อย่างที่ทราบกันดีว่า… อุตสาหกรรมก่อสร้างในยุค ConTech หรือ Construction Technology ต้องวนเวียนและโคจรรอบ BIM หรือ Building Information Modeling แทนแบบแปลนพิมพ์เขียว 2D อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งการเขียนแบบ 2D ทั้งจากกระดาษไขปากกา Rotring และ AutoCad 2D ได้หมดยุคลงอย่างสิ้นเชิงแล้ว เพราะแม้แต่การออกแบบด้วย CAD 3D ล้วนๆ เพื่อดูรูปร่างและขนาดเพียงเท่านั้น… ก็ดูเหมือนจะหมดยุคลงไปแล้วเช่นกัน ถึงแม้ว่า CAD 3D จะยังจำเป็นและสำคัญระดับเป็นข้อมูลต้นให้ BIM ที่ครอบเอา CAD 3D ไว้เป็นทรัพยากรหนึ่งในระบบการออกแบบก่อสร้าง รวมทั้งการออกแบบทางวิศวกรรมและสถาปัตยกรรมทั้งหมดไว้อยู่ก็ตาม
แต่ไม่ว่าจะอย่างไร… BIM หรือ Building Information Modeling ก็ยังสร้างสรรค์มาจากนวัตกรรมการเขียนแบบ ซึ่งเป็นองค์ความรู้ที่ตกทอดมาตั้งแต่กระดาษไขฉากทีและพิมพ์เขียว ซึ่งถือเป็นยุค 2D Analog ก่อนจะมาเป็น 2D Digital โดย AutoCad ซึ่งกลายเป็นสรรพนามใช้เรียกซอฟท์แวร์ CAD ทั้งหมดมานาน ก่อนจะเข้าสู่ยุค 3D CAD แล้วเปลี่ยนผ่านสู่ยุค BIM ซึ่งมีการนำมิติที่ 4 หรือ 4D ซึ่งเป็นการออกแบบกรอบเวลา หรือ Time ผูกกับแบบแปลนที่เป็นรูปเป็นร่างแบบสามมิติ
การนำใช้ซอฟท์แวร์ BIM จึงมีมิติ หรือ Dimensions เพิ่มจากแบบแปลน 3D เข้าไปอีกอย่างน้อยหนึ่งมิติคือมิติที่ 4 หรือ 4D Time… และเมื่อมีรายละเอียดของโครงสร้างและวัสดุอุปกรณ์ จาก 3D CAD บวกกับ 4D Time เข้าไป… ทำให้ได้ชุดข้อมูล “การถอดแบบประมาณราคา” ที่สมบูรณ์เกิดขึ้นทั้นทีในระบบของ BIM จนได้มิติที่ 5 หรือ 5D ผนวกอยู่ในระบบ อันเป็นตัวเลขราคา หรือ COSTS
การออกแบบสิ่งก่อสร้าง โดยเฉพาะงานออกแบบทางสถาปัตยกรรมด้วย BIM จึงมาถึงยุค “ข้อมูลหลายมิติ” ที่เกี่ยวกับสิ่งก่อสร้างที่กำลังออกแบบเตรียมสร้างอยู่ ล้วนอยู่ในรูปดิจิทัลที่สามารถใช้อ้างอิงได้ตั้งแต่ริเริ่มโครงการ ไปจนถึงการ Digitization สิ่งก่อสร้างเพื่อให้เป็นสินทรัพย์ดิจิทัลได้เลย โดยไม่ต้องพึ่งพาระบบประเมินราคาสินทรัพย์แบบเก่า… ซึ่งประสบการณ์นักลงทุนอสังหาริมทรัพย์แทบทุกราย เจ็บจุกกับการเรียกประเมินราคากันมานักต่อนัก
นั่นแปลว่า… BIM หรือ Building Information Modeling มีมิติที่ 6 หรือ 6D เป็นข้อมูลสำคัญที่สามารถหาได้จากงานออกแบบด้วย BIM อย่างครบวงจร… ซึ่งมิติที่ 6 หรือ 6D ในที่นี้ก็คือ Project Lifecycle Information หรือ ข้อมูลวงจรอายุสิ่งก่อสร้าง จากการ “การถอดแบบประมาณราคา” ซึ่งทำให้มีข้อมูลทั้งมูลค่าหรือราคา และข้อมูลการใช้งานที่สามารถประเมินค่าเสื่อมและการซ่อมบำรุง รวมทั้งออกแบบการจัดการล่วงหน้าได้อย่างชัดเจนแบบแยกส่วนได้ด้วย เช่น… ระบบน้ำสะอาดในอาคารต้องล้างถังหรือเปลี่ยนใหม่เมื่อไหร่ อย่างไรและงบประมาณเท่าไหร่
กล่าวโดยสรุปก็คือ… งานออกแบบด้วย BIM อย่างครบวงจร ซึ่งกลายเป็นหัวใจของอุตสาหกรรมก่อสร้างในยุค ConTech หรือ Construction Technology นั้น… ก็เพราะความสามารถทางข้อมูลทั้ง 6 มิติ ที่ BIM สามารถป้อนกลับสู่กลไกการจัดการได้อย่างสมบูรณ์นั่นเอง… แต่การนับมิติ หรือ Dimension ของ BIM โดยทั่วไปจะนับจาก 3D ซึ่งเป็น Common Data Environment ของระบบ หรือก็คือมิติของการแจกจ่ายแบ่งปันข้อมูลการออกแบบ… ส่วน 4D ซึ่งเป็นขั้นตอนและลำดับการก่อสร้าง หรือ Construction Sequencing ซึ่งเกือบทั้งหมดเป็นมิติที่เกี่ยวกับ Schedule หรือ Time หรือ เวลาล้วนๆ… และ 5D ที่สามารถให้ข้อมูลทางการเงินและการประมาณราคาอย่างครบถ้วน… ในขณะที่ 6D ซึ่งเป็น Project Lifecycle Information หรือ ข้อมูลวงจรอายุสิ่งก่อสร้าง ที่จำเป็นอย่างมากเมื่อการก่อสร้างและส่งมอบสิ้นสุดลงและเริ่มต้นใช้ประโยชน์สิ่งก่อสร้างตามวัตถุประสงค์
สุดท้าย… บางตำราหรือบางบทความอาจจะมี BIM 7D ไปจนถึงสิบกว่าก็มีครับ… แต่โดยส่วนตัวขอยึดสูตร 6D ทำงานก็พอแล้วครับ… ส่วนท่านที่สนใจ Full Dimension BIM ลองสอบถามสถาปนิกหรือวิศวกรของท่านได้เลยครับ… โดยเฉพาะโครงการใหญ่ๆ ที่กำลังเริ่มต้นอยู่… ใส่เต็มไปเลยครับ เพราะอะไรๆ ก็เปลี่ยนแปลงเร็วเหลือเกิน
References…