Building Information Modeling หรือ BIM หรือแบบจำลองสิ่งก่อสร้างด้วยข้อมูล ที่หมายถึง แบบก่อสร้างและข้อมูลรายละเอียดในแบบก่อสร้างชุดหนึ่ง ที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้เป็นทั้งพิมพ์เขียวรายละเอียดก่อสร้างและติดตั้ง แบบจำลอง 3 มิติ และรายละเอียดเพื่อการบริหารจัดการ ที่สร้างจากข้อมูลชุดเดียวกันหมด
ในทางเทคนิค… BIM เป็นซอฟท์แวร์ CAD หรือ Computer Aided Design หรือซอฟท์แวร์เขียนแบบทางวิศวกรรมนี่แหละ เพียงแต่มีการเพิ่มฟังก์ชั่นส่วนที่เป็น Information เข้าไปให้โปรแกรมร่วมประมวลผลตั้งแต่ขั้นการออกแบบ ทำให้ความผิดพลาดจากการออกแบบหายไปแทบจะเป็นศูนย์… โดยเฉพาะการเขียนแบบโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ ที่มีรายละเอียดซับซ้อนมาก ซึ่งหลายโครงการต้องใช้นักออกแบบอาคารหลายคน… BIM ก็สามารถให้ข้อมูลถูกต้องระหว่างทำงานร่วมกันของทีมเขียนแบบได้ทั้งหมด
ฝั่งผู้รับเหมาเองก็สามารถใช้ข้อมูลจาก BIM ทำ Estimate Price List หรือทำบัญชีประเมินค่าก่อสร้างและติดตั้งได้อย่างแม่นยำ เพราะ BIM ทำบัญชีรายการวัสดุไว้ให้อย่างถูกต้อง… ที่สำคัญกว่านั้นคือ บัญชีวัสดุทั้งหมดสามารถนำไปใช้วางแผนก่อสร้างที่มีงานส่วนสำคัญ 2 ส่วนหลักที่ต้องดูแลนั่นก็คือ Supply Chain และ Installation & Construction
ประเด็นก็คือ… Supply Chain ของโครงการก่อสร้างเป็นเรื่องใหญ่มาก หลายท่านที่สร้างบ้านซื้อวัสดุเองคงทราบดีว่า วุ่นวายจุกจิกและเยอะเรื่องเยอะราว ถึงขั้นซื้อถูกซื้อผิดจนเละก็มี… ซึ่งบ้านสองชั้นหนึ่งหลังก็ราวๆ 200 ตารางเมตรบวกลบ… แล้วถ้าเป็นตึกขนาด 200,000 ตารางเมตรหล่ะ?
นี่คือเหตุผลที่ทำให้ BIM ได้รับความสนใจจากผู้รับเหมารายกลางและรายใหญ่ ที่ต้องหาทีมที่เก่งซอฟท์แวร์ BIM เข้าทีมกันตลอดหลายปีที่ผ่านมา… และคนในวงการวิศวกรรมเองก็จองคอร์สเรียนเพิ่มและสอบ Certifiacate กันเป็นส่วนใหญ่
หลายวันก่อนผมเข้า ResearchGate.net เพื่อค้นงานวิจัยด้านวิศวกรรมที่ตีพิมพ์ปี 2020 นี้… ทำให้เจองานวิจัยชื่อ Integration of BIM and Construction Supply Chain Through Supply Chain Management; An Information Flow Model ของ Akila Pramodh Rathnasinghe จาก University of Moratuwa ประเทศศรีลังกา ที่พยายามสร้างแบบจำลองที่เรียกว่า Information Flow Model ขึ้น
ตัวโมเดลโดยรวมจะเป็นการหา Algorithm ความสัมพันธ์ของ Stakeholder ในโครงการก่อสร้างทั้งหมด… ตัวรายละเอียดงานวิจัยจริงๆ ผมยังเชื่อว่าทีมนักวิจัยทีมนี้ยังพัฒนาอะไรได้ไม่มาก… เพราะงานที่ตีพิมพ์ยังมีช่องว่างอีกมากให้คำถามสำคัญ… แต่แนวคิดที่ใช้ออกแบบงานวิจัยและคำถามงานวิจัยประเด็นนี้ ต้องยอมรับว่า แหลมคมและมีอนาคตอย่างมาก… เพราะโมเดลนี้คือพื้นฐานการทำ Automated in Construction… ซึ่งก็คือ Milestone หลักถัดไปของเทคโนโลยีการก่อสร้างนั่นเอง
นักวิจัยศรีลังกาขยับแล้วอ่ะครับท่านผู้ชม!!!
อ้างอิง