อทำหน้าที่แยก หรือ แตกอิเล็กตรอนในกลูโคสออกจากกัน… ซึ่งการแตกอิเลคตรอนนี่เองที่ทำให้มีการไหลเวียนของอิเลคตรอน หรือก็คือกระแสไฟฟ้า

ต้นแบบ Sugar Battery ของนักวิจัยจาก Virginia Tech จ่ายกระแสไฟฟ้าได้ที่แรงดัน 0.5 V ซึ่งน้อยเกินไปสำหรับการใช้งานเชิงพาณิชย์… แต่ความท้าทายในการค้นพบแบตเตอรี่ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งการใช้เอนไซม์ หรือ Enzymes ที่หาได้มากมายจากผลผลิตพืชและสัตว์บนโลก โดยเฉพาะการใช้ กลูโคสมอลโทเดกซ์ทริน หรือ Maltodextrin ที่สามารถหาได้จากแป้งทุกชนิดทั้งข้าวโพดและข้าวสาลี  มาเป็นเชื้อเพลิงผลิตกระแสไฟฟ้าแทนแร่ธาตุหายาก และ เคมีอันตราย… อนาคตยังคงเหลือโอกาสให้มนุษย์ค้นคว้าต่อไปอีกมากทีเดียว

ปี 2017… Dr. Yiheng Percival Zhang ถูก FBI ควบคุมตัวในข้อกล่าวหาหลายกระทง โดยเฉพาะความผิดฐานฉ้อโกงเงินอุดหนุนการวิจัยจากรัฐบาลกลางจากการขอทุนเพื่อมาทำวิจัยที่ได้ทำเสร็จไปก่อนหน้านั้นแล้ว… แต่ข้อกล่าวหาส่วนใหญ่ไม่มีน้ำหนักพอจะเอาผิด Dr. Yiheng Percival Zhang ได้… แต่หลายฝ่ายเชื่อว่า Dr. Yiheng Percival Zhang น่าจะถูกกล่าวหาเรื่องขายความลับทางเทคโนโลยีให้จีนมากกว่า เพราะปรากฏมีนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยในจีนหลายแห่ง โดยเฉพาะ Zhejiang University หรือ มหาวิทยาลัยเจ้อเจียง และ Tianjin University หรือ มหาวิทยาลัยเทียนจิน ซึ่งมีงานวิจัยเกี่ยวกับแบตเตอรี่น้ำตาลออกเผยแพร่ตั้งแต่ปี 2014 และ นักวิจัยสัญชาติจีนในสหรัฐหลายคนถูกดำเนินคดีในปี 2017 พร้อมๆ กัน หลังจากประธานาธิบดี Donald Trump เข้ารับตำแหน่ง

References…

Share this post

Add Properea's Friend

เพิ่ม Properea.com เป็นเพื่อนทาง Line
ท่านจะได้ Link บทความใหม่ส่งตรงให้อย่างสม่ำเสมอโดยรบกวนแต่น้อย

Related Post

EV Indoor Charging

สถานีชาร์จ EV… โดย ปตท. และพันธมิตร

ปัจจุบัน ปตท.ได้ติดตั้ง EV Charging Station ที่พร้อมให้บริการแล้ว 2 แห่ง ได้แก่ ศูนย์แสดงสินค้าไบเทค และ True Digital Park สุขุมวิท 101 มุ่งรองรับการเติบโตตลาดยานยนต์ไฟฟ้าของประเทศ

George Bernard Shaw

Those Who Cannot Change Their Minds Cannot Change Anything ~ George Bernard Shaw

สิ่งที่ต้องเข้าใจก่อนอื่นก็คือคำว่า “ความคิดกับจิตใจ” ที่ใช้เรียกต่อกันนี้ ซึ่งมักจะหมายถึง… ความคิดเห็นในระดับทัศนคติอันถือเป็นส่วนหนึ่งของจิตใจ ซึ่งเป็นพื้นฐานตัวตนที่คนๆ หนึ่งจะไม่เสียเวลากับ View หรือ มุมมองใหม่หรือข้อมูลอะไรใหม่ๆ อีกเลยก็มีได้… เพียงแต่จะเป็นทัศนคติและจิตใจแบบเก่าแก่ดั้งเดิมที่มีมากับตัวนานแล้ว… และมักจะแสดงบทบาทขับเคลื่อนพฤติกรรมตัวตนทั้งคิด พูดและกระทำจนถึงขั้นชินชาก็มี

Tower Cranes

AutoSite & ForeSite… ไซต์ก่อสร้าง และ เครนก่อสร้างพลัง AI

ConTech Startup จากเมือง Tel Aviv ประเทศอิสราเอลชื่อ Intsite ซึ่งก่อตั้งในปี 2017… และมาพร้อมโมเดลธุรกิจที่จะนำ AI หรือ Artificial Intelligence มาสู่วงการก่อสร้าง… โดยเฉพาะวงการก่อสร้างในตะวันออกกลางที่อาคารบ้านเมือง และ โครงสร้างพื้นฐาน… ถูกสร้างและรังสรรค์เกินจินตนาการไปไกลอย่างเหลือเชื่อ

Bluesky… Decentralized Social Media

Bluesky ต้องการสร้างโซเชียลอินเทอร์เน็ต โดยมุ่งเป้าให้ผู้ใช้หลีกเลี่ยงความเสี่ยงจากการเก็บข้อมูลเอาไว้กับแพลตฟอร์มของแอพโซเชี่ยลอย่างที่ผ่านมา… ซึ่ง Bluesky ได้ถูพัฒนาบนโปรโตคอลโซเชียลมีเดียแบบกระจายศูนย์ที่เรียกว่า Authenticated Transport Protocol หรือ AT ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อทำให้โซเชียลมีเดียกลายเป็นระบบนิเวศโอเพ่นซอร์สที่สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างยืดหยุ่น และ ทำให้ผู้ใช้สามารถโต้ตอบกับแอปพลิเคชั่นต่างๆ ภายในระบบนิเวศเดียวกันได้อย่างอิสระ