ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมมายาวนาน และเราคงเป็นประเทศเกษตรกรรมต่อไปอีกนานเท่านาน… ผมพูดแบบนี้ไม่ใช่ความเชื่อหรือความเห็นส่วนตัวครับ เพราะผมกำลังจะพูดถึงแนวคิดเรื่อง Bio Economy ที่รัฐบาลโดยกระทรวงอุตสาหกรรมและทุกภาคส่วน ผลักดันแผนงานอย่างเป็นรูปธรรม จนปลายปี 2561 นี้
… แผนการลงทุนอย่างเป็นรูปธรรมจากภาคเอกชน ชัดเจนและเคลื่อนไหวกันคึกคัก
ผมมีบันทึกข้อตกลงความร่วมมือขับเคลื่อนการลงทุน Bio Complex เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ (Bio Economy) ในพื้นท่ีนำร่องจังหวัดนครสวรรค์อยู่กับตัวมาตั้งแต่ต้นปีครับ ซึ่งคณะทำงานคลัสเตอร์ภาคอุตสาหกรรมแห่งอนาคต (New S-Curve) จากกระทรวงอุตสาหกรรม กับเอกชนรายใหญ่อย่าง บริษัท โกลบอลกรีนเคมิคอล จากัด (มหาชน) หรือ GGC และ บริษัท เกษตรไทย อินเตอร์เนชั่นแนล ชูการ์ คอร์ปอเรชั่น จากัด (มหาชน) หรือ KTIS ที่มีพิธีลงนามกันตั้งแต่ 6 กุมภาพันธ์ 2561 ที่ผ่านมา
แนวคิดเรื่อง Bio Economy ของรัฐบาลเป็นการนำตัวแปรสำคัญ 2 ตัวแปรคือ เกษตรกรรมสมัยใหม่และ Bio Refinery มาบริหารจัดการด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ ควบคู่กับการวิจัยและพัฒนา เพื่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มและคุณค่า ซึ่งจะเป็นการเปลี่ยนเศรษฐกิจฐานเกษตรกรรมไปสู่เศรษฐกิจฐานนวัตกรรม โดยมีผลผลิตทางการเกษตรภายในประเทศ (ที่เคยพึ่งพาการส่งออก) เป็นวัตถุดิบ
GGCในฐานะ แกนนำด้านผลิตภัณฑ์เคมี เพื่อสิ่งแวดล้อมของกลุ่มพีทีทีโกลบอล เคมิคอล หรือกลุ่มพีทีทีจีซี จึงได้ แสวงหาโอกาสในการต่อยอดธุรกิจท่ี สอดรับกับนโยบายดังกล่าว โดยร่วม ทุนกับ KTIS ในสัดส่วน 50 : 50 ก่อสร้างนครสวรรค์ Biocomplex หรือ NBC บนพื้นที่กว่า 2,000 ไร่ ในอำเภอ ตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ แหล่งปลูก อ้อยพันธ์ุดีของไทย พร้อมแบ่ง โครงการออกเป็น 2 ระยะ คือ
- โครงการลงทุนพัฒนา อุตสาหกรรมเคมีชีวภาพครบวงจร ประกอบด้วยโรงงานผลิตเอทานอล ไฟฟ้าชีวมวล ระบบสาธารณูปโภค และระบบส่งเสริมกระบวนการผลิตกลางของโครงสร้างพื้นฐานรองรับโครงการระยะที่สอง (มูลค่าโครงการ จากการประเมินราว 7,650 ล้านบาท)
- โครงการลงทุน โรงงานเคมีและ พลาสติกชีวภาพ โรงงานอาหารเสริม (มูลค่าการลงทุนจากการประเมินราว 10,000-30,000 ล้านบาท)
เอาหล่ะครับ… พอจะเห็นภาพมิติใหม่ของการส่งเสริมการลงทุนในกรอบ Bio Economy พอหอมปากหอมคอ แล้วผมก็จะพาวกกลับมาที่ “ที่ดินและอสังหาริมทรัพย์” เพราะทุกพัฒนาการทางสังคมและเศรษฐกิจ จะเกิดขึ้นบนที่ดินซักแปลงโดยใครซักคนเสมอ!
ที่ผมต้องการบอกอีกอย่างหนึ่งคือ มูลค่าเพิ่มของอสังหาริมทรัพย์ โดยเฉพาะที่ดินเปล่า ที่ดินเกษตรกรรม ไม่ได้ราคาสูงขึ้นเพราะ ถนนหรือรถไฟหรือสนามบินอย่างเดียวครับ
ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องแม่นยำนี่แหละ ที่สามารถกำหนดกลยุทธ์การทำกำไรจากอสังหาริมทรัพย์ได้… เมื่อก่อน ข่าวลวงต่างๆ เพื่อปั่นราคาที่ดินและอสังหาริมทรัพย์มักจะใช้เพื่อทำกำไรจากความคลุมเครือของข้อมูลข่าวสาร… ทำให้การลงทุนกับอสังหาริมทรัพย์ มีความเสี่ยงจากข่าวเท็จและกลลวง…
… แต่เดี๋ยวนี้! ผมอยู่เชียงใหม่ ก็เชคข่าวลือเรื่องสนามบินบึงกาฬได้ไม่ยากเย็นอะไรอีกแล้ว
เอาหล่ะครับ! แถมท้ายกับตาคลี นครสวรรค์ และพื้นที่ใกล้เคียงอย่างกำแพงเพชรและพิจิตร… ถือที่นา ที่สวนเอาไว้ยาวห้าปีสิบปีข้างน๊ะครับ จดราคาที่ดินวันนี้ไว้ ห้าปีข้างหน้ามาดูกันว่าราคาที่ดินจะสูงขึ้น เมื่อคิดเป็นเปอร์เซนต์แล้ว… จะด้อยหรือจะโด่งกว่าที่ดินในเมือง… แข่งกับราคาที่ดินกรุงเทพฯ เลยครับ!
… อยากรู้ว่าผมพนันข้างไหน เพิ่ม @properea เป็นเพื่อนไลน์แล้วถามเข้ามาครับ!!!